วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บริขาร ๘ ของพระภิกษุ


อัฐบริขาร คือ ของเครื่องใช้ที่จำเป็น ๘ อย่างสำหรับพระภิกษุสงฆ์ได้แก่
๑.  ผ้าจีวร
๒.  ผ้าสังฆาฎิ
๓.  ผ้าสบง
๔.  ประคดเอว
๕.  มีดโกน
๖.  บาตร
๗.  เข็มเย็บผ้า
๘.  ธมกรก (เครื่องกรองน้ำ)
ในปัจจุบัน กุลบุตรที่ต้องการจะอุปสมบท จะต้องจัดหาเครื่องอัฐบริขารให้ครบ โดยแบ่งเป็น
๑.   ไตรครอง   ๑  ชุด
๒.   ไตรอาศัย  ๑  ชุด
๓.   บาตร       ๑  ชุด
๔.   มีดโกน หินลับมีด เข็มเย็บผ้าพร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
๕.   ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า แก้วน้ำ จาน ช้อน ส้อม
๖.   เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง ไฟฉาย สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ขันน้ำ
๗.   อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น โคมไฟ กาต้มน้ำ กระติกน้ำร้อน ฯลฯ
ไตรครอง ได้แก่ อันตรวาสก อุตราสงค์ สังฆาฏิ กายพันธน์ ผ้าอังสะ และผ้ารัดอก
อันตรวาสก คือ ผ้าสบง (สำหรับนุ่ง)
อุตราสงค์ คือ ผ้าจีวร (สำหรับห่ม)
สังฆาฏิ คือ ผ้าสำหรับห่มซ้อนนอกเวลาอากาศหนาว ปกติพระสงฆ์ท่านจะพับไว้แล้วพาดซ้อนบ่า
เวลาห่มดอง (เป็นการห่มจีวรอีกแบบหนึ่งของพระ)
กายพันธน์ คือ ผ้าประคดรัดเอว
ผ้าอังสะ คือ ผ้าสีเหลือง ลักษณะคล้ายเสื้อใช้คล้องไหล่เฉียงบ่าปิดไหล่ซ้าย
พระจะใช้เมื่อเวลาอยู่ที่วัดตามลำพัง (ไม่ต้องห่มจีวรคลุมร่างทั้งผืน)
ผ้ารัดอก คือ ใช้สำหรับรัดจีวรเมื่อเวลาห่มดอง นอกจากนี้ยังมีผ้ากราบ
ใช้สำหรับรองเมื่อเวลากราบและใช้ปูรับของเมื่อเวลาผู้หญิงประเคนของถวาย
ไตรอาศัย คือ ไตรสำรองอีกชุดหนึ่ง มีจีวร สบง อังสะ และผ้าอาบน้ำฝน
บาตร จะต้องมีเชิงรองหรือที่สำหรับตั้งบาตรพร้อมฝาบาตร  และถลกบาตร สายโยง ถุงตะเคียว
(ได้แก่ ตาข่ายคลุมบาตรและสายโยงสำหรับใช้สะพาย)

บริขาร ๘

ภาพสบงใช้สำหรับนุ่ง
ประคตรัดเอว
อังสะ ใส่ชั้นใน(เช่นกับเสื้อกล้าม)
(แต่มิได้เป็นบริขาร ๘)
เมื่อนุ่งสบงแล้วต้องคาดประคตรัดเอวทุกครั้ง
จีวรใช้สำหรับห่ม
สังฆาฏิ เป็นเหมือนจีวร แต่หนา ๒ ชั้น
ใช้สำหรับห่มคลุมกันหนาว
สมัยนี้กลายเป็นผ้าพาดบ่า




มีดโกนผม โกนหนวด 
มีทั้งแบบสำเร็จ, เปลี่ยนใบได้ และแบบเล่ม
แล้วแต่พระที่ท่านจะถนัดในการใช้งาน

บาตร
อาจต้องใช้ ถลกบาตร, สายบาตร และขาบาตร 
ร่วมด้วยเป็นชุดที่ต้องหามาประกอบ
เข็ม ด้าย

เครื่องกรองน้ำ หรือ ธมกรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น