วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประวัติ หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง



ประวัติหลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม

         พระดีที่ควรกราบไหว้รูปหนึ่งในเวลานี้คือ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม หรือ พระราชปัญญาวิสารัท เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต) ซึ่งพุทธศาสนิกชนรู้จักกันในนาม หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง 

          ท่านเป็นศิษย์อาวุโสรูปหนึ่งของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร และพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์ 


หลวงปู่เหลือง

          หลวงปู่เหลืองมีนามเดิมว่า เหลือง ทรงแก้ว ท่านเกิดในยามใกล้รุ่งของวันอังคารที่ 1 พ.ค. ปี พ.ศ. 2470 ที่บ้านนาตรัง หมู่ที่ 2 ต.เขวาสินรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ เป็นบุตรคนที่ 6 ในครอบครัวของนายเที่ยง ทรงแก้ว และนางเบียน ทองเชิด

          หลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขณะอายุได้ 15 ปี แล้วออกจาริกเดินตามหลังพระพี่ชายไปตอนอายุ 16 ปี หลังจากนั้นชีวิตของหลวงปู่เหลืองก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

          ด.ช.เหลือง ออกจากบ้านเดินตาม พระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล และพระอาจารย์สมุห์เสร็จ ญาณวุฑโฒ 2 ภิกษุศิษย์หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “มือขวา” ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปใน พ.ศ. 2486 จากสุรินทร์ไปถึงนครราชสีมาไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง 

          ด้วยอายุเพียงเท่านั้นแต่ท่านมีบุญได้พบครูบาอาจารย์แล้วหลายรูป อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระผู้สรุปอริยสัจ 4 จากการปฏิบัติไว้ชนิดคนสามัญขนานนามท่านว่า เจ้าแห่งจิต ท่านพ่อลี ธมฺมธโร แห่งวัดป่าคลองกุ้ง ฯลฯ รวมทั้งได้มอบกายถวายใจเป็นศิษย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

          ท่านเล่าถึงวันคืนในอดีตครั้งไปกราบท่านพ่อลีที่วัดป่าคลองกุ้งว่า “ตอนนั้นวัดป่าคลองกุ้งยังเป็นป่าอยู่ ต้นไม้ใหญ่ๆ มีศาลทำบุญไม้หนึ่งหลังและกุฏิกรรมฐานเล็กๆ ตั้งอยู่ตามโคนต้นไม้ เงียบสงัด พระฉันแล้วก็เข้ากรรมฐานหมด ไม่เพ่นพ่านรุ่งเรืองเหมือนสมัยนี้ ไปพักอยู่กับท่าน 1 เดือน บอกกับท่านว่าจะขอธุดงค์ต่อไปทางบ่อไพลิน เข้าสู่แดนเขมร ท่านพ่อลีก็ห้าม ตอนนั้นปลายสงครามโลก เหตุการณ์ยังไม่ปกติ เกรงจะเป็นอันตราย แต่พระอาจารย์ฉัตรพี่ชายก็จะขอไปให้ได้ก็ต้องยอมผ่อนผันให้ไป ท่านพ่อลีเมตตาอาตมามากเพราะยังเป็นเด็ก กลัวจะลำบาก ท่านเลยบอกว่า จะให้คาถากันตัว สั่งให้ท่องไว้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวเสือช้างอะไรทั้งสิ้น

          คาถาของท่านยังจำได้จนถึงบัดนี้ว่า นะบัง โมบัง พุทโธบังหน้า ธัมโมบังหลัง” 

          สภาพบ้านเมืองในเวลานั้นช่างต่างจากเวลานี้นัก ท่านว่าใช้เวลาเดิน 3 คืนบุกป่าฝ่าดงจากจันทบุรีถึงทะลุถึงบ่อไพลิน ตามรายทางนั้น “เห็นพลอยเกลื่อนกลาด แต่ไม่ได้เก็บเพราะอาจารย์ฉัตรท่านว่า เรามาธุดงค์แสวงบุญไม่ได้มาหาเพชรพลอย” 

          การธุดงค์จบลงด้วยการย้อนกลับมาที่วัดป่าศรัทธารวม จ.นครราชสีมา ณ พ.ศ.นั้น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร กำลังเป็นสดมภ์หลักในการบุกเบิกขยายวงพระกรรมฐานโดยใช้จ.นครราชสีมา เป็นฐาน โดยท่านเองรับเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้อยู่ถึง 12 ปีคือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2487 ช่วงเวลานั้นวัดป่าศรัทธารวมซึ่งเป็นป่าช้าเก่าเป็นศูนย์รวมของพระกรรมฐานจำนวนมากไม่ว่า พระมหาปิ่น ปัญญาพโล หลวงปู่เทกส์ เทสรังสี หลวงปู่ภุมมี ฐิตธัมโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ฯลฯ หลวงปู่เหลืองเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น ขณะอายุ 17 ปี หรือราวช่วง พ.ศ. 2486-2487 โดยบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา มีพระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) หรือเจ้าคุณโพธิฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ลุถึง พ.ศ. 2490 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดป่าศรัทธารวมนั่นเอง 

          “ไทยดำ” ผู้เคยเขียนประวัติหลวงปู่เหลืองลงในนิตยสารโลกทิพย์ ฉบับเดือน ธ.ค. 2530 เคยเรียนถามท่านว่า ระหว่างอยู่กับหลวงปู่ฝั้นนั้นหลวงปู่ฝั้นสอนอย่างไรบ้าง หลวงปู่เหลืองตอบทีเดียวเป็นความ 4 ประโยค แต่ครอบคลุมพระไตรปิฎกหมด 90 เล่ม ความนั้นมีว่า


                ท่านสอนง่ายๆ ว่า “ประสูติ หมายถึง ลมเข้า
                                         พระวินัย หมายถึง ลมออก
                                         ปรมัตถ์ หมายถึง ผู้รู้ลมเข้าลมออก
                                         เป็นอันจบพระไตรปิฎก นอกนั้นเป็นแต่กิ่งก้าน” 


            การได้อยู่ที่ จ.นครราชสีมา ณ พ.ศ.นั้นเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ได้พบและศึกษากับพ่อแม่ครูอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งท่านเหล่านั้นกระจายกันอยู่หลายแห่ง อาทิ วัดป่าสาลวัน วัดสุทธจินดา วัดสว่างอารมณ์ ฯลฯ แต่รูปที่อัธยาศัยต้องกันมากที่สุดและจะมีผลต่อชีวิตของท่านในกาลข้างหน้าคือ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล)

            เวลานั้น พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) รับภาระการบริหารคณะสงฆ์เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ฝ่ายธรรมยุต ท่าน|ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังสติปัญญาจนทำให้การของคณะสงฆ์เป็นปึกแผ่น แต่ยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ก็เหนี่ยวรั้งท่านให้ห่างหายจากการปฏิบัติได้ไม่ กลับเตือนตนอยู่ตลอดเวลาว่า “การคลุกคลีกับหมู่คณะมากเกินไปทำให้เป็นผู้ประมาท...”

            เพราะตระหนักเช่นนั้นจึงมักจะปลีกตัวออกวิเวกเป็นครั้งคราวอยู่เสมอ ก่อนจะตัดสินใจทิ้งพัดยศออกปฏิบัติอย่างเดียวใน พ.ศ. 2498 นั้น ครั้งหนึ่งท่านชวนหลวงปู่เหลือง ซึ่งยังเป็นพระหนุ่มอยู่ในขณะนั้นออกไปปฏิบัติอยู่ในป่า จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน 

           ท่านทั้งสองอยู่ด้วยกันสองคนหนึ่งพรรษา จากนั้นพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ก็ต้องกลับมารรับภาระทางการคณะสงฆ์ต่อ ขณะที่หลวงปู่เหลืองได้พำนักและภาวนาอยู่ในสำนักสงฆ์กลางป่า อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ต่อเนื่องไปอีกถึง 7 ปี ต่อมาป่าแห่งนั้นได้รับการพัฒนากลายเป็น วัดป่ารังสีปาลิวัน ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) จนท่านละสังขาร เมื่อ พ.ศ. 2543 ตลอดเวลาที่อยู่นั้น พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ก็จะแวะเวียนมาภาวนาอยู่ ณ สำนักสงฆ์แห่งนั้นและช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ให้ชาวบ้านได้อาศัยแหล่งน้ำ ฯลฯ มาตลอด โดยมีหลวงปู่เหลืองเป็นผู้ช่วย แม้แต่เมื่อตัดสินใจออกจาริกอีกครั้งหลังอยู่ที่นั่นมาแล้ว 7 ปีก็เป็นการออกจาริกโดยมีพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เป็นผู้นำ

           ท่านทั้งสองจาริกในถิ่นต่างๆ มีประสบการณ์ในภาวนาอันพิสดารหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะที่ถ้ำขันตี ซึ่งอยู่ในเทือกเขาภูพาน ท่านว่า การภาวนา ณ สถานที่แห่งนั้นทำให้มีความก้าวหน้าอย่างมาก ขณะเดียวกันท่านทั้งสองก็ผ่านเป็นผ่านตายมาพร้อมกันด้วย กล่าวคือ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เป็นไข้ป่าเกือบจะเสียชีวิต ก็ได้หลวงปู่เหลืองดูแล พอหลวงปู่เหลืองเองล้มเจ็บเพราะไข้ป่าก็ได้ “เจ้าคุณอาจารย์” เป็นคนรักษา

           ท่านกล่าวถึงความทุกข์ยากในเวลานั้นว่า

           “แต่ก่อนที่อาตมาจะเป็นไข้นั้น ท่านเจ้าคุณเป็นมาก่อน เมื่อสองอาทิตย์ก่อน เรียกว่าเป็นมากทีเดียว จนเพ้อ ยาก็ไม่มีรักษา ท่านมีสติสั่งว่า ถ้าท่านตายก็ให้เผาที่นี่ แล้วกวาดขี้เถ้าทิ้งลงเขาไปอย่าเอาไปลำบากเพราะไม่ใช่ตัวตนอะไรของเรา อีกอย่างหนึ่งแม้ท่านจะลาออกจากตำแหน่งแล้วแต่พัดยศอยู่ที่กุฏิ ยังไม่ได้ส่งคืน ขอให้จัดการเอาไปคืนด้วยซึ่งทำให้ประทับใจในตัวท่านมากท่านไม่เคยแสดงความพรั่นพรึงต่อการมรณะเลย เพราะรู้อยู่แล้วว่ามันต้องตาย...ถึงตาอาตมาบ้าง ท่านเจ้าคุณก็ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เราฝากผีฝากไข้กันมาอย่างนี้”

           เพราะฝากผีฝากไข้ ผ่านเป็นผ่านตายร่วมกันมา จึงไม่แปลกที่ต่อมาเมื่อ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) อาพาธ เนื่องจาก|เส้นเลือดฝอยในสมองแตกในปี 2527 ทำให้อวัยวะเบื้องขวาเป็นอัมพาต ใครนิมนต์ไปปฏิบัติอุปัฏฐากที่ไหนท่านก็ไม่ไป แต่เมื่อหลวงปู่เหลืองนิมนต์ ท่านรับ

          ทุกวันนี้หลวงปู่เหลือง รับภาระการบริหารคณะสงฆ์เป็นเจ้าเข้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต) ภาระนี้เกิดมาต่อเนื่องตั้งแต่กึ่งศตวรรษก่อนโน้นเพราะปี พ.ศ. 2499 ท่านเป็นเป็นพระครูสมุห์ ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณพระอริยเวที พร้อมกับเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน ปี พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง และเป็นเจ้าคณะตำบล วัดแห่งนี้เดิมเป็นวัดที่พระอาจารย์สมุห์เสร็จ พี่ชายเป็นคนบุกเบิกสร้างไว้ เมื่อท่านออกวิเวกเสียชีวิตเพราะไข้ป่า พระสมุห์ฉัตร พี่ชายคนรองก็เป็นคนมาดูแลแทน

          ปี พ.ศ. 2519 ได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง พ.ศ. 2523 เป็นเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)

          หลวงปู่เหลืองกล่าวว่า พระพุทธองค์มิได้สอนให้เชื่อพระองค์เพียงอย่างเดียว หากแต่ให้ชื่อว่า “จิต คือ พุทธะ” ถ้าเราดำเนินตามที่พระองค์ทรงสอน จิตของเราก็เป็นพุทธะอย่างพระพุทธองค์ได้ ถ้าจะให้ถึงซึ่งพุทธะก็เหมือนกับเอาแก่ของต้นไม้ใหญ่ ถ้าจะเอาแก่นต้องใช้ขวานถากเปลือก ถากกระพี้ออก จิตคนเรานั้นเป็นพุทธะอยู่แล้ว หากแต่เราปล่อยให้กิเลสตัณหาห่อหุ้มจนจิตไม่ประภัสสร 

          “จิตประภัสสรก็หมายถึงจิตเดิม ซึ่งเปรียบเสมือนเพชร ลักษณะแวววาวสุกใสอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่ที่มันเศร้าหมองจนเรามองไม่เห็นความประภัสสรของมัน เพราะมีสิ่งอื่นมาห่อหุ้ม ทำให้รัศมีเปล่งออกมาไม่ได้ อย่างไฟฉายของเรา พอเปิดสวิตช์ขึ้น มันก็สว่างเป็นลำพุ่งออกไปพอปิดสวิตช์มันก็มืด ไม่เห็นดวงไฟ ทั้งที่ความจริงจิตมันประภัสสรอยู่แล้วแต่คนเราทุกวันนี้ ก็เอากิเลส ความโกรธ ความหลงที่เปรียบเหมือนดินทรายเขม่าไฟต่างๆ ไปห่อหุ้มปิดบังมันเสียเอง มันเลยมืดบอดอยู่อย่างนั้น...เราอยากจะเห็นตามพระองค์บ้างก็ต้องลงทุนลงแรงเอาสิ่งที่หุ้มห่อออก แล้วจึงจัดสีให้มันเปล่งแสงประภัสสรขึ้น เอาอะไรมาขัดสีล่ะ ก็เอาสมาธินั่นแหละมาขัดสี ”

           “สิ่งต่างๆ ในโลกนี้มันก็อยู่ที่จิตนี้เอง ความรู้สึกของเราอยู่ที่ไหน จิตใจก็อยู่ที่นั้น หลวงปู่มั่นท่านก็เคยพูดว่า อยู่ที่ใจของเจ้า โลกนี้ไม่มีใจก็ไม่มีความหมาย โลกกับธรรมมันอิงกันอยู่ ก็อยู่อย่างไม่ขัดโลกขัดธรรมเขา รูปนาม ถ้าแยกออกก็เป็นอภิธรรมทั้งหมด 

           รูปกับนามเป็นจุดแรกของปัญหา เรื่องราวต่างๆ ที่เราไม่รู้ก็เพราะไม่ได้ค้นคว้ากำหนด ท่านว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนตั้งแต่จุดเล็กไปถึงจุดใหญ่ เหมือนกับความมืดกับความแจ้ง มันต้องอยู่ที่เดียวกัน แต่คนละช่วง มันเกิดพร้อมกันไม่ได้

           ความจริงรูปนามมันมีอยู่แล้ว ถ้าปลงความเชื่อว่า คำสอนต่างๆ ล้วนมีอยู่แล้ว ถ้าไม่มี ท่านก็ไม่มีอะไรจะพูด เมื่อไม่มีอะไรจะพูดมันก็หยุดเป็นวิมุตติไป ถ้าเอามาพูดถึงมันก็เป็นสมมติไป ธรรมะจริงๆ จะพูดหรือไม่พูดมันมีอยู่แล้ว ”

          หลวงปู่เหลือง เป็นพระมหาเถระที่ควรแก่การอัญชลี ท่านเจริญรอยตามครูบาอาจารย์ของท่านคือ แน่วแน่กับการปฏิบัติภาวนาไม่เสื่อมคลาย อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย แทบไม่มีใครจำสมณะศักดิ์ของท่านได้เรียกกันแต่ว่า หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง

เครดิต http://www.kammatanclub.com

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประวัติท่านเจ้าคุณอุบาลี


พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) เดิมท่านเป็นคนชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดท่านชื่อ จันทร์ สุภสร บิดาชื่อ สอน มารดาชื่อ แก้ว นามสกุล สุภสร ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เป็นบุตรคนโต (หัวปี) ท่านเกิดเมื่อเดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ วันศุกร์ ปีมะโรง เวลา ๒๓.๐๐ น. ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๙๘ ที่บ้านหนองไหล ตำบลหนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
.. พื้นเพของครอบครัวเป็นชาวนา ท่านเจ้าคุณอุบาลี เป็นเด็กที่มีความคิดพิจารณามาแต่อายุ ๗ ขวบ บิดามารดาเป็นคนใจบุญสุนทาน มีความใกล้ชิดกับวัดวา กับครูบาอาจารย์มากครอบครัวหนึ่ง ยังผลให้บุตรคือ…ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ผู้ติดตามบิดามารดา มีความแน่นแฟ้นในศีลในธรรม มีสัจจะวาจา มีความเลื่อมใสศรัทธาตามบิดาของตนเป็นอันมาก
.. พออายุได้ ๑๓ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคต โดยเป็นธรรมเนียมของชาวไทยทุกคน ต้องโกนผมไว้ทุกข์แด่องค์พระมหากษัตริย์ และต้องรักษาศีล เจริญภาวนาเพื่อเป็นการบูชาพระคุณ แต่บุคคลที่รักรูป รักกายสังขาร ก็มีอยู่บางคนถึงกับร้องไห้เสียใจเพราะตนต้องเ ป็นคนหัวโล้นโดยเฉพาะเป็นสตรีที่เสียใจกันมาก แต่ท่านท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ (สมัยเป็นเด็ก) กลับมองตรงกันข้าม ท่านคิดในใจว่า “ศีรษะโล้นนี่เป็นของดีงาม วิเศษกว่ามีผมที่รุงรังบนหัว” ตั้งแต่ถูกโกนผมหมดหัวไปแล้ว ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ (สมัยเป็นเด็กเล็กอยู่นั้น) เกิดความชอบอกชอบใจเป็นที่สุด จิตใจเบิกบานอย่างผิดสังเกต…บิดาเห็นเช่นนั้นก็ได้ถามขึ้นว่า… “ถ้าจะให้บวชเป็นสามเณร จะอดข้าวเย็นได้บ่” สิ้นเสียงที่บิดาถาม บุญบารมีเก่าได้มาหนุนนำชีวิตให้รุ่งโรจน์ ต่อไป ท่านตอบอย่างไม่ต้องคิดว่า “อดได้”ต่อมาบิดามารดาได้นำบุตรชายที่อยากบวชเณร มาฝากบวชกับท่านเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองไหล และได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร จันทร์ สุภสร ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ นั้นเอง
..ต่อมาอายุครบบวช บิดาจึงหาอุบายที่จะให้บุตรของตนได้บวชพระ โยมบิดาของท่านได้เล่าไว้ดังนี้…“บุตรชายของท่าน คือท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เป็นเด็กเลี้ยงยากที่สุด และเป็นเด็กที่แสนซน อีกทั้งยังเป็นเด็กขี้ร้องไห้ ใจน้อย ถ้าร้องไห้แล้วละก็ จะต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงเลยทีเดียวถึงจะหยุด ไม่ยอมหยุดร้องง่ายๆ” ด้วยอุบายนี้ โยมบิดาจึงนำไปกล่าวแก่บุตรชาย (จันทร์) ได้ฟังว่า“บิดามารดาได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ถ้าไม่บวชให้ก็เห็นทีเจ้าจะไม่พ้นโทษ ต้องบวชให้บิดามารดาจึงพ้นโทษจากความเลี้ยงยาก ซนและขี้ร้องไห้”ด้วยเหตุนี้ จึงรับปากบิดามารดาว่า “จะบวชให้สัก ๓ ปี บิดามารดาจะพอใจหรือไม่ บิดาจึงตอบไปว่า “ลูกจะบวชให้สักปีหรือสองปีก็ไม่ว่า แต่ขอให้บวชเป็นพระก็แล้วกัน”
..งานอุปสมบทได้จัดขึ้น ณ วัดศรีทอง เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐ ท่านอุปสมบทสำเร็จเมื่อเวลา ๑๐.๐๐ น. โดยมีท่านพระเทวธัมมี (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ท่านพระอธิการสีโห (วัดไชยมงคล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ในระหว่างเป็นพระภิกษุสงฆ์นั้น ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ได้อยู่จำพรรษากับพระอธิการสีโห ณ วัดไชยมงคล และได้รับภาระจากพระอาจารย์มาทำอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ส่วนทางด้านพระธรรมวินัยนั้น ท่านได้มาศึกษาอยู่กับพระเทวธัมมี (ม้าว) ที่วัดศรีทอง จนเป็นที่รักและไว้วางใจอย่างยิ่ง ต่อมาท่านพระอุปัชฌาย์ เทวธัมมี (ม้าว) ได้สอนกรรมฐานภาวนา และให้พิจารณาอยู่เป็นนิจในธรรม ๔ ประการ คือ “อารักขกรรมฐาน ๔” ได้แก่
 1.พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
 2.เมตตานุสสติ แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
 3.อสุภะ การพิจารณากายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม
 4.มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน

..ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ท่านได้มานะพยายามศึกษาวิชาการต่าง ๆ อย่างชนิดทุ่มเทจิตใจ จนมาเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดในวงการ พระอริยะสงฆ์ไทย คือทางด้านศึกษาพระปริยัติธรรม ท่านสอบได้มหาเปรียญ ๓ ประโยค จนได้รับพระราชทานตำแหน่งต่าง ๆ หลายตำแหน่ง ตำแหน่งสุดท้ายเป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์
..การปฏิบัติธรรม ท่านมีความเชี่ยวชาญ รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมขณะออกปฏิบัติ “ธุดงค์กรรมฐาน” จนมีความเข้าอกเข้าใจภูมิธรรมปฏิบัติ และได้สนับสนุนให้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก่อตั้งกองทัพธรรมเพื่อออกเผยแพร่ธรรมอันบริสุทธิ์แก่ประชาชนด้วยดีตลอดมา
.. การเผยแพร่ธรรม ท่านได้ออกไปเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้ายังต่างแดน เช่น นครจำปาศักดิ์และนครเชียงตุง เป็นต้น
..ส่วนทางด้านพัฒนาศาสนาวัตถุ ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านได้ดำเนินการสร้างและปฏิสังขรณ์ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ให้เป็นวัดที่เจริญไพบูลย์ เป็นที่ยึดจิตใจของประชาชนตั้งแต่ระดับสูง จนมาถึงผู้หาเช้ากินค่ำอย่างวิเศษยิ่ง และยังได้สร้างวัดเขาพระงามหรือวัดสิริจันทร์นิมิต จังหวัดลพบุรี ให้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน อนึ่งสายจิตสายใจอันเป็นหนึ่งของท่านเจ้าคุณอุบาลี ฯ ท่านได้อุทิศกายถวายชีวิตแก่พระศาสนาจนหมดสิิ้น
...พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระสงฆ์องค์สำคัญ
ท่านมีชีวิตอยู่ถึง ๔ แผ่นดิน คือตั้งแต่รัชกาลที่ ๔-๗
เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๕ ของวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
ท่านได้กอปรคุณูปการต่อวงการพระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล
ทั้งในด้านการปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ
และการส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ

ท่านยังเคยกล่าวยกย่องท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
ในที่ประชุมว่า “ท่านมั่นเป็นกัลยาณมิตร ควรสมาคม”
ในยุคสมัยนั้นพระป่าที่ไม่ได้ศึกษาทางปริยัติ
ยังไม่เป็นที่ยอมรับจากพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ล้วนมีการศึกษาสูง
แต่ด้วยการสนับสนุนของท่านเจ้าคุณฯ
ทำให้ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นที่รู้จักของพระสงฆ์ระดับผู้ใหญ่ ในธรรมยุติกนิกาย
จากคำบอกเล่าของ หลวงปู่จาม มหาปุญโญว่า..
..ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เอาเพิ่นครูอาจารย์มั่นขึ้นไปยับยั้งอยู่วัดเจดีย์หลวง ในตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ และเจ้าอาวาสว่าการวัด ยังได้สั่งกำชับว่า “ท่านมั่นเห็นตัวเองแล้วแต่ไม่แจ้งในตัวเองแล้วอย่าได้กังวลกับผม เพราะผมอายุมากแล้ว ผมรักษา กาย วาจา ใจ ของตนได้แล้ว" ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ดำริแล้วท่านก็กลับลงวัดบรมนิวาส
..เพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) ก็อยู่กับท่านอาจารย์ลี (ธมฺมธโร) จำพรรษาเจดีย์หลวง ทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์บวชให้หลวงตาปลัดเกตุ (วณฺณโก) ก็เป็นอันสนองเจตนาของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ เต็มแบบสมบูรณ์
.. พอออกพรรษาก็หนีขึ้นไปเมืองพร้าว ท่านอาจารย์ลีตามไม่ทัน เสาะหาไม่ปะไม่เห็น ท่านอาจารย์แหวน (สุจิณฺโณ) ลงไปเฝ้าพยาบาลท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่อาพาธแข้งหัก ตามคำของเพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต)
.. โดยปกติ ธรรมของเพิ่นครูอาจารย์มั่นนั้น และตามคำของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ก็แสดงว่าเพิ่นครูอาจารย์มั่นยังไม่จบแจ้งในธรรมชั้นยอด อีกอย่างเพิ่นครูอาจารย์มั่นนั้นชอบสงบ ไม่ต้องการงานอันยุ่งยาก ไม่ต้องการคลุกคลีกับหมู่คณะ จึงได้หนีขึ้นเมืองพร้าว หลบตัวอยู่ ป่าฮิ้นผายอง ห้วยงู แม่ดอกคำ ป่าเมี่ยง ไม่เอาท่านอาจารย์ลีไปด้วย
.. ท่านอาจารย์แหวน เล่าให้ฟังอีกว่า เพิ่นครูอาจารย์มั่นหลบหลีกไปแก้ไขตนเอง แต่ยังติดอยู่กับคู่บำเพ็ญบารมีที่เคยร่วมสร้างดีชั่วด้วยกันมา ยังติดขัดอยู่ในใจ ต้องเสาะหาแล้วสงเคราะห์ปลดเปลื้องสิ่งนี้ก่อนจึงจะหลุดไปได้ สมกับคำที่ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ว่า เห็นตัวเองแล้วแต่ยังไม่เห็นแจ้งในตัว
..แม้ว่าท่านเจ้าคุณฯ จะเป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติปฏิบัติชอบเพียงใด
ก็ไม่อาจจะพ้นไปจากโลกธรรม ๘ อันเป็นสิ่งธรรมดาของโลกได้
ดังตัวอย่างของการ “ได้ยศ-เสื่อมยศ” ซึ่งท่านได้เล่าไว้ว่า...

“...ส่วนบรรดาศักดิ์ถึงปีขาล วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗
ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่งเป็นพระเทพโมลี
ครั้นถึงปี ๒๔๕๘ พรรษาที่ ๓๙ ปลายปี
ถูกถอดลดยศออกจากตำแหน่งพระเทพโมลี...”


หลังจากการถูกถอดสมณศักดิ์ ท่านได้แสดงพระธรรมเทศนา
อันแสดงถึงความเข้าใจในโลกธรรม อันเป็นสิ่งที่เป็นปกติของโลก

“เวลานี้เราเป็นหลวงตาจันทร์แล้ว
ขณะนี้หลวงตาจันทร์กำลังจะเทศน์
โลกธรรมนั้นเป็นสิ่งธรรมดาโลก
ถ้าใครไปยึดถือมันเข้าก็จะต้องหลง
เกิดความเดือดร้อนกระวนกระวาย อย่าไปถือเลย
หลวงตาจันทร์กับเจ้าคุณมันก็คนคนเดียวกันนั้นเอง
แต่เป็นเรื่องที่เขาสวมหัวโขนให้กันเท่านั้น"


สาเหตุของการถูกถอดยศนั้นเกิดจากการที่ท่านได้แต่งหนังสือ
ชื่อว่า "ธรรมวิจยานุศาสน์" เพื่อแจกในงานศพของหม่อมราชวงศ์หญิงท่านหนึ่ง
เนื้อหาบางส่วนไม่เป็นที่พึงใจของทางราชการ
ท่านจึงถูกถอดจากสมณศักดิ์ แล้วถูกนำตัวไปกักไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหารฯ
แต่ในที่สุดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืน
ดังปรากฏในอัตชีวประวัติของท่าน

“...วันที่ ๔ มกราคม ๒๔๕๙ ทรงพระราชทานอภัยให้อัตตโนพ้นจากโทษ
แล้วทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานตำแหน่งสมณศักดิ์
ให้เป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี มีตำแหน่งเสมอกับพระราชาคณะชั้นเทพ...” 


ท่านได้กลับมาปกครองวัดบรมนิวาสตามเดิม
และต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ “พระโพธิวงศาจารย์”
และเป็นพระราชาคณะ ตำแหน่งเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญญวาสี
มีนามในสัญญาบัตรว่า “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ญาณวิสุทธจริยาปรินายก
ตรีปิฏกคุณาลังการ นานาสถานราชคมนีย์สาธุการีธรรมาดร สุนทรศีลาทิขันธ์” 

อันเป็นสมณศักดิ์สูงสุดที่ท่านได้รับ

โลกธรรม ๘ อันประกอบด้วย สุข-ทุกข์ ได้ลาภ-เสื่อมลาภ
ได้ยศ-เสื่อมยศ ได้รับคำสรรเสริญ-ถูกนินทา
นั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเผชิญ
การยอมรับในธรรมดาโลกว่าไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้คงทน สรรพสิ่งต้องแปรปรวนไป
ย่อมทำให้มีชีวิตอยู่บนโลกอย่างเข้าใจ ไม่หวั่นไหวเมื่อต้องพบสิ่งที่ไม่ปรารถนา
ดังที่ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้ปฏิบัติ
ให้เราชาวพุทธผู้เป็นศิษย์พระพุทธเจ้าได้ดำเนินตามแนวทางอันดีงามของท่าน

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

การบรรลุธรรมเบื้องต้นของหลวงพ่อทูล ขิปปัญโญ


ในช่วงที่ข้าพเจ้าใช้ปัญญาพิจารณาในวัตถุสมบัติอยู่นั้น ก็สังเกตใจตัวเองอยู่เสมอว่า ใจเรามีความยินดีกับวัตถุสมบัติอะไรบ้าง ดูผิวเผินปรากฏว่า ใจไม่มีความยินดียึดติดอยู่กับวัตถุสมบัติอะไรเลย แต่ในส่วนลึกของใจนั้นยังมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่ฝังอยู่ แต่ก็นึกหาในสิ่งนั้นไม่ได้ว่าหลงติดอยู่ในของสิ่งใด ในวันต่อมา ได้เดินไปดูสิ่งที่ปลูกเอาไว้ บังเอิญไปพบต้นมะม่วงที่ปลูกเอาไว้ พอสายตามองเห็นเท่านั้น ก็เกิดความรู้สึกขึ้นในใจว่า ความดึงดูดกันในระหว่างใจกับต้นมะม่วงนั้นผิดปกติมาก จึงเกิดความยินดีความยึดมั่นในต้นมะม่วงนั้นอย่างเห็นได้ชัด จึงได้อุทานขึ้นในใจว่า วัตถุสมบัติของโลกได้มารวมตัวกันอยู่ที่ต้นมะม่วงนี้แล้ว ความเหนียวแน่นในความยึดติดอยู่กับมะม่วงนั้นรู้เห็นได้ชัดทีเดียว จึงได้ทำความเข้าใจกับตัวเองว่า ถ้าใจได้ตัดขาดจากต้นมะม่วงเมื่อไร กระแสของโลกก็จะขาดจากใจไปได้ จากนั้น ก็ใช้ปัญญาพิจารณาต้นมะม่วงนั้นลงสู่การเกิดดับและไตรลักษณ์อย่างจริงจัง แล้วจึง โอปนยิโก น้อมต้นมะม่วงนั้นเข้ามาหาตัวเอง และพิจารณาตัวเอง คือ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ว่ามีการเกิดดับเหมือนต้นมะม่วงนี้ และใช้ปัญญาพิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกายให้เป็นไปตามสามัญลักษณะธาตุ คือ มีความเสมอภาคกันในอนัตตา เมื่อถึงกาลเวลาแล้วก็ต้องดับไป ทุกอย่างก็ต้องผุพังเน่าเปื่อยทับถมในแผ่นดินนี้ทั้งหมด ไม่มีอะไรจะมาเป็นตนและไม่มีอะไรจะมาเป็นต้นมะม่วงนี้อีกเลย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาอย่างนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่ ใจก็เกิดความรู้เห็นเป็นไปตามหลักความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาและก็ดับไปเป็นธรรมดา เมื่อมารู้เห็นความจริงอย่างนี้ด้วยปัญญาที่เห็นชอบแล้ว กระแสใจที่เคยยึดมั่นในต้นมะม่วงนั้นก็ขาดกระเด็นออกจากใจไปทันที ไม่มีอะไรให้ต่อเชื่อมกันได้เลย จากนั้น นึกขึ้นได้อีกว่า ยังมีมะม่วงอีกต้นหนึ่งเป็นพันธุ์ดีที่สุด จึงเดินไปดู พอสายตากระทบต้นมะม่วงเท่านั้น ก็เกิดความยึดติดกับต้นมะม่วงต้นนั้นอีก และยึดติดอย่างรุนแรงกว่ามะม่วงต้นที่ผ่านมา เหมือนกับความเหนียวแน่นของใจที่มีในต้นมะม่วงนั้นมันมีความผิดปกติอยู่มาก ๆ ทีเดียว จากนั้น ก็เริ่มใช้ปัญญาพิจารณาดังที่ได้เคยพิจารณามาแล้ว อุบายปัญญาที่เคยพิจารณาอย่างได้ผลมาแล้ว แต่บัดนี้ ไม่ได้ผลเสียเลย ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่อย่างนั้นทั้งวัน ก็ไม่ทำให้กระแสใจขาดจากความยึดติดกับต้นมะม่วงนี้ได้ ตกเย็นกลับบ้าน ได้นั่งทำสมาธิ ออกจากสมาธิก็มาใช้ปัญญาพิจารณาต้นมะม่วงนี้อีก แต่ในคืนนั้น ไม่สามารถทำให้ใจเกิดความละถอนปล่อยวางในต้นมะม่วงนั้นเลย ต่อมาในวันที่สอง ก็ใช้ปัญญาพิจารณาอีก ใจยังมีความยึดติดอย่างเหนียวแน่นตามเดิม ในคืนที่สองนี้ก็ใช้ปัญญาพิจารณาต่อไป เมื่อใช้ปัญญานาน ๆ เข้า เหนื่อยจึงหยุดพักในสมาธิไปด้วย เมื่อออกจากสมาธิก็เริ่มใช้ปัญญาพิจารณาต่อไป หลักการที่ใช้ปัญญาพิจารณาก็เป็นอุบายเดียวกัน และได้สังเกตดูใจ ตัวเองไปพร้อม ๆ กันว่ามีความละเอียดมาก จึงได้รู้เห็นการเกิดดับของต้นมะม่วงและธาตุ ๔ ของตัวเองได้อย่างชัดเจน เมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืน ก็ได้รู้เห็นเป็นไปตามหลักความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและสิ่งนั้นก็ย่อมดับไปด้วยเหตุปัจจัยในตัวมันเอง ในขณะนั้น กระแสแห่งความยึดถือของใจ ก็ได้พังทลายสูญหายออกไปจากใจในชั่วพริบตา จึงได้รู้ตัวเองว่าอยู่ในฐานะอย่างไร ฉะนั้น การปฏิบัติในอุบายการใช้ปัญญาพิจารณาในการเกิดดับ ในสรรพวัตถุธาตุทั้งหลาย ทั้งภายนอก ภายใน ใกล้ไกล หยาบ ละเอียด ทั้งสิ่งที่มีวิญญาณครอง และสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครอง ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยในตัวมันเอง ไม่มีใครบังคับให้อยู่ในอำนาจของตัวเองได้ไม่ว่าสิ่งนั้นจะชอบใจหรือไม่ชอบใจ ในคืนนั้น มีแต่ความอิ่มเอิบอยู่กับผลของการปฏิบัติธรรมตลอดคืน และรู้ชัดภายในใจว่านับจากวินาทีนี้ไป ใจเราจะไม่มีภาระในการยึดติดอยู่กับวัตถุสมบัติทั้งหลายตลอดไป เพราะใจได้ละวางในวัตถุสมบัติของโลกนี้ได้อย่างสิ้นเชิง ถึงจะแสวงหาวัตถุสมบัติมาได้ รวมทั้งสิ่งที่มีอยู่ ก็รู้สึกว่าเป็นเพียงวัตถุธาตุเท่านั้น ทุกอย่างเป็นเพียงปัจจัยสำหรับการดำรงชีวิตให้อยู่ได้ในวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น แม้ธาตุขันธ์ที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นเรา และเป็นของเรา ก็เป็นเพียงสมมติโลกที่พูดกันเท่านั้น ส่วนความจริงก็ยังเรียกกันตามโลกนิยม คำว่า สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นในรูปกายหรือรูปธาตุอื่นๆ ย่อมมีการเกิดดับตามเหตุปัจจัยในตัวมันเอง นี้คือรู้จริงเห็นจริงตามหลักความเป็นจริงใน สัจธรรมอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ความสงสัยในพระพุทธเจ้า ความสงสัยในพระธรรม ความสงสัยในพระอริยสงฆ์ ความสงสัยในผลของกรรมดีกรรมชั่ว ความสงสัยในบุญและบาป ความสงสัยในมรรคผลนิพพานก็หมดไป เพราะมารู้จริงเห็นจริงในสัจธรรมอย่างสนิทใจ เป็นความรู้เห็นที่ไม่เสื่อมคลายต่อไป ความเข้าใจผิด ความหลงผิด ก็ได้กลายเป็นอดีตไป มีแต่ความรู้เห็นที่เป็นจริงที่มั่นคงสมบูรณ์ภายในใจ เป็น นิตยทิฏฐิ คือ ความรู้เห็นที่แน่นอน ไม่มีความลังเลสงสัยอีกตลอดไป มีแต่ความอิ่มเอิบในธรรมตลอดทั้งวันทั้งคืน จะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ที่ไหน ใจย่อมมีความเบิกบานอยู่ตลอดเวลา ความลูบคลำในศีล ว่ามีความเศร้าหมองขุ่นมัวด่างพร้อย หรือศีลขาดศีลทะลุอย่างไรก็ไม่มีในใจแม้แต่น้อย นี่คือศีลที่เป็นผลสะท้อนออกมาจากธรรม เมื่อใจมีธรรมและธรรมฝังใจอย่างแนบแน่นแล้ว ผลคือ ความละอายในการทำชั่ว ในการพูดชั่ว และการคิดชั่วจะมีมาจากที่ไหน นี่คือศีลที่เกิดจากธรรมโดยตรง จึงเรียกว่า ปกติศีล เป็นศีลที่ไม่มีความหวั่นไหว เป็นศีลที่ไม่มีความวิตกกังวลในสิ่งใด ๆ เพราะศีลฝังลึกอยู่ที่ใจอย่างสนิทแล้ว คำว่าศีลขาดหรือไม่ขาด จะไม่มีในใจที่เป็นธรรมนี้เลย ฉะนั้น จึงเป็น อธิศีล คือ ศีลที่ยิ่ง อธิจิต ความตั้งมั่นที่แน่วแน่ในธรรม จะไม่มีความหลงผิดอีกต่อไป อธิปัญญา ความรู้รอบและรอบรู้ภายในใจก็เป็นไปในเหตุในผล จะคิดนึกตรึกตรองในสิ่งใด ดำริพิจารณาในเหตุปัจจัยอะไร ย่อมเกิดความแยบคายได้ง่าย อธิปัญญา คือ ปัญญาที่รู้รอบในสรรพสังขารทั้งหลาย ไม่มีสังขารใดที่จะเล็ดลอดหลบหลักปัญญาไปได้เลย เพราะปัญญา จึงให้นามว่าความรู้รอบและรอบรู้อยู่แล้ว ฉะนั้น ความลูบคลำในศีลว่าขาดหรือไม่ขาดนั้นจะไม่มีในใจเลย เพราะใจที่มีศีลนั้นไม่มีเจตนาในทางที่ชั่ว เรื่องการแสดงออกมาภายนอกด้วยกิริยาทางกายและวาจา ในสายตาของคนอื่นอาจเข้าใจผิดได้ว่าต้องผิดศีลข้อนั้น ต้องผิดศีลข้อนี้ ย่อมวิพากษ์วิจารณ์ไปได้ด้วยภาษาของคนมืดบอด เรื่องเหล่านี้เคยมีมาแล้วในครั้งพุทธกาล เช่น พระจักขุบาลที่เดินจงกรมเหยียบแมลงเม่าตายเป็นกอง ๆ ในทางเดินจงกรม ก็มีพระที่มืดบอดด้วยสติปัญญาไปฟ้องพระพุทธเจ้า ว่าจะเอาโทษทางวินัยให้ได้ ในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ได้ตัดสินว่า พระจักขุบาลไม่ผิดเพราะไม่มีเจตนา คือ ความตั้งใจที่จะเหยียบแมลงเม่าให้ตาย ฉะนั้น ความลูบคลำในศีลว่าขาดหรือไม่ขาดจึงไม่มีต่อผู้มีธรรมประจำใจ

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ฟังบทสวด http://www.buddhanet.net/mp3/mbdc/10_mbdc.mp3

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บทสวดอื่นๆ

...

ไฟไหนเล่า ร้อนเท่าไฟนรก

ไฟไหนเล่าร้อนเท่าไฟนรก
 สุทัสสา อ่อนค้อม
เสียงอ่านหนังสือ
โดยวิทยุสังฆทานธรรม
 

บทนำ ตอน 1
ตอน 2
ตอน 3
ตอน 4
ตอน 5
ตอน 6
ตอน 7
ตอน 8
ตอน 9
ตอน 10
ตอน 11
ตอน 12
บทปิด

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ไตรสรณคมน์

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

นางอุตตรา

นางอุตตรา นันทมารดา เอคทัคคะผู้เพ่งด้วยด้วยฌาณ
นางอุตตรา เกิดเป็นลูกสาวของนายปุณณะ ซึ่งเป็นคนรับใช้อยู่ในเรือนของสมุนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์
เขาเป็นคนขยันทำงาน แม้ในวันนักขัตฤกษ์นายปุณณะก็ยังไปทำการไถนาตามหน้าที่ของตนปกติ ขณะที่เขากำลังไถนาอยู่นั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อออกจากนิโรธสมาบัติแล้วได้ถือบาตรผ่านมายังทุ่งนาที่นาปุณณะกำลังไถอยู่นั้นนายปุณณะพอเห็นพระเถระ ก็หยุดไถแล้วเข้าไปกราบแล้วถวายน้ำบ้วนปากและไม้สีฟัน พระเถระทำกิจสีฟันและบ้วนปากเสร็จแล้วจึงเดิน ภิกขาจารต่อไป นายปุณณะคิดว่า “เหตุที่พระเถระมาทางนี้ในวันนี้ก็คงจะมาสงเคราะห์เรา ถ้าภริยาของเราได้พบพระเถระแล้ว ขอให้นางได้ใสอาหารที่นำมาให้เราลงในบาตรของพระเถระด้วยเถิด” ส่วนภริยาของเขาเมื่อนำอาหารไปส่ง ระหว่างทางได้พบ พระเถระจึงคิดว่า “วันอื่นๆ เราพบพระเถระแต่ไทยธรรมเรา ไม่มีแต่วันนี้ทั้งสองอย่างของเรามีพร้อมแล้ว เราควรถวายอาหารแก่พระเถระก่อนแล้วจึงกลับไปทำมาใหม่” เมื่อนางถวายอาหารแก่พระเถระแล้ว ก็รีบกลับบ้านเพื่อจัดอาหารมาให้สามีของตน นายปุณณะไถนาเรื่อยไปจนเวลาสาย ภริยาก็ยังไม่นำอาหารมาส่ง เมื่อภริยามาถึงก็เกรงว่าสามีจะโกรธ จึงพูดกับสามีว่า “ท่านพี่อย่าเพิ่งโกรธ ฟังดิฉันก่อน” แล้วนางก็เล่าเหตุที่มาช้าให้สามีฟัง “เธอทำดีแล้ว” นายปุณณะกล่าวและทั้งสองสามีภรรยานั้นก็อิ่มเอิบใจ ในการกระทำของตน นายปุณณะ กินอาหารเสร็จแล้วก็นอนหลับไปสักสักพักพอตื่นขึ้นมา ก็เห็นก้อนดินที่ตนไถมีสีเหมือนทองคำทั่วท้องนาจึงบอกให้ภรรยาดูด้วย เมื่อภรรยาเห็นเข้าจึงพูดว่า “ท่านคงเหน็ดเหนื่อย และหิวจนตาลาย” แต่เมื่อเขาลุกไปหยิบมาให้ภรรยาดู ทั้งสองต่างก็เห็นเป็นทอง
คำเหมือนกัน สองสามีภรรยาเก็บทองใส่ถาดแล้วนำไปถวายพระราชา พร้อมทั้งกราบทูลให้ส่งคนไปขนทองคำที่ทุ่งนาของตน ในขณะที่กำลังขนทองคำใส่เกวียนนั้นราชบุตรพากันพูดว่า “บุญของพระราชา” ทันใดนั้นทองคำก็กลายเป็นดินขี้ไถเหมือนเดิม พระราชาจึงรับสั่งว่า “พวกท่านจงไปขนมาใหม่พร้อมกับจงพูดว่า บุญของนายปุณณะ” พวกราชบุรุษทำตามรับสั่ง ก็ปรากฏว่าได้ทองคำมาหลายเล่มเกวียน นำมาที่หน้าพระลานหลวงพระราชารับสั่งถามว่า ใครมีทรัพย์มากเท่านี้บ้าง เมื่อได้สดับว่าไม่มี จึงพระราชทานตำแหน่งเแก่ นายปุณณะนามว่า “ธนเศรษฐี”นายปุณณะ เมื่อทำการมงคลฉลองตำเเหน่งเศรษฐี ได้กราบอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มาเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านเป็นเวลา ๗ วัน พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมเทศนาอนุโมทนาทาน นายปุณณะเศรษฐีพร้อมด้วยภริยาและธิดาได้บรรลุโสดาปัตติผล ในกาลต่อมาราชคหเศรษฐี ได้ส่งคนไปสู่ขอนางอุตตราธิดาของนายปุณณะเพื่อทำอาวาหมงคลกับบุตรของตนนายปุณณะไม่ขัดข้องจึงได้จัดพิธีอาวาหมงคลเป็นที่เรียบร้อยนางได้มาอยู่ในตระกูลของสามีเมื่อถึงฤดูกาลเข้าพรรษานางกล่าวกับสามีว่า ปกตินางจะอธิษฐานองค์อุโบสถเดือนละ ๘ วัน ขอให้สามีอนุญาต แต่สามีไม่อนุญาต นางจึงส่งข่าวไปถึงบิดามารดาว่า นางถูกส่งตัวไปอยู่ในที่คุมขัง จึงขอให้บิดามารดาช่วยส่งทรัพย์ไปให้นางจำนวน ๑๕,๐๐๐ กหาปณะด้วยเถิด เมื่อนางได้ทรัพย์ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ก็ได้ไปหานางสิริมา ซึ่ง เป็นหญิงโสเภณี จึงได้ได้เจรจาติดต่อขอให้ช่วยในการบำรุงบำเรอสามีของนางเองเป็นเวลา ๑๕ วัน แล้วมอบทรัพย์ให้นาง ๑๕,๐๐๐ กหาปณะ นางสิริมาตอบ ตกลงและสามีของนางก็พอใจจึงอนุญาตให้นางอธิษฐานองค์อุโบสถได้ในวันสุดท้ายของการรักษาอุโบสถ ขณะ ที่กำลังขวนขวายจัด ภัตตาหารอยู่สามีของนางกับนางสิริมายืนดูอยู่พลางคิดว่า “นางอุตตราหญิงโง่คนนี้ คงเกิด มาจากสัตว์นรก ชอบทำการงานสกปรก ทรัพย์สมบัติก็มีอยู่มากมายแต่กลับไม่ยินดี”แล้ว ก็แสดง อาการเยาะเย้ย นางอุตตรามองเห็นนางสิริมาตั้งแต่เดินลงมาจากเรือนจนมุ่ง มาที่นาง จึงแผ่เมตตาจิตไปสู่ นางสิริมา ว่า “หญิงผู้นี้มีคุณต่อเราอย่างมาก เราได้อาศัยนางจึงมีโอกาสทำบุญถวายทานและฟังธรรมโดยทุกวันตลอดมาหากประมาณคุณอันยิ่งใหญ่ที่นางมีต่อเรา โดยหาที่เปรียบมิได้หากนาง คิดโกรธเรา และเราไม่โกรธตอบต่อนางถึงนางจะราดรดเราด้วยของร้อน ขอให้เราอย่าร้อนเลยแต่หากเราโกรธนางตอบ ก็จงให้ต้องร้อนตาม ที่นางมุ่งประทุษร้ายเราเถิด” แล้วนางสิริมาได้จับกระบวยตักน้ำมันที่กำลังเดือดเทราดลงบนศีรษะของนางอุตตราที่กำลังเข้าฌาณและแผ่เมตตาจิตอยู่ด้วยอำนาจแห่งเมตตาฌาณ บันดาลให้น้ำมันที่กำลังร้อนปราศจากความร้อน เหล่านางทาสีต่างมีความโกรธเคืองที่นางสิริมาทำร้ายนายหญิงจึงเข้าจับ นางแล้วทุบตีจนนางมาบอบซ้ำทั้งตัว นางอุตตราจึงเข้าห้าม และสั่งให้พวกทาสีพานางไปอาบน้ำ ทายา เพื่อรักษาบาดแผล นางสิริมาเกิดความรู้สึกซาบซึ้งประทับใจนัก จึงกราบลงแทบเท้านางแล้วขอขมาโทษที่ตนล่วงเกินต่อนางเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาพร้อมภิกษุสงฆ์ ประทับบนพุทธอาสน์เพื่อเสวภัตตาหาร ณ ที่บ้านของนางอุตตราในเช้าวันนั้น นางสิริมาได้กราบทูลกิริยาที่ตนกระทำต่อนางอุตตราให้ทรงทราบโดยตลอดแล้ว กราบทูลขอให้ทรงยกโทษให้ จึงตรัสถามนางอุตตราด้วยมีพระพุทธประสงค์จักให้คนทั้งหลายได้ทราบโดยทั่วกันนางอุตตราจึงได้กราบทูลตอบดังที่ตนคิดว่าได้เห็นนางสิริมาตั้งแต่เดินลงมาจากเรือนลำดับจนมุ่งหน้ามาที่นาง จึงแผ่เมตตาจิตไปสู่นางสิริมา ด้วยคิดว่า “หญิงผู้นี้มีคุณต่อเราอย่างมาก เราได้อาศัยนางจึงมีโอกาสทำบุญถวายทานและฟังธรรมโดยสดวกทุกวันตลอดมา หากประมาณคุณอันยิ่งใหญ่ที่นางมีต่อเราหาอะไรเปรียบเทียบมิได้ฉะนั้น หากนางคิดโกรธเคืองเราด้วยเรื่องใดก็ตาม และเราไม่โกรธตอบต่อนาง ถึงนางจะราดรดเราด้วยของร้อน ขอให้เราอย่าต้องร้อนเลย แต่หากเราโกรธนางตอบ ก็จงให้ต้องร้อนเพราะถูกนางราดรดด้วยของร้อน ตามที่นางมุ่งประทุษร้ายเราเถิด ” พระบรมศาสดาจึงตรัสแก่นางอุตราว่า ดีแล้วอุตตรา ดีแล้วที่เธอสามารถชนะตนเอง ได้” จึงตรัสพระคาถานี้ว่า พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดีพึงชนะคนตระหนีด้วยการให้ พึงชนะคนพูดเท็จด้วยคำจริง

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

บทสวดเจริญพระพุทธมนต์

ชุมนุมเทวดา และไตรสรณคมน์ Listen Music Files - Embed Audio - jaroenphraputtamol นะมะการะ สิทธิคาถา(โย จักขุมาฯ) สัมพุทเธ นะโมการอัฎฐะกะ (นะโม อะระหะโต) มงคลสูตร รัตนสูตร

วิธีสร้างบุญบารมี


วิธีสร้างบุญบารมี
บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)กล่าวว่า บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฑติชอบทางกาย วาจา และใจ กุศลธรรมบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง
วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนาซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่นการทำบุญตักบาตร ทอดกฐินผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมี อย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุดดังนี้คือ
1. การทำทาน
การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้นจะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ 3 ประการ ถ้าประกอบหรือถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบ 3 ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ
องค์ประกอบข้อ 1. "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์"วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ
ตัวอย่าง 1 ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะนำเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีกหากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่ได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์ก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่นๆด้วย
ตัวอย่าง 2 ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์รวมตลอดถึงการทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้นย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ด้วย นำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า "บริโภคด้วยความเป็นหนี้แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างใด สมัยหนึ่งในรัชกาลที่5 มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อว่า"ยายแฟงได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง 25 สตางค์ แกจะชักเอาไว้ 5 สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ 2,000 บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแกทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ 1 สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูกๆ แต่ขายแพงๆ จนเกินส่วนที่ควรจะได้ ผลกำไรที่ได้มาเพราะความโลภจัดจนเกินส่วนนั้นย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน
วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลย ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่
องค์ประกอบข้อ 2. "เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์"การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหน หลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ"โลภกิเลสและเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร 4 ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน 3 ระยะ คือ
(1ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัส ร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน(2ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น(3ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใดก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้นๆ
เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องมาจากเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน นับว่าเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้จะทำให้ยิ่งๆบริสุทธิ์มากขึ้นไปอื่นหากผู้ให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวงที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงแต่วัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านแต่ก่อนนั้นต่างก็ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ได้ยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้ จึงนับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง นับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ตั้งอยู่ในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็เฒ่าแก่และตายไปในที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง
เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาแล้วด้วย เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของที่บริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ 1 ด้วย ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่งๆขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้ แต่ก็มีข้ออันควรระวังอยู่ ก็คือการทำทานนั้นอย่างได้เบียดเบียนตนเองเช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มากๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้ เมื่อได้ทำไปแล้ว ตนเองและสามี ภริยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลน เพราะไม่มีจะกิน จะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ
ตัวอย่าง 1 ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน ไปยืนถ่ายภาพลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อให้ได้รับความนิยมยกย่องนับถือ โดยที่แท้จริงแล้วตนมิได้มีเจตนาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้ใด เรียกว่าทำทานด้วยความโลภ ไม่ได้ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความอยากได้ คืออยากได้หน้า ได้เกียรติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ
ตัวอย่าง 2 ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียดาย เช่นมีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้าง แต่ทรัพย์น้อย เมื่อมีพวกมาเรี่ยไรบอกบุญ ต้องจำใจทำทานไปเพราะความเกรงใจพวกพ้อง หรือเกรงว่าจะเสียหน้า ตนจึงได้สละทรัพย์ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำทานด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ทำทานด้วยจิตเมตตาที่มุ่งจะสงเคราะห์ผู้อื่น ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดาย ให้ไปแล้วก็เป็นทุกข์ใจ บางครั้งนึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หากเสียดายมากๆ จนเกิดโทสจริตกล้าแล้ว นอกจากจะไม่ได้บุญแล้ว ที่จะได้ก็คือบาป
ตัวอย่าง 3 ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะอยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น เป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตังจิตอธิษฐานขอให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้ร่ำรวยนับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งสลากกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆก็มาขอเบิกในชาตินี้ จะมีที่ไหนมาให้เบิก การทำทานด้วยความโลภเช่นนี้ ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย สิ่งที่จะได้พอกพูนเพิ่มให้มากขึ้นและหนาขึ้น ก็คือ "ความโลภ"
ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ 3 ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำเหตุครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง เช่นเดียวกับปลูกต้นมะม่วงเมื่อรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยไปตามธรรมดาเรื่อยไป แม้จะไม่อยากให้เจริญเติบโตและออกดอกออกผล ในที่สุดต้นไม้ก็จะต้องเจริญและผลิตดอกออกผลตามมา สำหรับผลของทานนั้น หากน้อยหรือมีกำลังไม่มากนักย่อมน้อมนำให้บังเกิดในมนุษย์ชาติ หากมีกำลังแรงมาก ก็อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในเทวโลก 6 ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติในเทวโลกจนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงเหลืออยู่บ้างประกอบกับไม่มีอกศลกรรมอื่นแทรกให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่มีลาภผลมาก ทำมาหากินขึ้นและร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปเพราะวินาศภัย โจรภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ แต่จะมั่งคั่ง ร่ำรวยในวัยใดย่อมสุดแล้วแต่ผลทานแต่ชาติก่อนๆจะส่งผล คือ
1. ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น  เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนที่จะลงมือทำทานก็มีจิตเมตตาโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้นอุดมสมบูรณ์พูดสุขไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนแร้นแค้น ไม่ต้องขวนขวายหาเลี้ยงตนเองมาก แต่ถ้าเจตนานั้นไม่งามบริสุทธิ์พร้อมกันครบ 3 ระยะแล้ว ผลทานนั้นก็ย่อมส่งผลให้ไม่สม่ำเสมอกัน คือแม้ว่าจะร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น โดยเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม หากในขณะที่กำลังลงมือทำทานเกิดจิตเศร้าหมองเพราะหวนคิดเสียดายหรือหวงแหนทรัพย์ที่จะให้ทานขึ้นมา หรือเกิดหมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆ แต่ก็ยังฝืนใจทำทานไป เพราะเสียไม่ได้หรือเพราะตามพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ เช่นนี้ผลทานย่อมหมดกำลังให้ผลในระยะที่ 2 ซึ่งตรงกับวัยกลางคน ซึ่งจะมีผลทำให้ทรัพย์สมบัติวิบัติหายนะไปด้วยประการต่างๆ แม้จะได้รับมรดกมาก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้ หากเจตนาในการทำทานนั้นเศร้าหมองในระยะที่ 3 คือทำทานไปแล้วหวนคิดขึ้นมาทำให้เสียดายทรัพย์ ความหายนะก็มีผลต่อเนื่องมาจนถึงบั้นปลายชีวิตด้วย คือทรัพย์สินคงวิบัติเสียหายต่อเนื่องจากวัยกลางคนตลอดไปจนถึงตลอดอายุขัยชีวิตจริงของผู้ที่เกิดบนกองเงินกองทองก็มีให้เห็น เป็นตัวอย่างที่เมื่อได้รับทรัพย์มรดกแล้วก็วิบัติเสียหายไป หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวัยต้น แต่ก็ต้องล้มละลายในวัยกลางคน และบั้นปลายชีวิต แต่ถ้าได้ตั้งแจตนาในการทำทานไว้บริสุทธิ์ครบถ้วนพร้อม 3 ระยะแล้ว ผลทานนั้นย่อมส่งผลสม่ำเสมอ คือร่ำรวยตั้งแต่เกิด วัยกลางคน และจนปัจฉิมวัย
2. ร่ำรวยในวัยกลางคน การที่ร่ำรวยในวัยกลางคืนนั้นสืบเนื่องมาจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ 2 กล่าวคือไม่งามบริสุทธิ์ในระยะแรก เพราะก่อนที่จะลงมือทำทานก็มิได้มีจิตศรัทธามาก่อน ไม่คิดจะทำทานมาก่อน แต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง เช่นทำตามพวกพ้องอย่างเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ลงมือทำทานอยู่ก็เกิดโสมนัสรื่นเริงยินดีในทานที่กำลังกระทำอยู่นั้น ด้วยผลทานชนิดนี้ ย่อมทำให้มาบังเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมาในวัยต้น ครั้นเมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจที่ทำก็ประสบความสำเร็จรุ่งเรือง และหากเจตนาในการทำทานได้งานบริสุทธิ์ในระยะที่ 3 ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้น ย่อมส่งผลรุ่งเรืองตลอดไปจนถึงบั้นปลายชีวิต หากเจตนาในการทำทานไม่บริสุทธิ์ในระยะที่ 3 แม้ธุรกิจหรือกิจการงานจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองในวัยกลางคน แต่ก็ล้มเหลวหายนะในบั้นปลาย ทั้งนี้เพราะผลทานหมดกำลัง ส่งผลไม่ตลอดจนถึงบั้นปลายชีวิต

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

บทสวดเมตตาใหญ่



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ฯ ( ๓ จบ )
...

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฎฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฎิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะฯ
(๑) สุขัง สุปะติ 
(๒) สุขัง ปฎิพุชฌะติ 
(๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ 
(๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ 
(๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ 
(๖) เทวะตา รักขันติ 
(๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วากะมะติ 
(๘) ตุวะฎัง จิตตัง สะมาธิยะติ 
(๙) มุขะ วัณโณ วิปปะสีทะติ 
(๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ 
(๑๑) อุตตะริง อัปปะฎิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโค โหติฯ 

เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฎิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิ สังสา ปาฎิกังขาฯ 

อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตีหา กาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโต วิมุตติฯ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ ทะสะหา กาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

(๑) สัพเพ สัตตา (สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง) อะเวรา (อย่ามีเวรแก่กันและกันเลย) อัพยาปัชฌา (อย่าผูกพยาบาทอาฆาตกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่าข่มเหงรังแกกัน) อะนีฆา (อย่ามีความทุกข์กายทุกข์ใจ) สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ (จงรักษาตนให้เป็นสุขเป็นสุขเถิด)

(๒) สัพเพ ปาณา (สัตว์มีลมปราณทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ ภูตา (ภูตผีทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ปุคคะลา (บุคคลทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา (สัตว์ในร่างกายเราทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

(๑) สัพพา อิตถิโย (สัตว์เพศหญิงทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปุริสา (สัตว์เพศชายทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อะริยา (สัตว์เจริญทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ อะนะริยา (สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๕) สัพเพ เทวา (เทวดาทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ มะนุสสา (สัตว์มีใจสูงทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๗) สัพเพ วินิปาติกา (สัตว์นรกทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ 

อิเมหิ สัตตะหา กาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศตะวันออก) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศตะวันตก) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันออกเฉียงใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันตกเฉียงใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศเบื้องต่ำ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศเบื้องบน) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพพา ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพพา ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพพา ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ อุปะฆาตังวัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา 

อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะ หากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต สัพพะพยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ

เมตตา พรหมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.