วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปัญจฐานคาถา

ภารสุตตคาถา

ภารสุตตคาถา

     (หันทะ มะยัง ภาระสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส)             เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงภารสูตรเถิด

      ภารา หะเว ปัญจักขันธา                                     ขันธ์ทั้งห้า เป็นของหนักเน้อ

      ภาระหาโร จะ ปุคคะโล                                      บุคคลแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไป
 
      ภาราทานัง ทุกขัง โลเก                                     การแบกถือของหนักเป็นความทุกข์ในโลก

      ภาระนิกเขปะนัง สุขัง                                        การสลัดของหนักทิ้งลงเสียเป็นความสุข
 
      นิกขิปิต๎วา คะรุง ภารัง                                        พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว
 
      อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ                                      ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก

      สะมูลัง ตัณหัง อัพพุย๎หะ                                     เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก

      นิจฉาโต ปะรินิพพุโต                                         เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนาดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ

ธรรมมุทเทส

 อุปนียติ โลโก โลกคือหมู่สัตว์อันชรานำไป อัทธุโว ไม่ยั่งยืน อตาโนโลโก โลกที่ไม่มีผู้ป้องกัน อนภิสสโร ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน อสโกโลโก โลกไม่มีสิ่งใดเป็นของตน สัพพังปหายคมนียัง จำต้องละในสิ่งทั้งปวง อโนโลโก โลกนี้พร่องอยู่ อติตโตต เป็นผู้ไม่อิ่ม ตัณหาทาโส เป็นทาสแห่งตัณหา

กายคตาสติภาวนา

เม กาโย-กายของเรานี้แล

อุทธัง ปาทะตะลา-เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธเกสะมัตถะกา-เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันโต-มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปุโรนานัปปะการัสสะ อสุจิโน-เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ

อัตถิ อิมัสมิง กาเย-มีอยู่ในกายนี้

เกสา-ผมทั้งหลาย

โลมา-ขนทั้งหลาย

นะขา-เล็บทั้งหลาย

ทันตา-ฟันทั้งหลาย

ตะโจ-หนัง

มังสัง-เนื้อ

นะหารู-เอ็นทั้งหลาย

อัฏฐี-กระดูกทั้งหลาย

อัฏฐิมิญชัง-เยื่อในกระดูก

วักกัง-ม้าม

หะทะยัง-หัวใจ

ยะกะนัง-ตับ

กิโลมะกัง-พังผืด

ปิหะกัง-ไต

ปัปผาสัง-ปอด

อันตัง-ไส้ใหญ่

อันตะคุณัง-สายรัดไส้

อุทะริยัง-อาหารใหม่

กะรีสัง-อาหารเก่า

ปิตตัง-น้ำดี

เสมหัง-น้ำเสลด

เสโท-น้ำเหงื่อ

เมโท-น้ำมันข้น

อัสสุ-น้ำตา

วะสา-น้ำมันเหลว

เขโฬ-น้ำลาย

สิงฆานิกา-น้ำมูก

ละสิกา-น้ำมันไขข้อ

มุตตัง-น้ำมูตร

มัตถะเก มัตถะลังคัง-เยื่อในสมอง

เอวะมะยัง เม กาโย-กายของเรานี้อย่างนี้

อุทธังปาทะตะลา-เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธเกสะมัตถะกา-เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันโต-มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ


ปุโรนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน- เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆอย่างนี้แล

เจริญมรณสติกัมมัฎฐาน

มรณสติกัมมัฎฐาน ...
ตอนที่ว่า ฯลฯ
อะธุวัง โข เม ชีวิตัง, ชีวิตนี้เป็นของไม่ยั่งยืน, ธุวัง มะระณัง เอกังสิกัง, 
ความตายนั้นยั่งยืนโดยส่วนเดียว, อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง, เราพึงตายเป็นแน่แท้,
มะระณะ ปะริโยสานัง เม ชีวิตัง, 
ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ,
มะระณะ ปะฏิพัทธัง เม ชีวิตัง, 
ชีวิตของเราเกี่ยวเนื่องอยู่ด้วยความตาย,
มะระณะธัมโมมหิ, เรามีความตายเป็นธรรมดา, มะระณัง อะนะตีโต, 
จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้,
มะระณัง ภะวิสสะติ, 
ความตายจักต้องมีโดยแท้,
ชีวิตินทฺริยัง อุปัจฉิชชิสสะติ, 
อินทรีย์คือชีวิตจะเข้าไปตัด,
มะระณัง มะระณัง, 
ความตาย ความตาย, เอกังสิกัง. 
เป็นไปโดยส่วนเดียวแน่แท้แล.

พระคาถาธรรมบทบรรยาย


..................ธัมมปริยายคาถา

(หันทะ มะยัง ธัมมะปะริยายะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพเพ สัตตา มะริสสันติ มะระณันตัง หิ ชีวิตัง,

สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจักต้องตาย, เพราะชีวิตนี้มีความตายเป็นที่สุดรอบ,

ชะรังปิ ปัต๎วา มะระณัง เอวัง ธัมมา หิ ปาณิโน,

แม้จะอยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย, เพราะสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอย่างนี้ตามธรรมดา,

ยะมะกัง นามะรูปัญจะ อุโภ อัญโญญะนิสสิตา,

ก็นามและรูปคือกายกับใจ, ย่อมอาศัยกันอยู่เป็นของคู่กัน,

เอกัส๎มิง ภิชชะมานัส๎มิง อุโภ ภิชชันติ ปัจจะยาติ,

เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแตกสลาย, ทั้ง ๒ ฝ่ายก็สลายไปด้วยกัน,

ยะถาปิ อัญญะตะรัง พีชัง เขตเต วุตตัง วิรูหะติ,

เปรียบเหมือนพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง, 
ที่หว่านลงแล้วในพื้นแผ่นดิน ย่อมงอกขึ้นได้,

ปะฐะวีระสัญจะ อาคัมมะ สิเนหัญจะ ตะทูภะยัง,

เพราะอาศัยรสแห่งแผ่นดิน, และเชื้อในยางแห่งพืชนั้นๆ,

เอวัง ขันธา จะ ธาตุโย ฉะ จะ อายะตะนา อิเม,

ขันธ์ทั้ง ๕ และธาตุทั้งหลาย, พร้อมทั้งอาตยนะทั้ง ๖ นี้ก็เหมือนกัน,

เหตุง ปะฏิจจะ สัมภูตา เหตุภังคา นิรุชฌะเร,

อาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้, เมื่อเหตุนั้นแตกสลายก็ย่อมดับไป,

ยะถา หิ อังคะสัมภารา โหติ สัทโท ระโถ อิติ,

เปรียบเหมือนการประกอบชิ้นส่วนของรถเข้าด้วยกัน, คำเรียกว่ารถก็มีขึ้นได้,

เอวัง ขันเธสุ สันเตสุ โหติ สัตโตติ สัมมะติ,

เมื่อขันธ์ทั้ง ๕ ยังมีอยู่ก็เหมือนกัน, คำสมมุติว่าคนและสัตว์ก็มีขึ้นได้,

อุโภ ปุญญัญจะ ปาปัญจะ ยัง มัจโจ กุรุเต อิธะ,

ผู้ทำบุญและบาปใดๆ ในโลกนี้, เมื่อผู้นั้นตายไป

ตัญหิ ตัสสะ สะกัง โหติ ตัญจะ อาทายะ คัจฉะติ,

บุญและบาปนั้นแล ย่อมเป็นของๆ เขาผู้นั้นโดยแท้,
เขาย่อมได้รับบุญและบาปนั้นแน่นอน,

ตัญจัสสะ อะนุคัง โหติ ฉายาวะ อะนุปายินี,

บุญและบาปนั้น ย่อมติดตามเขาไป, เหมือนเงาตามตัวเขาไป ฉันนั้น,

สัทธายะ สีเลนะ จะ โย ปะวัฑฒะติ,

ผู้ใดเจริญด้วยศีลและมีศรัทธา,

ปัญญายะ จาเคนะ สุเตนะ จูภะยัง,

เป็นผู้ฟัง ผู้เสียสละ ผู้มีปัญญา,

โส ตาทิโส สัปปุริโส วิจักขะโน,

บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ เป็นผู้เฉียบแหลมเช่นนั้น,

อาทียะติ สาระมิเธวะ อัตตะโน,

ย่อมเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตน ในโลกนี้ไว้ได้โดยแท้,

อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว,

ความพากเพียรในสิ่งดีงาม เป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้,

นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา,

เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก, ย่อมไม่มีสำหรับเรา,

เอวัมภูเตสุ เปยเตสุ สาธุ ตัตถาชฌุเปกขะนา,

เมื่อสังขารเหล่านั้นต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน,
การวางเฉยในสังขารเสียได้ ย่อมเป็นการดี,

อะปิ เตสัง นิโรธายะ ปะฏิปัตตะยาติ สาธุกา,

อนึ่ง การปฏิบัติเพื่อดับสังขารเสียได้ ยิ่งเป็นการดี,

สัพพัง สัมปาทะนียัญหิ อัปปะมาเทนะ สัพพะทาติ,

กิจทั้งสิ้นนี้จะพึงบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้,
ด้วยความไม่ประมาททุกเมื่อเท่านั้นแล ดังนี้.

อริยสัจจคาถา

อะริยะสัจจะคาถา 
หันทะ มะยัง อะริยะสัจจะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ 
เย ทุกขัง นัปปะชานันติ, ชนเหล่าใด, ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งทุกข์ 
อะโถ ทุกขัสสะ สัมภะวัง, ทั้งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ 
ยัตถะ จะ สัพพะโส ทุกขัง, อะเสสัง อุปะรุชฌะติ, 
ทั้งความทุกข์ย่อมดับไม่เหลือโดยประการทั้งปวง, ในเพราะมรรคใด 

ตัญจะ มัคคัง นะ ปะชานันติ, ทั้งไม่รู้ซึ่งมรรคนั้น 
ทุกขูปะสะมะคามินัง, อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบแห่งทุกข์ 
เจโต วิมุตติหีนา เต, ชนเหล่านั้นเป็นผู้เหินห่างจากเจโตวิมุติ 
อะโถ ปัญญาวิมุตติยา, ทั้งจากปัญญาวิมุติ 
อะภัพพา เต อันตะกิริยายะ, เขาเป็นผู้ไม่พอเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ 
เต เว ชาติชะรูปะคา, เขาต้องเข้าถึงซึ่งชาติและชราแน่แท้ 
เย จะ ทุกขัง ปะชานันติ, ฝ่ายชนเหล่าใด, รู้ทั่วถึงซึ่งทุกข์ได้ 
อะโถ ทุกขัสสะ สัมภะวัง, ทั้งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ 
ยัตถะ จะ สัพพะโส ทุกขัง อะเสสัง อุปะรุชฌะติ, 
ทั้งความทุกข์ย่อมดับไม่เหลือด้วยประการทั้งปวง, ในเพราะมรรคใด 

ตัญจะ มัคคัง นะ ปะชานันติ, ทั้งรู้ทั่วถึงซึ่งมรรคนั้น 
ทุกขูปะสะมะคามินัง, อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบแห่งทุกข์ 
เจโต วิมุตติสัมปันนา, ชนเหล่านั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเจโตวิมุติ 
อะโถ ปัญญาวิมุตติยา, ทั้งด้วยปัญญาวิมุติ 
ภัพพา เต อันตะกิริยายะ, เขาเพียงพอเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ 
นะ เต ชาติชะรูปะคาติ. เขาไม่ต้องเข้าถึงซึ่งชาติและชรา ฉะนี้แล.

ตายนคาถา

บทสวดแปล ตายนสูตร

( หันทะ มะยัง ตายะนะสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส) 
ฉินทะ โสตัง ปะรักกัมมะ กาเม ปะนูทะ พ๎ราห๎มะณะ ,
-ท่านทั้งหลายจงพยายามตัดตัณหาอันเป็นดังกระแสน้ำ ,
จงบรรเทากามทั้งหลายเสียเถิด ,

นัปปะหายะ มุนิ กาเม เนกัตตะมุปะปัชชะติ ,
-มุนีละกามทั้งหลายไม่ได้แล้ว ย่อมเป็นอยู่ผู้เดียวไม่ได้ ,

กะยิรา เจ กะยิราเถนัง ทัฬหะเมนัง ปะรักกะเม ,
-ถ้าบุคคลจะทำอะไรก็ทำเถิด แต่จงทำกิจนั้นให้จริงๆ ,

สิถิโล หิ ปะริพพาโช ภิยโย อากิระเต ระชัง ,
-เพราะว่าการบวชที่ย่อหย่อนย่อมไม่เกิดผล , ยิ่งโปรยโทษดุจธุลี ,

อะกะตัง ทุกกะฏัง เสยโย ปัจฉา ตัปปะติ ทุกกะฏัง ,
-ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะว่าความชั่วทำให้เดือดร้อนในภายหลัง ,

กะตัญจะ สุกะตัง เสยโย ยัง กัต๎วา นานุตัปปะติ ,
-บุคคลควรทำแต่ความดี เพราะทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง ,

กุโส ยะถา ทุคคะหิโต หัตถะเมวานุกันตะติ ,
-หญ้าคาที่บุคคลจะถอนแล้ว จับไม่ดี , ย่อมบาดมือผู้จับ ฉันใด ,

สามัญญัง ทุปปะรามัฏฐัง นิระยายูปะกัฑฒะติ ,
-การบวชถ้าปฏิบัติไม่ดีและย่อหย่อน ย่อมถูกฉุดไปนรกได้ ฉันนั้น ,

ยังกิญจิ สิถิลัง กัมมัง สังกิลิฏฐัญจะ ยัง วะตัง ,
-การงานสิ่งใดที่ย่อหย่อน และการปฏิบัติใดที่เศร้าหมอง ,

สังกัสสะรัง พ๎รัห๎มะจะริยัง นะ ตัง โหติ มะหัปผะลันติ ,
-การประพฤติพรหมจรรย์ของผู้ใด ที่ระลึกขึ้นมาแล้วรังเกียจตนเอง ,
การกระทำเหล่านั้นย่อมเป็นของไม่มีผลมาก ดังนี้. 

สีลุทเทสปาฐะ

สีลุทเทสปาฐะ

(นำ) หันทะ มะยัง  สีลุทเทสะปาฐัง  ภะณามะ  เส.
(รับ) ภาสิตะมิทัง  เตนะ  ภะคะวะตา  ชานะตา  ปัสสะตา  อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ
        พระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้เห็น เป็นพระอรหันต์  ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ได้ตรัสคำนี้ไว้แล้วว่า,
สัมปันนะสีลา  ภิกขะเว  วิหะระถะ  สัมปันนะปาฏิโมกขา,
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์  มีพระปาติโมกข์สมบูรณ์,
ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุตา วิหะระถะ อาจาระโคจะระสัมปันนา
        จงเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์, สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร, คือมรรยาทและสถานที่ควรเที่ยวไป,
อะณุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี สะมาทายะ สิกขะถะ สิกขาปะเทสูติ,
        จงเป็นผู้มีปรกติเห็นความน่ากลัว, ในโทษแม้เพียงเล็กน้อย, สมาทานศึกษาสำเหนียกในสิกขาบททั้งหลายเถิด, 
ตัส๎มาติหัม๎เหหิ  สิกขิตัพพัง,
        เพราะเหตุนั้นแล, เราทั้งหลายพึงทำความศึกษาสำเหนียกว่า
สัมปันนะสีลา วิหะริสสามะ สัมปันนะปาฏิโมกขา,
        จักเป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ มีพระปาฏิโมกข์สมบูรณ์
ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุตา วิหะริสสามะ อาจาระโคจะระสัมปันนา,
        เราจักเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์, สมบูรณ์ด้วย อาจาระและโคจร, คือมารยาทและสถานที่ควรเที่ยวไป,
อะนุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี สะมาทายะ สิกขิสสามะ สิกขาปะเทสูติ,
        จักเป็นผู้มีปรกติเห็นความน่ากลัวในโทษแม้เพียงเล็กน้อย, สมาทาน  ศึกษา สำเหนียก ในสิกขาบททั้งหลาย,
เอวัญหิ โน สิกขิตัพพัง.
        เราทั้งหลาย, พึงทำความศึกษาสำเหนียกอย่างนี้แล.

-----------------------

ทศธรรม

(นำ) หันทะ  มะยัง  ทะสะธัมมะสุตตะคาถาโย  ภะณามะ  เส.
เชิญเถิด  เราทั้งหลาย, จงกล่าวคาถาพิจารณาทศธรรม ๑๐ ประการเถิด
(รับ) ทะสะ  อิเม  ภิกขะเว  ธัมมา  ปัพพะชิเตนะ  อะภิณ๎หัง  ปัจจะเวกขิตัพพัง,
        ธรรมของผู้บวชในพระศาสนา,  ควรพิจารณาทุกวันๆ ๑๐ อย่างนี้ คือ,
เววัณณิยัม๎หิ   อัชฌูปะคะโตติ,
        บัดนี้,  เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว,  อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ, เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ,
ปะระปะฏิพัทธา  เม  ชีวิกาติ,
        การเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น,  เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย,
อัญโญ  เม  อากัปโป  กะระณีโยติ,
        อาการกายวาจาอย่างอื่น,ที่เราจักต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอีก, มิใช่เพียงเท่านี้,
กัจจิ นุ โข  เม  อัตตา,  สีละโต  นะ  อุปะวะทะตีติ,
        ตัวเราเอง  ติเตียนตัวเราเอง  โดยศีลได้หรือไม่,
กัจจิ นุ โข  มัง  อะนุวิจจะ  วิญญู  สะพ๎รัห๎มะจารี,  สีละโต  นะ  อุปะวะทันตีติ
        ท่านผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว,  ติเตียนเรา  โดยศีลได้หรือไม่,
สัพเพหิ  เม  ปิเยหิ  มะนาเปหิ  นานาภาโว  วินาภาโวติ,
        เราจักเป็นต่างๆ คือว่า,   เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นไป,
กัมมัสสะโกม๎หิ  กัมมะทายาโท  กัมมะโยนิ  กัมมะพันธุ  กัมมะปะฏิสะระโณ,     ยัง  กัมมัง กะริสสามิ, กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา, ตัสสะ ทายาโท,  ภะวิสสามีติ ฯ
        เรามีกรรมเป็นของๆ ตน,  เราเป็นผู้รับผลของกรรม,  เรามีกรรมเป็นกำเนิด,  เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย,  เราจักทำกรรมอันใดไว้, ดีหรือชั่วก็ตาม, เราจักต้องเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้นๆ,
กะถัมภูตัสสะ  เม  รัตตินทิวา  วีติปะตันติ,      วันคืนล่วงไปๆ  บัดนี้เราทำอะไรอยู่,
กัจจิ นุ โขหัง  สุญญาคาเร   อะภิระมามีติ,      เรายินดีในที่สงัดหรือไม่,
กัจจิ นุ โข   เม   อุตตะริมะนุสสะธัมมา,   อะละมะริยะญาณะทัสสะนะวิเสโส อะธิคะโต  โสหัง   ปัจฉิเม   กาเล   สะพ๎รัห๎มะจารีหิ   ปุฏโฐ   นะ  มังกุ  ภะวิสสามีติ,
        คุณธรรมอันวิเศษ  โลกุตตระกุศล,  เกิดมีในตนหรือไม่,  ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน,  ในเวลาเพื่อนบรรพชิตถาม   ในกาลภายหลัง,
อิเม  โข  ภิกขะเว  ทะสะธัมมา,          ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมสิบประการนี้,
อะภิณ๎หัง  ปัจจะเวกขิตัพพาติ,           ควรพิจารณาทุกวันๆ อย่าได้ประมาท ดังนี้แล.

สมณสัญญา ๑๐ ประการ

ติสโส ภิกขะเว สะมะณะสัญญา ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, สมณะสัญญาสามประการ, อันบรรพชิตกระทำให้มากแล้ว,

สัตตะ ธัมเม ปะริปูเรนติ,
ย่อมกระทำธรรมะทั้งเจ็ดประการให้บริบูรณ์ได้,

กะตะมา ติสโส,
สมณะสัญญาสามประการคืออะไรบ้าง,

เววัณณิยัมหิ อัชฌูปะคะโต,
บัดนี้เรามีเพศแตกต่างจากคฤหัสถ์แล้ว, อาการกิริยาใดๆของสมณะ, เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ,

ปะระปะฏิพัทธาเม ชีวิกา,
ความเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น, เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย,

อัญโญ เม อากัปโป กะระณีโย,
อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่, มิใช่เพียงเท่านี้,

อิเม โข ภิกขะเว ติสโส สะมะณะสัญญา ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, สมณะสัญญาสามประการเหล่านี้แล, อันบรรพชิตกระทำให้มากแล้ว,

สัตตะ ธัมเม ปะริปูเรนติ,
ย่อมกระทำธรรมะทั้งเจ็ดประการให้บริบูรณ์ได้,

กะตะเม สัตตะ,
ธรรมะเจ็ดประการคืออะไรบ้าง,

นิจจัง สัตตะการี โหติ สัตตะวุตตี สีเลสุ,
คือเป็นผู้มีปกติประพฤติในศีลด้วยธรรมสม่ำเสมอป็นนิจ,

อะนิภิชฌาลุ โหติ,
เป็นผู้มีปกติไม่เพ่งเล็งสิ่งใด,

อัพฺยาปัชโฌ โหติ,
เป็นผู้ไม่เบียดเบียนใคร,

อะนะตีมานี โหติ
เป็นผู้ไม่ดูหมิ่นอื่น,

สิกขากาโม โหติ,
เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา,

อิจจัตถันติสสะโหติ ชีวิตะปะริกขาเรสุ,
เป็นผู้มีความพิจารณาให้เห็นประโยชน์ในบริขารเครื่องเลี้ยงชีวต,

อารัทธะวิริโย วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่,

อิเม โข ภิกขะเว ติสโส สะมะณะสัญญา ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, สมณะสัญญาสามประการเหล่านี้แล, อันบรรพชิตกระทำให้มากแล้ว,

อิเม สัตตะ ธัมเม ปะริปูเรนตีติ.
ย่อมกระทำธรรมะทั้งเจ็ดประการเหล่านี้ให้บริบูรณ์ได้, ฉะนี้แล.