วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

จีวรถวายพระ



ผ้าไตร....
เสร็จสิ้นงานกฐินสำหรับปีนี้ไปแล้ว สำหรับท่านใดยังไม่ได้ทำบุญกฐิน ก็ต้องรอไปปีหน้า เพราะกฐินเป็นกาลทาน คือ มีได้เฉพาะกาล หรือ มีช่วงกำหนดเวลาไว้ ซึ่งกาลทานก็รวมถึง พระภิกษุและผู้อื่นป่วย, หรือได้รับผลจากภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติต่างๆ ต้องได้รับการช่วยเหลือที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ
อานิสงส์ผู้ให้ในกาลทาน ย่อมมีผลมากกว่า อกาลทาน(ให้ได้ทั่วไปไม่มีเวลาจำกัด) เช่นผ้าป่า ทอดได้ทั้งปี, สังฆทาน ถวายได้ตลอด เป็นต้น
กฐิน(แปลว่า สะดึงขึงผ้าผืนใหญ่เพื่อเย็บ) ดังนั้นย่อมเกี่ยวข้องกับผ้าไตรจีวร เจ้าภาพก็มักหาซื้อไตรสำเร็จรูปมาถวายตามความสะดวก คราวนี้พระผู้รับจะเป็นอย่างไรบ้าง?
ตามคำกล่าวถวายว่า .. เมื่อรับแล้ว ขอจงกรานกฐินด้วยผ้านี้...
หากพระภิกษุผู้ศึกษาพระวินัยมา ย่อมต้องตรวจสอบผ้าก่อนนำมากรานว่า ถูกต้องหรือไม่ประการใด? คือ ใช้ได้จริงหรือไม่? เพราะ
ผ้าที่พระจะห่มครองนั้น ต้องเลือกตามพระวินัย เช่น ด้านกว้าง ด้านยาว เหมาะกับตัวผู้ครองหรือไม่?
ปัจจุบัน ที่ถวายผ้ามาให้นั้น ถ้าอาตมาห่มแล้ว ผ้าจีวรจะดูว่า ขาลอย เพราะคิดว่าอาตมาใส่จีวร 1.90 ม. คราวนี้ลองคิดดูว่า เวลาบิณฑบาตนั้น บาตรจะรั้งผ้าขึ้นไปอีกเท่าไร? สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ห่มเข้าบ้านไม่เป็นปริมณฑล คือคลุมไม่ครบตามที่พระพุทธเจ้ากำหนด!
ต่อไป ด้านการตัดเย็บ ผ้าที่พระภิกษุควรครองให้อยู่ในพระวินัย คืออธิษฐานได้ ต้องถูกตัดเป็นชิ้นแยกจากกันแล้วนำมาเย็บติดกัน ที่โบราณเรียกสดึงขึงผ้าว่า"กฐิน" ด้วยเช่นนี้ เพราะแต่ก่อนไม่มีจักรเย็บผ้า วินัยนี้พระพุทธเจ้ากำหนดไม่ให้ภิกษุใช้ผ้าผืนเดียว ซึ่งสมัยก่อนผ้าผืนเดียวมีค่ามาก โจรชอบมาลักขโมย เวลาล่วงเลยมาในปัจจุบัน มันกลับเป็นว่า ผ้าผืนเดียวเย็บง่ายราคาจึงถูก ถ้าเอามาตัดแล้วจึงเย็บใช้เวลามาก ค่าแรงก็เพิ่ม
แต่อาตมาเอาตามพระพุทธเจ้าดีกว่า เพราะพระที่ท่านตัดเย็บเองยังมีอยู่ ค่าแรงวันละบาตร
ต่อไป ก็การเย็บเป็นขันธ์เป็นกระทง รูปคันนา ไตรสำเร็จเน้นถูกตังค์ จะถูกวินัยไหม? ขอให้ขายได้ คนซื้อก็ง่ายๆ สบายๆ แต่พระที่ศึกษามา ก็ได้แค่นำไปถวายต่อเท่านั้น!
มันก็ไม่จบเรื่องการเย็บอีก เพราะวินัยกำหนดให้มีลูกดุมกลัดให้ดีก่อนเข้าบ้านเช่นบิณฑบาต ก็กลัดลูกดุมเข้ารังดุมให้เรียบร้อย ส่วนไตรสำเร็จไม่มีให้กลัด มีแต่เชือกติดเลียนแบบไว้เฉยๆ พระก็มีอาบัติติดตัวอีก ถ้าเคารพพระวินัยแล้วไม่กล้าใส่...
เนื้อผ้า สำหรับไตรสำเร็จราคาถูก สบงจะเป็นเครื่องฟ้องมาทันที เพราะเวลาใส่สบงอยู่วัดไม่มีจีวรคลุมทับ เหมือนนางแมวยั่วสวาทก็ว่าได้หากพลาดไปโดนน้ำ โดนเหงื่อด้วยแล้ว คราวนี้ผ้าแนบเนื้อปรากฎเป็นเปรตเดินดินไปเลยทีเดียว ครั้งแรกอาตมาไม่ทราบ คิดว่าเขาถวายอะไรมาก็ใช้ๆไปเถอะ เราเป็นพระไม่ควรจะไปเรื่องมาก พอใส่ไปเปียกน้ำเท่านั้นแหละ ความคิดเปลี่ยนไปเลยคราวนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราเลือกตามที่เคยท่องว่า
....ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปฏิเสวามิ,
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วนุ่งห่มจีวร,
ยาวะเทวะ สีตัสสะปฏิฆาตายะ,
เพียงเพื่อบำบัดความหนาว, 
อุณหัสสะ  ปะฏิฆาตายะ, 
เพื่อบำบัดความร้อน, 
ทังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง  ปะฏิฆาตายะ,       
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,
ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง,
และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันให้เกิดความละอาย.
... คือถ้าผ้ามันบางจนใส่แล้ว มันละอายที่จะโชว์อวัยวะแล้ว ขอเลือกผ้าไตรดีกว่า!!!
ชี้แจง ในภาพเล็กๆน้อยๆ ว่าทำไม อาตมาจึงต้องเลือกใช้ผ้าไตร ใครจะว่า พระไม่สันโดษมักน้อย ก็ชี้แจงให้ตามที่ควร แต่จะให้เข้าใจกันทั้งหมดนั้น คงไม่ต้องคิด เพราะมันเป็นไปไม่ได้ สาธุฯ

เลือกจีวรถวายพระอย่างไรให้คุ้มค่า ไม่ผิดพระวินัย
พระสงฆ์ใช้ครองได้จริง
 (ตอน 1 : การสังเกตรอยเย็บ)
 การเย็บจีวร
... จีวร เป็นปัจจัยหรือบริขาร ของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน ๔อย่าง นอกจากคำว่า "จีวร" ยังใช้หมายถึงเฉพาะผ้าห่มของพระสงฆ์อย่างเดียวก็ได้ จีวร ที่ใช้ในความหมายว่าผ้าห่มอย่างเดียว มีชื่อเรียกเฉพาะว่า อุตราสงค์ 
...ปัจจุบันนี้ร้านขายจีวรหลายแห่งเน้นขายราคาถูก แย่งลูกค้ากันโดยมิได้คำนึงถึงพระวินัย รวมทั้งไม่คำนึงว่าพระสงฆ์สามารถนำไปใช้ครองได้จริงหรือไม่ บางครั้งพระสงฆ์ท่านรับมา ท่านมองปุ๊บก็ทราบได้ทันทีว่าจีวรที่โยมนำมาถวายนั้น ใช้ครองไม่ได้จริงเนื่องจากสาเหตุหลาย ๆ ประการ แต่พระท่านก็ไม่บอกกับญาติโยมที่นำมาถวายหรอกว่ามันใช้ครองไม่ได้ เดี๋ยวญาติโยมจะจิตตกเปล่า ๆ ก็คงได้แต่บอกญาติโยมว่าดีแล้วๆ สาธุๆ 
...ลักษณะจีวรส่วนใหญ่ที่พบในท้องตลาดที่เน้นขายราคาถูก
 - ตัดเย็บผิดพระวินัย ใช้ผ้าผืนใหญ่ผืนเดียวแล้วเย็บตะเข็บให้มองดูเหมือนผ้าหลายผืนมาต่อกัน
 - ตัดเย็บไม่ดีใช้ครองไม่กี่ครั้งก็ขาดตามรอยเย็บ
 - เนื้อผ้าบางเกินไป ไม่สามารถใช้นุ่งหุ่มเพื่อปกปิดความละอายได้
 - เนื้อผ้าหยาบกระด้าง ระบายอากาศไม่ดี อมความร้อน ใช้ครองแล้วผิวหนังแพ้เป็นผื่นแดง
 - ขนาดไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากตอนซื้อไม่มีโอกาสได้คลี่ออกดู จึงเป็นช่องทางให้ร้านค้าที่ชอบเอาเปรียบตัดเย็บขนาดไม่เต็มตามที่บอกไว้
 - จีวรเวียน หรือผ้าไตรเวียน หมายถึงไตรจีวร ที่พ่อค้าหรือร้านค้า ไปซื้อมาจากวัดราคาถูกๆ นำมาขายใหม่เวียนไปเรื่อย ๆ (อันนี้ผิดถูกยังไงไม่ขอวิจารณ์) 
...ฉะนั้นเราชาวพุทธ ในเมื่อจะทำบุญใหญ่ทั้งทีก็ควรทำแล้วให้ได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ ผมเองก็ไม่ได้มีความรู้มากมายนัก ก็ขอหยิบเอาบางส่วนบางเรื่องใกล้ ๆ ตัวมาเล่าสู่กันฟังถึงวิธีการเลือกซื้อจีวรแบบง่าย ๆ ในที่นี้จะว่าถึงเรื่องการสังเกตรอยตัดเย็บของจีวร การตัดเย็บ จีวรของพระสงฆ์ ประกอบด้วยผ้าที่ ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมองคือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็ก ๆ ที่เย็บต่อกันนั้นปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ ดังปรากฏข้อความในพระวินัยปิฏก ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกับทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่ง คันนากับคันนา ผ่านตัดกันไปหรือไม่? ...เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่” พระอานนท์ตอบว่า "สามารถ พระพุทธเจ้าข้า"…. จากข้อความที่ว่า "ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน" หมายความว่าตอนตัดเย็บจีวร ต้องเป็นจีวรที่นำผ้าผืนเล็ก ๆ มาเย็บต่อกันให้เป็นผืนใหญ่ แต่สมัยนี้โรงงานหรือร้านจีวรหลายร้าน ใช้ผ้าผืนใหญ่ผืนเดียวเลย แล้วเอามาม้วนพับเย็บให้เป็นรอยตะเข็บ ทำให้ให้เหมือนรอยต่อ อันนี้ถือว่าผิดพระวินัย ถามว่าผู้ถวายได้บุญไหม ถวายด้วยเจตนาบริสุทธิ์ก็ได้บุญ ได้อานิสงค์แห่งการถวายอยู่แล้ว แต่ก็ไม่สมบูรณ์ตามที่ควรจะได้รับ พระสงฆ์ที่เคร่งครัดท่านก็จะไม่นำไปครอง เพราะหากนำไปครองก็ผิดพระวินัย เราผู้ถวายก็มีส่วนทำให้พระสงฆ์ทำผิดพระวินัย การสังเกตรอยต่อว่าตัดเย็บดีหรือไม่ดี การตัดเย็บประณีตหรือเย็บไม่ดี ไม่สวย ไม่ทน ข้อนี้ไม่ถือว่าผิดพระวินัย เพียงแต่เหมือนเราเลือกซื้อเสื้อกางเกงสำหรับสวมใส่หากเราซื้อเสื้อโหลตัด เย็บง่าย ๆ ไม่ประณีต ใส่ไม่กี่ครั้งก็ขาด จีวรก็เช่นกัน เราในฐานะผู้บริโภคเสียเงินเสียทองทั้งที ควรจะเลือกสิ่งที่คุ้มค่า พระสงฆ์ผู้รับก็สามารถนำไปครองได้จริง

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปัญจฐานคาถา

ภารสุตตคาถา

ภารสุตตคาถา

     (หันทะ มะยัง ภาระสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส)             เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงภารสูตรเถิด

      ภารา หะเว ปัญจักขันธา                                     ขันธ์ทั้งห้า เป็นของหนักเน้อ

      ภาระหาโร จะ ปุคคะโล                                      บุคคลแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไป
 
      ภาราทานัง ทุกขัง โลเก                                     การแบกถือของหนักเป็นความทุกข์ในโลก

      ภาระนิกเขปะนัง สุขัง                                        การสลัดของหนักทิ้งลงเสียเป็นความสุข
 
      นิกขิปิต๎วา คะรุง ภารัง                                        พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว
 
      อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ                                      ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก

      สะมูลัง ตัณหัง อัพพุย๎หะ                                     เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก

      นิจฉาโต ปะรินิพพุโต                                         เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนาดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ

ธรรมมุทเทส

 อุปนียติ โลโก โลกคือหมู่สัตว์อันชรานำไป อัทธุโว ไม่ยั่งยืน อตาโนโลโก โลกที่ไม่มีผู้ป้องกัน อนภิสสโร ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน อสโกโลโก โลกไม่มีสิ่งใดเป็นของตน สัพพังปหายคมนียัง จำต้องละในสิ่งทั้งปวง อโนโลโก โลกนี้พร่องอยู่ อติตโตต เป็นผู้ไม่อิ่ม ตัณหาทาโส เป็นทาสแห่งตัณหา

กายคตาสติภาวนา

เม กาโย-กายของเรานี้แล

อุทธัง ปาทะตะลา-เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธเกสะมัตถะกา-เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันโต-มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปุโรนานัปปะการัสสะ อสุจิโน-เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ

อัตถิ อิมัสมิง กาเย-มีอยู่ในกายนี้

เกสา-ผมทั้งหลาย

โลมา-ขนทั้งหลาย

นะขา-เล็บทั้งหลาย

ทันตา-ฟันทั้งหลาย

ตะโจ-หนัง

มังสัง-เนื้อ

นะหารู-เอ็นทั้งหลาย

อัฏฐี-กระดูกทั้งหลาย

อัฏฐิมิญชัง-เยื่อในกระดูก

วักกัง-ม้าม

หะทะยัง-หัวใจ

ยะกะนัง-ตับ

กิโลมะกัง-พังผืด

ปิหะกัง-ไต

ปัปผาสัง-ปอด

อันตัง-ไส้ใหญ่

อันตะคุณัง-สายรัดไส้

อุทะริยัง-อาหารใหม่

กะรีสัง-อาหารเก่า

ปิตตัง-น้ำดี

เสมหัง-น้ำเสลด

เสโท-น้ำเหงื่อ

เมโท-น้ำมันข้น

อัสสุ-น้ำตา

วะสา-น้ำมันเหลว

เขโฬ-น้ำลาย

สิงฆานิกา-น้ำมูก

ละสิกา-น้ำมันไขข้อ

มุตตัง-น้ำมูตร

มัตถะเก มัตถะลังคัง-เยื่อในสมอง

เอวะมะยัง เม กาโย-กายของเรานี้อย่างนี้

อุทธังปาทะตะลา-เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธเกสะมัตถะกา-เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันโต-มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ


ปุโรนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน- เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆอย่างนี้แล

เจริญมรณสติกัมมัฎฐาน

มรณสติกัมมัฎฐาน ...
ตอนที่ว่า ฯลฯ
อะธุวัง โข เม ชีวิตัง, ชีวิตนี้เป็นของไม่ยั่งยืน, ธุวัง มะระณัง เอกังสิกัง, 
ความตายนั้นยั่งยืนโดยส่วนเดียว, อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง, เราพึงตายเป็นแน่แท้,
มะระณะ ปะริโยสานัง เม ชีวิตัง, 
ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ,
มะระณะ ปะฏิพัทธัง เม ชีวิตัง, 
ชีวิตของเราเกี่ยวเนื่องอยู่ด้วยความตาย,
มะระณะธัมโมมหิ, เรามีความตายเป็นธรรมดา, มะระณัง อะนะตีโต, 
จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้,
มะระณัง ภะวิสสะติ, 
ความตายจักต้องมีโดยแท้,
ชีวิตินทฺริยัง อุปัจฉิชชิสสะติ, 
อินทรีย์คือชีวิตจะเข้าไปตัด,
มะระณัง มะระณัง, 
ความตาย ความตาย, เอกังสิกัง. 
เป็นไปโดยส่วนเดียวแน่แท้แล.

พระคาถาธรรมบทบรรยาย


..................ธัมมปริยายคาถา

(หันทะ มะยัง ธัมมะปะริยายะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพเพ สัตตา มะริสสันติ มะระณันตัง หิ ชีวิตัง,

สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจักต้องตาย, เพราะชีวิตนี้มีความตายเป็นที่สุดรอบ,

ชะรังปิ ปัต๎วา มะระณัง เอวัง ธัมมา หิ ปาณิโน,

แม้จะอยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย, เพราะสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอย่างนี้ตามธรรมดา,

ยะมะกัง นามะรูปัญจะ อุโภ อัญโญญะนิสสิตา,

ก็นามและรูปคือกายกับใจ, ย่อมอาศัยกันอยู่เป็นของคู่กัน,

เอกัส๎มิง ภิชชะมานัส๎มิง อุโภ ภิชชันติ ปัจจะยาติ,

เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแตกสลาย, ทั้ง ๒ ฝ่ายก็สลายไปด้วยกัน,

ยะถาปิ อัญญะตะรัง พีชัง เขตเต วุตตัง วิรูหะติ,

เปรียบเหมือนพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง, 
ที่หว่านลงแล้วในพื้นแผ่นดิน ย่อมงอกขึ้นได้,

ปะฐะวีระสัญจะ อาคัมมะ สิเนหัญจะ ตะทูภะยัง,

เพราะอาศัยรสแห่งแผ่นดิน, และเชื้อในยางแห่งพืชนั้นๆ,

เอวัง ขันธา จะ ธาตุโย ฉะ จะ อายะตะนา อิเม,

ขันธ์ทั้ง ๕ และธาตุทั้งหลาย, พร้อมทั้งอาตยนะทั้ง ๖ นี้ก็เหมือนกัน,

เหตุง ปะฏิจจะ สัมภูตา เหตุภังคา นิรุชฌะเร,

อาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้, เมื่อเหตุนั้นแตกสลายก็ย่อมดับไป,

ยะถา หิ อังคะสัมภารา โหติ สัทโท ระโถ อิติ,

เปรียบเหมือนการประกอบชิ้นส่วนของรถเข้าด้วยกัน, คำเรียกว่ารถก็มีขึ้นได้,

เอวัง ขันเธสุ สันเตสุ โหติ สัตโตติ สัมมะติ,

เมื่อขันธ์ทั้ง ๕ ยังมีอยู่ก็เหมือนกัน, คำสมมุติว่าคนและสัตว์ก็มีขึ้นได้,

อุโภ ปุญญัญจะ ปาปัญจะ ยัง มัจโจ กุรุเต อิธะ,

ผู้ทำบุญและบาปใดๆ ในโลกนี้, เมื่อผู้นั้นตายไป

ตัญหิ ตัสสะ สะกัง โหติ ตัญจะ อาทายะ คัจฉะติ,

บุญและบาปนั้นแล ย่อมเป็นของๆ เขาผู้นั้นโดยแท้,
เขาย่อมได้รับบุญและบาปนั้นแน่นอน,

ตัญจัสสะ อะนุคัง โหติ ฉายาวะ อะนุปายินี,

บุญและบาปนั้น ย่อมติดตามเขาไป, เหมือนเงาตามตัวเขาไป ฉันนั้น,

สัทธายะ สีเลนะ จะ โย ปะวัฑฒะติ,

ผู้ใดเจริญด้วยศีลและมีศรัทธา,

ปัญญายะ จาเคนะ สุเตนะ จูภะยัง,

เป็นผู้ฟัง ผู้เสียสละ ผู้มีปัญญา,

โส ตาทิโส สัปปุริโส วิจักขะโน,

บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ เป็นผู้เฉียบแหลมเช่นนั้น,

อาทียะติ สาระมิเธวะ อัตตะโน,

ย่อมเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตน ในโลกนี้ไว้ได้โดยแท้,

อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว,

ความพากเพียรในสิ่งดีงาม เป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้,

นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา,

เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก, ย่อมไม่มีสำหรับเรา,

เอวัมภูเตสุ เปยเตสุ สาธุ ตัตถาชฌุเปกขะนา,

เมื่อสังขารเหล่านั้นต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน,
การวางเฉยในสังขารเสียได้ ย่อมเป็นการดี,

อะปิ เตสัง นิโรธายะ ปะฏิปัตตะยาติ สาธุกา,

อนึ่ง การปฏิบัติเพื่อดับสังขารเสียได้ ยิ่งเป็นการดี,

สัพพัง สัมปาทะนียัญหิ อัปปะมาเทนะ สัพพะทาติ,

กิจทั้งสิ้นนี้จะพึงบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้,
ด้วยความไม่ประมาททุกเมื่อเท่านั้นแล ดังนี้.

อริยสัจจคาถา

อะริยะสัจจะคาถา 
หันทะ มะยัง อะริยะสัจจะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ 
เย ทุกขัง นัปปะชานันติ, ชนเหล่าใด, ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งทุกข์ 
อะโถ ทุกขัสสะ สัมภะวัง, ทั้งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ 
ยัตถะ จะ สัพพะโส ทุกขัง, อะเสสัง อุปะรุชฌะติ, 
ทั้งความทุกข์ย่อมดับไม่เหลือโดยประการทั้งปวง, ในเพราะมรรคใด 

ตัญจะ มัคคัง นะ ปะชานันติ, ทั้งไม่รู้ซึ่งมรรคนั้น 
ทุกขูปะสะมะคามินัง, อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบแห่งทุกข์ 
เจโต วิมุตติหีนา เต, ชนเหล่านั้นเป็นผู้เหินห่างจากเจโตวิมุติ 
อะโถ ปัญญาวิมุตติยา, ทั้งจากปัญญาวิมุติ 
อะภัพพา เต อันตะกิริยายะ, เขาเป็นผู้ไม่พอเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ 
เต เว ชาติชะรูปะคา, เขาต้องเข้าถึงซึ่งชาติและชราแน่แท้ 
เย จะ ทุกขัง ปะชานันติ, ฝ่ายชนเหล่าใด, รู้ทั่วถึงซึ่งทุกข์ได้ 
อะโถ ทุกขัสสะ สัมภะวัง, ทั้งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ 
ยัตถะ จะ สัพพะโส ทุกขัง อะเสสัง อุปะรุชฌะติ, 
ทั้งความทุกข์ย่อมดับไม่เหลือด้วยประการทั้งปวง, ในเพราะมรรคใด 

ตัญจะ มัคคัง นะ ปะชานันติ, ทั้งรู้ทั่วถึงซึ่งมรรคนั้น 
ทุกขูปะสะมะคามินัง, อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบแห่งทุกข์ 
เจโต วิมุตติสัมปันนา, ชนเหล่านั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเจโตวิมุติ 
อะโถ ปัญญาวิมุตติยา, ทั้งด้วยปัญญาวิมุติ 
ภัพพา เต อันตะกิริยายะ, เขาเพียงพอเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ 
นะ เต ชาติชะรูปะคาติ. เขาไม่ต้องเข้าถึงซึ่งชาติและชรา ฉะนี้แล.

ตายนคาถา

บทสวดแปล ตายนสูตร

( หันทะ มะยัง ตายะนะสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส) 
ฉินทะ โสตัง ปะรักกัมมะ กาเม ปะนูทะ พ๎ราห๎มะณะ ,
-ท่านทั้งหลายจงพยายามตัดตัณหาอันเป็นดังกระแสน้ำ ,
จงบรรเทากามทั้งหลายเสียเถิด ,

นัปปะหายะ มุนิ กาเม เนกัตตะมุปะปัชชะติ ,
-มุนีละกามทั้งหลายไม่ได้แล้ว ย่อมเป็นอยู่ผู้เดียวไม่ได้ ,

กะยิรา เจ กะยิราเถนัง ทัฬหะเมนัง ปะรักกะเม ,
-ถ้าบุคคลจะทำอะไรก็ทำเถิด แต่จงทำกิจนั้นให้จริงๆ ,

สิถิโล หิ ปะริพพาโช ภิยโย อากิระเต ระชัง ,
-เพราะว่าการบวชที่ย่อหย่อนย่อมไม่เกิดผล , ยิ่งโปรยโทษดุจธุลี ,

อะกะตัง ทุกกะฏัง เสยโย ปัจฉา ตัปปะติ ทุกกะฏัง ,
-ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะว่าความชั่วทำให้เดือดร้อนในภายหลัง ,

กะตัญจะ สุกะตัง เสยโย ยัง กัต๎วา นานุตัปปะติ ,
-บุคคลควรทำแต่ความดี เพราะทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง ,

กุโส ยะถา ทุคคะหิโต หัตถะเมวานุกันตะติ ,
-หญ้าคาที่บุคคลจะถอนแล้ว จับไม่ดี , ย่อมบาดมือผู้จับ ฉันใด ,

สามัญญัง ทุปปะรามัฏฐัง นิระยายูปะกัฑฒะติ ,
-การบวชถ้าปฏิบัติไม่ดีและย่อหย่อน ย่อมถูกฉุดไปนรกได้ ฉันนั้น ,

ยังกิญจิ สิถิลัง กัมมัง สังกิลิฏฐัญจะ ยัง วะตัง ,
-การงานสิ่งใดที่ย่อหย่อน และการปฏิบัติใดที่เศร้าหมอง ,

สังกัสสะรัง พ๎รัห๎มะจะริยัง นะ ตัง โหติ มะหัปผะลันติ ,
-การประพฤติพรหมจรรย์ของผู้ใด ที่ระลึกขึ้นมาแล้วรังเกียจตนเอง ,
การกระทำเหล่านั้นย่อมเป็นของไม่มีผลมาก ดังนี้. 

สีลุทเทสปาฐะ

สีลุทเทสปาฐะ

(นำ) หันทะ มะยัง  สีลุทเทสะปาฐัง  ภะณามะ  เส.
(รับ) ภาสิตะมิทัง  เตนะ  ภะคะวะตา  ชานะตา  ปัสสะตา  อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ
        พระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้เห็น เป็นพระอรหันต์  ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ได้ตรัสคำนี้ไว้แล้วว่า,
สัมปันนะสีลา  ภิกขะเว  วิหะระถะ  สัมปันนะปาฏิโมกขา,
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์  มีพระปาติโมกข์สมบูรณ์,
ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุตา วิหะระถะ อาจาระโคจะระสัมปันนา
        จงเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์, สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร, คือมรรยาทและสถานที่ควรเที่ยวไป,
อะณุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี สะมาทายะ สิกขะถะ สิกขาปะเทสูติ,
        จงเป็นผู้มีปรกติเห็นความน่ากลัว, ในโทษแม้เพียงเล็กน้อย, สมาทานศึกษาสำเหนียกในสิกขาบททั้งหลายเถิด, 
ตัส๎มาติหัม๎เหหิ  สิกขิตัพพัง,
        เพราะเหตุนั้นแล, เราทั้งหลายพึงทำความศึกษาสำเหนียกว่า
สัมปันนะสีลา วิหะริสสามะ สัมปันนะปาฏิโมกขา,
        จักเป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ มีพระปาฏิโมกข์สมบูรณ์
ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุตา วิหะริสสามะ อาจาระโคจะระสัมปันนา,
        เราจักเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์, สมบูรณ์ด้วย อาจาระและโคจร, คือมารยาทและสถานที่ควรเที่ยวไป,
อะนุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี สะมาทายะ สิกขิสสามะ สิกขาปะเทสูติ,
        จักเป็นผู้มีปรกติเห็นความน่ากลัวในโทษแม้เพียงเล็กน้อย, สมาทาน  ศึกษา สำเหนียก ในสิกขาบททั้งหลาย,
เอวัญหิ โน สิกขิตัพพัง.
        เราทั้งหลาย, พึงทำความศึกษาสำเหนียกอย่างนี้แล.

-----------------------

ทศธรรม

(นำ) หันทะ  มะยัง  ทะสะธัมมะสุตตะคาถาโย  ภะณามะ  เส.
เชิญเถิด  เราทั้งหลาย, จงกล่าวคาถาพิจารณาทศธรรม ๑๐ ประการเถิด
(รับ) ทะสะ  อิเม  ภิกขะเว  ธัมมา  ปัพพะชิเตนะ  อะภิณ๎หัง  ปัจจะเวกขิตัพพัง,
        ธรรมของผู้บวชในพระศาสนา,  ควรพิจารณาทุกวันๆ ๑๐ อย่างนี้ คือ,
เววัณณิยัม๎หิ   อัชฌูปะคะโตติ,
        บัดนี้,  เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว,  อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ, เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ,
ปะระปะฏิพัทธา  เม  ชีวิกาติ,
        การเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น,  เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย,
อัญโญ  เม  อากัปโป  กะระณีโยติ,
        อาการกายวาจาอย่างอื่น,ที่เราจักต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอีก, มิใช่เพียงเท่านี้,
กัจจิ นุ โข  เม  อัตตา,  สีละโต  นะ  อุปะวะทะตีติ,
        ตัวเราเอง  ติเตียนตัวเราเอง  โดยศีลได้หรือไม่,
กัจจิ นุ โข  มัง  อะนุวิจจะ  วิญญู  สะพ๎รัห๎มะจารี,  สีละโต  นะ  อุปะวะทันตีติ
        ท่านผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว,  ติเตียนเรา  โดยศีลได้หรือไม่,
สัพเพหิ  เม  ปิเยหิ  มะนาเปหิ  นานาภาโว  วินาภาโวติ,
        เราจักเป็นต่างๆ คือว่า,   เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นไป,
กัมมัสสะโกม๎หิ  กัมมะทายาโท  กัมมะโยนิ  กัมมะพันธุ  กัมมะปะฏิสะระโณ,     ยัง  กัมมัง กะริสสามิ, กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา, ตัสสะ ทายาโท,  ภะวิสสามีติ ฯ
        เรามีกรรมเป็นของๆ ตน,  เราเป็นผู้รับผลของกรรม,  เรามีกรรมเป็นกำเนิด,  เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย,  เราจักทำกรรมอันใดไว้, ดีหรือชั่วก็ตาม, เราจักต้องเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้นๆ,
กะถัมภูตัสสะ  เม  รัตตินทิวา  วีติปะตันติ,      วันคืนล่วงไปๆ  บัดนี้เราทำอะไรอยู่,
กัจจิ นุ โขหัง  สุญญาคาเร   อะภิระมามีติ,      เรายินดีในที่สงัดหรือไม่,
กัจจิ นุ โข   เม   อุตตะริมะนุสสะธัมมา,   อะละมะริยะญาณะทัสสะนะวิเสโส อะธิคะโต  โสหัง   ปัจฉิเม   กาเล   สะพ๎รัห๎มะจารีหิ   ปุฏโฐ   นะ  มังกุ  ภะวิสสามีติ,
        คุณธรรมอันวิเศษ  โลกุตตระกุศล,  เกิดมีในตนหรือไม่,  ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน,  ในเวลาเพื่อนบรรพชิตถาม   ในกาลภายหลัง,
อิเม  โข  ภิกขะเว  ทะสะธัมมา,          ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมสิบประการนี้,
อะภิณ๎หัง  ปัจจะเวกขิตัพพาติ,           ควรพิจารณาทุกวันๆ อย่าได้ประมาท ดังนี้แล.

สมณสัญญา ๑๐ ประการ

ติสโส ภิกขะเว สะมะณะสัญญา ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, สมณะสัญญาสามประการ, อันบรรพชิตกระทำให้มากแล้ว,

สัตตะ ธัมเม ปะริปูเรนติ,
ย่อมกระทำธรรมะทั้งเจ็ดประการให้บริบูรณ์ได้,

กะตะมา ติสโส,
สมณะสัญญาสามประการคืออะไรบ้าง,

เววัณณิยัมหิ อัชฌูปะคะโต,
บัดนี้เรามีเพศแตกต่างจากคฤหัสถ์แล้ว, อาการกิริยาใดๆของสมณะ, เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ,

ปะระปะฏิพัทธาเม ชีวิกา,
ความเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น, เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย,

อัญโญ เม อากัปโป กะระณีโย,
อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่, มิใช่เพียงเท่านี้,

อิเม โข ภิกขะเว ติสโส สะมะณะสัญญา ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, สมณะสัญญาสามประการเหล่านี้แล, อันบรรพชิตกระทำให้มากแล้ว,

สัตตะ ธัมเม ปะริปูเรนติ,
ย่อมกระทำธรรมะทั้งเจ็ดประการให้บริบูรณ์ได้,

กะตะเม สัตตะ,
ธรรมะเจ็ดประการคืออะไรบ้าง,

นิจจัง สัตตะการี โหติ สัตตะวุตตี สีเลสุ,
คือเป็นผู้มีปกติประพฤติในศีลด้วยธรรมสม่ำเสมอป็นนิจ,

อะนิภิชฌาลุ โหติ,
เป็นผู้มีปกติไม่เพ่งเล็งสิ่งใด,

อัพฺยาปัชโฌ โหติ,
เป็นผู้ไม่เบียดเบียนใคร,

อะนะตีมานี โหติ
เป็นผู้ไม่ดูหมิ่นอื่น,

สิกขากาโม โหติ,
เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา,

อิจจัตถันติสสะโหติ ชีวิตะปะริกขาเรสุ,
เป็นผู้มีความพิจารณาให้เห็นประโยชน์ในบริขารเครื่องเลี้ยงชีวต,

อารัทธะวิริโย วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่,

อิเม โข ภิกขะเว ติสโส สะมะณะสัญญา ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, สมณะสัญญาสามประการเหล่านี้แล, อันบรรพชิตกระทำให้มากแล้ว,

อิเม สัตตะ ธัมเม ปะริปูเรนตีติ.
ย่อมกระทำธรรมะทั้งเจ็ดประการเหล่านี้ให้บริบูรณ์ได้, ฉะนี้แล.

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

กรณียสุตตคาถา

๑. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ . . . . . . . ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ . . . . . . . . . . . . สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี

กิจ ที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำ ก็คือ เป็นคนกล้า, เป็นคนซื่อ, เป็นคนตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่เย่อหยิ่ง


๒. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ . . . . . . . .อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ . . . . . . . . อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ

เป็นผู้สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีภาระกิจน้อย, คล่องตัว, ระมัดระวังการแสดงออก, รู้ตัว, ไม่คะนอง, ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย


๓. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ . . . . . เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ . . . . . . . . . . . . สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้, พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด

อารักขกัมมัฎฐาน

อารักขกัมมัฏฐาน
พุทธานุสสะติ  เมตตา  จะ,  อะสุภังภาวนาทั้ง  ๔  นี้,  คือพุทธานุสสะติ ระลึกถึงพระ
มะระณัสสะติ,  อิจจิมา  จะตุรารักขา,  พุทธเจ้า,  เมตตา  ปรารถนาให้เป็นสุข,  อะสุภะ,
กาตัพพา  จะ  วิปัสสะนา,พิจารณากายให้เห็นเป็นของไม่งาม,  มะระณะสติ,
ระลึกถึงความตาย,  ชื่อว่าจตุรารักข์  และวิปัสสนา
อันพึงบำเพ็ญ,
วิสุทธะธัมมะสันตาโน,  อะนุตตะรายะพระพุทธเจ้ามีพระสันดานอันบริบูรณ์ด้วยพระ
โพธิยา,  โยคะโต  จะ  ปะโพธา  จะ,ธรรมอันบริสุทธิ์, อันสัตว์โลกรู้อยู่ว่าพุทโธๆ ดังนี้
พุทโธ  พุทโธติ  ญายะเต,เพราะพระปัญญาตรัสรู้อย่างเยี่ยม,  เพราะทรงชัก
โยงหมู่สัตว์ไว้ในธรรมปฏิบัติ,  และเพราะทรง
ปลุกใจหมู่สัตว์ให้ตื่นอยู่
นะรานะระติรัจฉานะ  เภทา  สัตตาสัตว์ทั้งหลาย, ต่างโดยมนุษย์  อมนุษย์ และ
สุเขสิโน,  สัพเพปิ  สุขิโน  โหนตุ,ดิรัจฉาน,  เป็นผู้แสวงหาความสุข,  ขอให้สัตว์
สุขิตัตตา  จะเขมิโน,เหล่านั้นแม้ทั้งสิ้น,  จงเป็นผู้ถึงซึ่งความสุข,  และ
เป็นผู้เกษมสำราญ  เพราะถึงซึ่งความสุขเถิด,
เกสะ  โลมาทิฉะวานัง  อะยะเมวะกายนี้แล  เป็นที่ประชุมแห่งซากศพ  มีผมขน
สะมุสสะโย,  กาโย  สัพโพปิ  เชคุจโฉเป็นต้น,  แม้ทั้งสิ้น,  เป็นของน่าเบื่อหน่าย,  เป็น
วัณณาทิโต  ปะฏิกกุโล,ปฏิกกูลโดยส่วน  มีสี  เป็นต้น,
ชีวิตินทริยุปัจเฉทะ  สังขาตะมะระณัง  สิยา,ความตาย,  กล่าวคือความแตกขาดแห่งชีวิต
สัพเพ  สังปิธะ  ปาณีนัง  ตัณหิ  ธุวัง  นะอินทรีย์  พึงมีแด่สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้แม้ทั้งสิ้น,
ชีวิตัง.เพราะว่าความตายเป็นของเที่ยง  ชีวิตความเป็น
อยู่เป็นของไม่เที่ยงแล ฯ


โอวาทะปาฏิโมกข์คาถา

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา, 
-ขันติ  คือความอดกลั้น  เป็นตบะอย่างยิ่ง,

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา, 
-พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน  เป็นบรมธรรม, 

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี, 
-ผู้ทำร้ายคนอื่น  ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต, 

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต, 
-ผู้เบียดเบียนคนอื่น  ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

สัพพะปาปัสสะ  อะกะระณัง  
-การไม่ทำชั่วทั้งปวง  
กุสะลัสสูปะสัมปะทา 
-การบำเพ็ญแต่ความดี  
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง  
-การทำจิตของตนให้ผ่องใส  
เอตัง  พุทธานะ  สาสะนัง. 
-นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  
อะนูปะวาโท  อะนูปะฆาโต  
-การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย    
ปาติโมกเข  จะ  สังวะโร 
-ความสำรวมในปาฏิโมกข์   
มัตตัญญุตา  จะ  ภัตตัส๎มิง  
-ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร   
ปันตัญจะ  สะยะนาสะนัง 
-ที่นั่งนอนอันสงัด   
อะธิจิตเต  จะ  อาโยโค 
-ความเพียรในอธิจิต  
เอตัง  พุทธานะ  สาสะนันติ. 
-นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

สมณสัญญา

สมณสัญญา
(หันทะ มะยัง สะมะณะสัญญาปาฐัง ภะณามะ เส) 
สะมะณา สะมะณาติ โว ภิกขะเว ชะโน สัญชานาติ , - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อมรู้จักพวกเธอว่า สมณะๆ 
ตุมเห จะปะนะ เก ตุมเหหิ ปุฏฐา สะมานา , - ก็แหละพวกเธอ เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นอะไร 
สะมะณัมหาติ ปะฏิชานาถะ , - ก็ปฏิญญาว่า พวกเราเป็นสมณะ 
เตสัง โว ภิกขะเว เอวัง สะมัญญานัง สะตัง , เอวัง ปฏิญญานัง สะตัง , - ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอนั้น มีชื่ออย่างนี้ มีปฏิญญาอย่างนี้ 
ยา สะมะณะสามีจิปะฏิปะทา , - จึงควรศึกษาอยู่ว่า ข้อปฏิบัติที่ดียิ่งของสมณะ อันใดมีอยู่ 
ตัง ปะฏิปะทัง ปะฏิปัชชิสสามะ , - เราทั้งหลาย จะปฏิบัติข้อปฏิบัติอันนั้น 
เอวันโน ,
- เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้
อะยัง อัมหากัง สะมัญญา จะ สัจจา ภะวิสสะติ ปะฏิญญาจะ ภูตา , - ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเรา ก็จักเป็นความจริงแท้ 
เยสัญจะ มะยัง จีวะระ ปิณฑะปาตะ เสนาสนะ คิลานะ
ปัจจะยะเภสัชชะปริกขาเร ปะริภุญชามะ
 , - ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของทายกเหล่าใด 
เตสัง เต การา อัมเหสุ มะหัปผะลา ภะวิสสันติ มะหานิสังสา , - ปัจจัยทั้งหลายนั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา 
อัมหากัญเจวายัง ปัพพัชชา อะวัญฌา ภะวิสสะติ , - อนึ่ง การบรรพชาของเราก็จักไม่เป็นหมันเปล่า , 
สะผะลา สะอุทฺระยาติ , - จักมีผล มีความเจริญ . 
เอวัง หิ โว ภิกขะเว สิกขิตัพพัง.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย , เธอทั้งหลายพึงศึกษาสำเหนียกอย่างนี้แล. 

จูฬอัสสปุรสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย ) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๕๙ หัวข้อที่ ๔๗๙

มิตตามิตตคาถา

มิตตามิตตคาถา

           อัญญะทัตถุหโร  มิตโต,  มิตรปอกลอกนำไปถ่ายเดียว,   โย  จ  มิต

โต  วจีปะระโม,  มิตรใด,  มีวาจาปราศรัยเป็นอย่างยิ่ง,  อะนุปปิยัญจะ  โย

อาหุ,   มิตรใด,  กล่าวคำประจบ,  อะปาเยสุ  จะ  โย  สะขา,  มิตรใด,  เป็น

เพื่อนในความฉิบหาย,   เอเต   อะมิตเต  จัตตาโร อิติ  วิญญายะ  ปัณฑิโต,

บัณฑิตพิจารณาเห็นว่า,  ทั้ง  ๔  จำพวกนี้มิใช้มิตรแล้ว,  อาระกาปริวัชเชย

ยะ,  พึงหลีกเลี่ยงเสียให้ห่างไกล,  มัคคัง  ปฎิภะยังยะถา,  เหมือคนเดิน

ทาง,  เว้นทางอันมีภัยเสียฉะนั้น,  อุปะกาโร  จะ  โย  มิตโต,    มิตรใด,  มี

อุปการะ,  สุขะทุกโข  จะ  โย  สะขา,  เพื่อนใด,  ร่วมสุขร่วมทุกข์กันได้,  อัต

ถักขาขี  จะ  โย  มิตโต,  มิตรใด,  มีปกติบอกประโยชน์ให้,  โย จะ  มิตตานุ

กัมปะโก,  และมิตรใด,  เป็นผู้อนุเคราะห์เอ็นดูซึ่งมิตร,  เอเตปิ มิตเต  จัตตา

โร  อิติ  วิญญายะ  ปัณฑิโต,  บัณฑิตพิจารณาเห็นว่า,  ทั้ง  ๔  จำพวกนี้เป็น

มิตรจริงแล้ว,   สักกัจจัง  ปะยิรุปาเสยยะ,  พึงเข้าไปคบหาโดยเคารพ,

มาตา ปุตตังวะ  โอระสัง,  ให้เหมือนมารดากับบุตรอันเป็นโอรส ฉะนั้น ฯ

                                                                                     ที.  ปา.  ๒๐๑ - ๒๐๒

คารวกถา

คารวกคาถา 
สัตถุคะรุ ธัมมัคะรุ สังเฆ จะ ติพพะคาระโว 
ผู้เคารพหนักแน่นในพระศาสดา,ผู้เคารพหนักแน่นในพระธรรม,และผู้ที่เคารพหนักแน่นในพระสงฆ์,
สมาธิคะรุ อาตาปิ สิกขายะ ติพพะคารพโว,
ผู้มีความเพียรหนักแน่นในสมาธิ,ผู้มีความเพียรหนักแน่นในไตรสิกขา,
อัปปะมาทะคะรุ ภิกขุ ปะฏิสันถาระคาระโว,
ผู้เห็นภัยหนักแน่นในความไม่ประมาท,มีความเคารพในการปฏิสันถาร,
อะภัพโพ ปะริหานายะ นิพพานัสเสวะ สันติเก.
เป็นผู้ไม่เสื่อมถอย ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานโดยแท้แล.

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

ธรรมะจาก facebook


กาลามสูตร มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
...
1.มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
อย่างนี้เช่น การเรียนเวทย์มนต์จะมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดขึ้น จะต้องสอบสวนข้อมูลก่อน เพราะบ้างก็แต่งเติมไปมากฯ

2.มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
คนทุกวันนี้ถือประเพณีจนลืมข้อวินัยที่ควรปฏิบัติต่อพระสงฆ์ไปหลายอย่างฯ

3.มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
ข่าวลือ ไม่ได้กรอง ก็ย่อมเป็นผลเสีย

4.มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
แม้จะยกพระไตรปิฎกมาทั้งตู้ หากเราต้องการรู้จริง จะต้องปฏิบัติเองให้เห็นผล จึงจะรู้เอง

5.มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน
เช่น เราต้มฟักให้สุกได้ คิดว่าปลูกฟักอยู่พอมันออกผล จะเอาน้ำร้อนๆไปรดให้มันสุกเร็วๆ

6.มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน
เช่นปีนี้ฝนจะมากน้ำจะท่วม ก็เร่งปล่อยน้ำในเขื่อนให้หมดก่อน

7.มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น
ถ้าเห็นข่าวพระเสื่อม พอเห็นพระที่ไหน ก็ว่าเสื่อมไ ปหมด

8.มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
แรงโน้มถ่วงของโลก ก็อาจพลิกได้เสมอๆ เช่นเนินพิศวง.

9.มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ
ปัจจุบันนี้ชอบกันจัง เช่นพระภิกษุถีบพระพุทธรูป คนก็ยังชื่นชม เป็นต้น และอีกหลายๆสำนักฯ ที่คารมดีๆ

10.มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา
อันนี้ละเอียด เช่นอุปัชฌาย์ อาจารย์ เราต้องเคารพ แต่ถ้าท่านปฏิบัติผิด เราทราบว่าผิด ก็ไม่พึงทำตาม เช่นพระสารีบุตร ออกจากอาจารย์สัญชัยปริพาชกเป็นต้นฯ

====<<<《《《||》》》>>>====

เมื่อไม่นานมานี้ราว 4-5 ปีที่ผ่านมา มีข่าวของพระที่วิปลาส ถีบพระพุทธรูปออกข่าวดัง!
ขณะนั้นอาตมาเห็นข่าว ก็มิได้ขุ่นเคืองที่จะต้องไปว่าเขาให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามใจเรา แต่ก็รู้ว่านั่นทำผิด ใครถามก็ว่าผิด! และให้ความเห็นแต่เพียง เขาผิดก็ต้องไปทางของเขา กรรมของเขา เท่านั้น..
สุดท้าย สิ่งเป็นธรรมก็ย่อมแสดงตัว เพราะเรากราบไหว้ตัวแทนพระพุทธเจ้า มิได้งมงายอย่างกราบเทวรูป แล้วขอให้เรามีแต่สุขสมหวัง..
อาตมากราบพระพุทธรูป ก็ขอให้เห็นจริงในธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ จะได้พ้นๆตามพระองค์ให้ไวๆสักที!
ก็มิใช่แต่อาตมาเท่านั้น ที่เคารพ.. มาดูหลักฐานคำเทศนาชองหลวงตามหาบัว เมื่อ 1 ม.ค. 2519 ดังนี้
....
เมื่อธรรมชาตินี้จริงขึ้นมาล้วนๆ ที่ใจแล้ว ตำราธรรมของพระพุทธเจ้า แม้ที่เขียนเป็นเศษกระดาษซึ่งตกอยู่ตามถนนหนทางยังไม่กล้าเหยียบย่ำ เพราะนั่นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เหยียบไม่ลง เพราะลงได้เคารพหลักใหญ่แล้ว ปลีกย่อยก็เคารพไปหมด พระพุทธรูปก็ตาม จะเป็นอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับ “พุทธ ธรรม สงฆ์” แล้ว กราบอย่างถึงใจเพราะเชื่อหลักใหญ่แล้ว
        หลักใหญ่คืออะไร? คือหัวใจเราถึงความบริสุทธิ์ เพราะอำนาจแห่งธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องชี้แจงแสดงบอกแนวทางให้รู้ทั้งเหตุและผล จึงเคารพไปหมด ดังท่านอาจารย์มั่นเป็นตัวอย่างในสมัยปัจจุบัน
         ในห้องนอนใดที่ถูกนิมนต์ไปพัก ถ้ามีหนังสือธรรมะอยู่ต่ำกว่าท่าน ท่านจะไม่ยอมนอนในห้องนั้นเลย ท่านจะยกหนังสือนั้นไว้ให้สูงกว่าศีรษะท่านเสมอ ท่านจึงยอมนอน
         “นี่ธรรมของพระพุทธเจ้า เราอยู่ด้วยธรรม กินด้วยธรรม เป็นตายเรามอบกับธรรม ปฏิบัติได้รู้ได้เห็นมากน้อยเพราะธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น เราจะเหยียบย่ำทำลายได้อย่างไร! ท่านว่า “เอาธรรมมาอยู่ต่ำกว่าเราได้อย่างไร!” ท่านไม่ยอมนอน ยกตัวอย่างที่ท่านมาพักวัดสาลวันเป็นต้น ในห้องนั้นมีหนังสือธรรมอยู่ ท่านไม่ยอมนอน ให้ขนหนังสือขึ้นไว้ที่สูงหมด นี่แหละ! ลงเคารพละต้องถึงใจทุกอย่าง” เพราะธรรมถึงใจ
         ความเคารพ ไม่ว่าจะฝ่ายสมมุติไม่ว่าอะไรท่านเคารพอย่างถึงใจ ถึงเรียกว่า “สุดยอด” กราบพระพุทธรูปก็สนิท ไม่มีใครที่จะกราบสวยงามแนบสนิทยิ่งกว่าท่านอาจารย์มั่นในสมัยปัจจุบันนี้ เห็นประจักษ์ด้วยตากับใจเราเอง ความเคารพในอรรถในธรรมก็เช่นเดียวกัน แม้แต่รูปพระกัจจายนะ ที่อยู่ในซองยาพระกัจจายนะ พอท่านได้มา “โอ้โห ! พระกัจจายนะเป็นสาวกของพระพุทธเจ้านี่! ท่านรีบเทยาออก เอารูปเหน็บไว้เหนือที่นอนท่าน ท่านกราบ “นี่องค์พระสาวก นี่รูปของท่าน” นั่น! “มีความหมายแค่ไหนพระกัจจายนะ จะมาทำเป็นเล่นอย่างนี้ได้เหรอ?” แน่ะ! ฟังดูซิ
         นี่แหละเมื่อถึงใจแล้ว ถึงทุกอย่าง เคารพทุกอย่าง บรรดาสิ่งที่ควรเป็นของเคารพท่านเคารพจริง นั่น ท่านไม่ได้เล่นเหมือนปุถุชนคนหนาหรอก เหยียบโน่นเหยียบนี่เหมือนอย่างพวกเราทั้งหลาย เพราะไม่รู้นี่ คอยลูบๆ คลำๆ งูๆ ปลาๆ ไปในลักษณะของคนตาบอดนั้นแล ถ้าคนตาดีแล้วไม่เหยียบ อันไหนจะเป็นขวากเป็นหนามไม่ยอมเหยียบ สิ่งใดที่จะเป็นโทษเป็นภัยขาดความเคารพ ท่านไม่ยอมทำ นักปราชญ์ท่านเป็นอย่างนั้น ไม่เหมือนคนตาบอดเหยียบดะไปเลย โดยไม่คำนึงว่าควรหรือไม่ควร (เสียงเครื่องบินดังไม่หยุด ท่านเลยหยุดเทศน์)

~~~~~~~~~
ชีวิตยังมีอยู่.. จิตวิญญาณและสังขารก็ต้องมี..
เมื่อชีวิตมี ความเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนไป ก็มีอยู่ตลอดเวลา..
เหมือนมีรถ มีล้อ ล้อก็หมุนทุกครั้งที่รถวิ่ง.. เราอยู่บนรถ อาจดูเหมือนว่าทุกอย่างบนรถมันคงเดิม.. แต่ล้อกำลังทำงาน ข้างทางก็เปลี่ยน.. ระยะทางจากจุดเริ่มต้นก็ไกลออกไปๆ จุดมุ่งหมายก็ใกล้เข้ามา..
ยางเป็นส่วนที่เราต้องเปลี่ยนอยู่บ่อย ถ้าเราสังเกตุ เพราะเหมือนเท้า เหมือนขา เมื่อเดินหรือวิ่งบ่อยๆก็เจ็บ ก็ล้า!
...
ธรรมนี้ ใครเห็นอนิจจะสัจจะธรรมบ้าง?
ใครเห็นทุกขะสัจจะธรรมบ้าง?
ใครเห็นอนัตตะสัจจะธรรมบ้าง?
...
ทุกครั้งที่ล้อหมุน... นั่นคือความเปลี่ยนแปลง!
การที่ล้อหมุน พลังงานที่บีบครั้นให้เคลื่อน คือทุกข์ ทำหน้าที่ให้ทนต่อสภาพเดิมไม่ได้!
การที่ล้อหมุนออกจากจุดเริ่มต้นๆก็เปลี่ยนไปจนลับตา
จุดเริ่มต้นที่หายไปแล้ว คืออนัตตา หมดจากความเป็นตัวตนไปแล้ว กลายเป็นอดีตที่ไม่มีในปัจจุบัน!
...
ขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์ เราไปยึดก็ทุกข์ ปล่อยวางที่ใจ ใช้มันตามสมมุติ อย่าไปปล่อยวางแบบควาย! ไม่รับผิดชอบอะไร..
ทุกอย่างแสดงสภาพไตรลักษณ์อยู่ตลอด.. ถ้ามีปัญญาฯ

~~~~===~~~~

จิตตก..
นักปฏิบัติ. คงต้องเคยผ่านอาการนี้!
เพราะกิเลสมันคอยรบกวนอยู่อย่างนี้เป็นปกติ..จิตมันจึงตกลงไปหาสิ่งเศร้าหมอง..
คนที่ชอบเก็บกด พอสิ่งภายนอกเข้ามากระทบ มีสติตามไม่ทัน..
จิตมันจะคอยหลบเข้าไปที่เคยซุกเคยซ่อน.. เข้าไปเก็บตัว!
คิดว่ามันจะสงบหรือ?
มันไปซ่อนกับกิเลส จิตมันจะเอาอะไรไปสงบ?
ถ้าจะหลบผู้คนแล้วไปนั่งสมาธิ ให้จิตได้พักจะดีกว่า.. พักเอากำลังก่อน แล้วจึงออกมาพิจารณาสิ่งที่ถูกกระทบ อย่างนี้เรียกว่า..สะสาง!
ฝึกใหม่เสียเน้อ! ผู้ที่เก็บกด เก็บตัว แต่จิตผัวพันกับกิเลสไม่ได้พักได้ผ่อนน่ะ---

~~~~===~~~~

ธรรมดาของคน.. คือ อยู่นิ่ง อยู่เฉยไม่ได้.. แม้แต่คนที่ชอบพูดว่า "อยากอยู่เฉยๆ!"
เพราะจะให้อยู่เฉยๆได้อย่างไร? จะนั่งอยู่, จะนอนอยู่ ก็ต้องหายใจ แล้วเดี๋ยวก็หิว เดี๋ยวก็ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง ฟังวิทยุ ฯลฯ สารพัดที่คนอยากอยู่เฉยๆจะทำ...
พอไปดูคนป่วยที่เขาให้นอนพัก ก็นอนนิ่งๆ แต่ภายนอก ถ้าเข้าไปในใจได้ โอย! จะเห็นความวุ่นวายอยู่ไม่สุข สารพัดเรื่อง...
เช่นกัน.. พระอรหันต์ ยามมีสังขารร่างกาย มีความคิด มีลมหายใจ ถึงจะอยู่ผู้เดียว จะอยู่นิ่งจริงๆ ต้องเข้าฌานสมาบัติ ดับสัญญาเวทนา นั่นแหละถึงเรียกว่าอยู่นิ่งจริงๆ หากออกจากฌานแล้ว มันก็ไม่นิ่ง...
แต่ความต่างกันของคนปุถุชนกับพระอรหันต์อยู่ตรงไหน?
อยู่ตรงที่จิตใจ.. ที่ขาดจากอำนาจของตัณหาแล้วทั้งปวง จึงไม่หลงไปอยาก ไปยึด ไปปรุง ไปแต่ง หรือ สำคัญมั่นหมายอะไรๆ ให้วุ่นวาย..
จึงเป็นความสงบ ที่อยู่ภายใน ส่วนภายนอกก็ขยับเขยื่อนเคลื่อนไหวไปตามแต่เหตุอันควร เพราะมีสติปัญญาอันครอบคลุมอย่างสมบูรณ์แล้ว..
แต่อย่างเราๆแล้ว หลับก็เพ้อฝัน กลางวันก็เพ้อเจ้อ ละเมอไปตามอยาก.. จึงทุกข์ยากอยู่ร่ำไป!
ดูให้ดีๆเถิดเราเป็นอย่างนี้ไหม? สิ่งไหนไม่มี ก็อยากมี อยากได้ ได้แล้ว ก็อยากเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร แต่อยากอวดให้คนอื่นรู้ว่ามี.. พอนานเข้ากลับเบื่อ ก็อยากอีก คืออยากเอาไปให้พ้นๆ
สรุปให้ดูอย่างเห็นๆเลยว่า เราทุกข์ เพราะดิ้นรนไปตามความอยาก เช่น ตอนที่ยังหนุ่มยังสาว ก็อยากมีใครมาครอบครองหรือให้มาปกป้อง
คือบางคนชอบเถียงว่า ไม่ได้คิดอยากได้แต่ตกกระไดพลอยโจนไปกับเขา อย่างนี้ ไม่ได้อยากได้เพราะรัก แต่ลองทบทวนดูเถอะ ตัณหามี ๓ อย่างคือ
กามตัณหา, ภวตัณหา และ วิภวตัณหา
ถึงจะคิดว่าตัวมีครอบครัวแต่ไม่ได้อยากมี จริงๆแล้วปุถุชนย่อมมีความอยากเป็นพื้นฐานของจิตใจทุกดวง แต่อาจมิได้อยากมีเพราะกามตัณหา แต่กลัวภัยที่จะเกิดขึ้น ก็เป็นวิภวตัณหา หรือคิดว่า มีแล้วจะได้มีคนดูแลเรา พ่อแม่จะได้ไม่ต้องเป็นห่วง อย่างนี้ เป็นภวตัณหา เพราะอยากด้วยความยึดในประเพณีบ้าง อยากให้ถูกตามธรรมเนียมบ้าง ก็อยากอยู่ดี!
ดังนั้น..คนบนโลกนี้จึงได้รับทุกข์อยู่อย่างถ้วนหน้า จะพ้นได้ ก็ต้องมาศึกษาคำสอนในพุทธศาสนาให้ชัดเจนก่อน คือ ไม่ใช่ศึกษาเอาใบประกาศ หรือให้ใครมาชม, มายกยอสรรเสริญ แต่ต้องศึกษาทุกข์ที่เกิดในกายในจิตเราก่อนให้ชัดว่ามันเกิดจากอะไร? เอาให้เห็นเองให้ได้ ให้รู้ ให้ชัดจริงๆ ถ้าชัดแล้ว ก็จะรู้จักเหตุที่ทำให้เราต้องทุกข์..
ถ้าเป็นเช่นนี้ มันจึงจะเบื่อหน่าย มันจึงจะคลายความยึดมั่นลง มันจะเร่งภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนาตามทางแห่งอริยมรรค จนเห็นแจ้งในธรรมที่ควรเห็น ควรรู้ในจิตตน จึงเข้าใจเอง คราวนี้ จิตมันจะเห็นกายก็อันนึง เห็นว่ามันเป็นก้อนแห่งทุกข์ที่ต้องดูแลมันไป จะหลงไปยึดเข้าไว้ในใจเมื่อไร ใจก็จะทุกข์ แต่หากมีสติอยู่ ก็จะบริหารจัดการกายมันไปตามเรื่องตามเหตุเพียงเท่านั้น.. ก็หมดภาระในการแบกมันอีกต่อไป...
พยายามต่อไปเน้อ! ทุกๆคนที่คิดจะออกจากทุกข์ อย่าไปจมกับทุกข์มันมากจนแช่ติดกับมันจนท้อแท้ไปอีก..
ยามใดมีทุกข์ ให้นำทุกข์ที่มีในปัจจุบันมาพิจารณา ให้เห็นจริงๆ มันจึงจะเห็นตัณหาของตนในขณะนั้น ..
ส่วนใหญ่คนเราพอเจอทุกข์แล้ว ถ้าไม่ห่อเหี่ยวใจ ก็กลับไปสู้กับมันแบบทางโลก เอาตัณหาไปสู้กับมัน เหมือนขี่หลังเสืออยู่ จะไปเที่ยวหาเสือมาปราบ????
หลงทางแต่อยู่ในมุ้งแล้ว!!!
ฝึกภาวนาให้สติมั่นคง จิตมั่นคงอยู่เสมอๆ แล้วจึงจะเห็นเสือที่เราขี่หลังมันอยู่ได้ แล้วก็ปราบมันให้อยู่ล่ะ.. ไม่ใช่ลงไปทีไร มันคาบเอาไปกินทุกทีๆ
.. สาธุ เป็นกำลังใจให้ทุกๆคนฯ

|||====》》》《《《====|||

การศึกษา.. แม้จะมีมาก!
แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตั้งมากมาย...
เพราะไปมุ่งเรียนกันแบบออกนอกตัว หมายความว่า พยายามเรียนสิ่งภายนอกตัว เพื่อแสวงหามาบำรุงบำเรอตัวตน
หลงว่า ตนเองมีสิ่งต่างๆแล้วจะมีสุข,
หลงว่าตนเองเป็นอย่างที่คิดหวัง แล้วจะมีสุข
เพราะหลงว่า ร่างกายที่มีอยู่ คือเรา คือตัวเรา, หลงว่าเราชื่อนี้,นามสกุลนี้, ชื่อเล่น-มีฉายาว่าอย่างนี้ๆ
ยึดเอาว่า หน้าตา ท่าทาง รูปร่าง ของเราเป็นอย่างนี้
หลงว่านี่คนที่เรารัก-นี่คนที่เราชัง..
ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือศาสตร์อื่นๆ ก็ไม่สามารถแก้ไขความทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจเราได้อย่างถาวร..
แม้คนที่เรียนพุทธศาสตร์มา ได้ระดับฐานะที่โลกยกย่องว่า เป็นผู้มีความรู้สูงก็ตาม ก็เป็นความรู้ที่อยู่ภายนอก ไม่ใช่ความรู้ภายใน ไม่สามารถแก้ไขความทุกข์ใจได้เช่นกัน..
จะสังเกตุได้จากสังคม ที่เห็นข่าวพระระดับนั้นนี้เกิดความเครียดจนฆ่าตัวตายไปเยอะแยะ นั่นเพราะเรียนเอาแค่จำไปสอบให้ได้วุฒิเท่านั้น ไม่ได้นำเอาความรู้มาใช้จริง...
แล้วอีกพวกคือ.. เรียนพุทธศาสตร์มามาก รู้มาก อธิบายได้ สอนคนอื่นได้อย่างละเอียด แต่หลงทางแบบง่ายๆก็มาก เช่น จบเปรียญสูงๆ พอสึกออกมา
1.เมาหัวลาน้ำ..,
2.หรือเขียนบทวิชาการอ้างอิงพุทธศาสตร์ แต่บทวิจารณ์คนอื่นๆ อ่านแล้วผู้รู้ก็รู้เลยว่า มีอารมณ์เครียดแค้น พยาบาท หมดความเมตตาปราณี ทั้งๆก็เขียนเรื่องพรหมวิหาร... แต่คนที่หัวรุนแรงชอบใจบทความที่ท่านเหล่านั้นวิจารณ์
อย่างนี้ หลงมองแต่คนอื่น เอาธรรมะไปว่าคนอื่น ลืมว่าเจ้าตัวก็แย่กว่าเขาอีก...
3.แล้วก็มีพระที่ยังไม่สึกหลายท่าน เรียนมาก เข้าใจมาก มีลูกศิษย์มาก อธิบายเก่ง ชักชวนให้หมู่คณะมาศึกษาธรรมที่ตนเองเข้าใจว่าเป็นทางพ้นทุกข์.. แต่! พระผู้รู้จริง ทราบว่าสิ่งที่ท่านนั้นเข้าใจ มันวิปลาสคลาดเคลื่อนจากแนวมรรค
อย่างนี้มีมานานแล้ว ตั้งแต่พุทธกาลก็มี ไม่ว่าพระโพธิกะหลงปริยัติ เป็นใบลานเปล่า แต่ตนยังมั่นใจจริงๆว่า ตนรู้ธรรม, และยังมีพระที่เข้าใจว่าผลของสมาธิที่ตนสำเร็จจนเป็นอภิญญา แสดงฤทธิได้ ว่าเป็นนิพพาน..
ในสมัยนี้ก็มีมาก ที่แตกฉานตำรา มีลูกศิษย์มาก แต่พอเห็นพฤติกรรม,คำพูด, การตอบคำถาม, การกล่าวแก้ปัญหาธรรม ก็มีสิ่งที่แสดงออกได้ว่า ยังเต็มไปด้วยสักกายทิฎฐิ มีการยึดข้อวัตรที่ผิดเพี้ยนไป เป็นสีลพัตตะปรามาส มุ่งการศึกษาแต่ในตำรา เน้นวิชาการ อ้างตำราเหมือนเด็กติดเกมส์ จิตไม่หลุดจากความสงสัย เพราะวิชาการย่อมไม่มีทางสิ้นสุด เป็นวิจิกิจฉา..
...
เพราะธรรมะในพุทธศาสตร์ เน้นให้เรียนแล้วนำมาหาความสว่างในตน พอเห็นตนทะลุปรุโปร่งแล้ว ก็หายสงสัย ถึงจะตอบเป็นภาษาวิชาการไม่ได้ ก็รู้ดีรู้ชั่วในตน ..
เวลาไปปฏิบัติ ความดีความชั่วแจ้งในจิตตนแล้ว เจตนาก็บริสุทธิ์ การรักษาศีลก็ไม่ล่วงเกินไปได้..
ความเห็นแก่ตัว ความมีทิฎฐิก็เป็นสัมมา คือเห็นอย่างถูกต้อง ว่าตนเกิดมาก็มีทุกข์ จะขนอะไรเข้ามาก็ทุกข์ทั้งนั้น มีอยู่มีใช้ไปวันๆก็พอแล้ว ไม่แบกตำรา ไม่แบกลูกศิษย์ ไม่แบกลาภสักการะ ไม่คิดเอาความดังมีชื่อเสียง เพราะเห็นจริงว่า ต่างคนต่างมีกรรมเป็นของตนๆ ใครขวนขวายแก้ไขตนก็ย่อมพ้นเอง ..
อธิบายธรรมก็เอา ณ ปัจจุบันธรรมไปอธิบาย ไม่ได้แบกเอาตำราอะไรที่ไหนไป กายกับจิตเราเป็นตำราเล่มใหญ่อยู่แล้ว เห็นธรรมในตน ก็เห็นตถาคตแล้วในตน พูดออกไป ก็เปรียบเป็นพุทธวจนได้..ถึงไม่เป็นพุทธวจน พระพุทธองค์ก็รับรองว่า เป็นธรรม
เพราะอะไรจึงว่าอย่างนั้น จะเอาตำรามาเปรียบให้ดู..
พระโกณฑัญญะฟังธัมมจักกัปปะวัตตนะสูตร แล้วอุทานมาว่า"ยังกิญจิฯ.." เป็นต้น พระพุทธเจ้าก็รับรองว่า ท่านกล่าวธรรมอย่างถูกต้อง แสดงว่า ไม่ใช่พุทธวจน แต่เป็นธรรม
พอพระอัสสชิ เอาธรรมไปกล่าวแก่พระสารีบุตร ก็กล่าวว่า" ธรรมเกิดแต่เหตุ..ฯ" ไปดูทั้งสองสูตรที่พระพุทธองค์สอนพระปัจจัควัคคีย์ ก็ไม่เห็นพระพุทธเจ้าสอนว่า ธรรมเกิดแต่เหตุ..
แต่พระพุทธองค์กลับรับรองว่า พระสารีบุตรเป็นพระโสดาบันแล้ว..
นี่แหละ ธรรมอยู่กับผู้เห็นธรรม เปรียบแล้วพระพุทธองค์ ก็รับรองว่าผู้แสดงธรรมถ้าเห็นธรรมจริง คำที่กล่าวก็เป็นธรรม..
เพราะหากพระพุทธเจ้าจำกัดแต่พุทธวจนแล้ว พระองค์ต้องไม่รับรองคำของพระโกณฑัญญะ และพระอัสสชิ..แน่นอนฯ

......

ทุกข์.. ใครๆก็คงรู้จัก, เคยประสบพบเจอกันมาทั้งนั้น.
ไม่เช่นนั้น เราคงจะไม่ดิ้นรนเวลาได้รับความทุกข์แน่ๆ.
อาตมากำลังจะโยงเข้าสู่ธรรม.. เพราะคนบนโลกนี้ เกือบทั้งนั้น ไม่เข้าใจความทุกข์อย่างถ่องแท้..
ทำไมจึงกล้าบอกเช่นนี้.. เพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า สัตว์โลกทั้งหลาย มีแต่พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันเท่านั้น ที่รู้แจ้ง,รู้จริงในความทุกข์ของจริง ..
เพราะพระองค์ก็ยืนยันที่บทสวดธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตตัง.. ว่าพระองค์ก็พึ่งทราบความจริงของทุกข์เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว..
ฉะนั้น.. ขอให้ทุกคนจงได้ใช้สติ คอยระวังจิตตนไม่ให้ฟุ้งซ่านได้แล้ว จึงนำปัญญามาพิจารณาความทุกข์ในกายในจิตตนให้ถ่องแท้ให้ได้เอง แล้วจะรู้ใส้รู้พุงของทุกข์จริงๆ ว่ามันต่างจากเดิมที่เคยรู้แต่เปลือกนอกเท่านั้น..แลฯ