วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

ปฏิจจสมุปบาท

ฟังเพิ่มเติม
ความหมายของคำว่า ปฏิจจสมุปบาท
คำว่า ปฏิจจสมุปบาท มาจากศัพท์ว่า
ปฏิจจ สํ และอุปปาท
ปฏิจจ  หมายถึง เกี่ยวเนื่องกัน สัมพันธ์กัน
สํ  หมายถึง พร้อมกัน หรือด้วยกัน
อุปปาท หมายถึง การเกิดขึ้น
ปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง สิ่งที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น
ได้แก่ ภาวะของสิ่งที่ไม่เป็นอิสระของตนต้องอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้คำที่มีความหมายเช่นเดียวกันนี้ มีอีก ๒ คำคือ
ปัจจยาการ และอิทับปัจจยตา
ปัจจยาการ หมายถึงอาการที่สิ่งทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ซึ่งหมายถึงสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ จะเกิดขึ้นเป็นอยู่ ด้วยตนเองโดยปราศจากเหตุปัจจัยไม่ได้ ต้องอิงอาศัยกัน
อิทัปปัจจยตา พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมนิยามสูตรว่า
ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวตถตา อนัญญถตา นี่คือหลักของอิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท องค์ประกอบของชีวิต ซึ่งมีความสัมพันธ์กันตามหลักของปฏิจจสมุปบาทนี้ ท่านเรียกว่าองค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมี อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ
แต่ละองค์มีความสัมพันธ์กันเหมือนลูกโซ่ ชีวิตของสัตว์ก็ย่อม หมุนเวียนอยู่ในวัฏจักร มีความเกี่ยวเนื่องกันเหมือลูกโซ่ ดังนี้
 อวิชชา เป็นปัจจัยให้มี สังขาร
 สังขาร เป็นปัจจัยให้มี วิญญาณ
 วิญญาณ เป็นปัจจัยให้มี นามรูป
 นามรูป เป็นปัจจัยให้มี สฬายตนะ
 สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้มี ผัสสะ
 ผัสสะ เป็นปัจจันให้มี เวทนา
 เวทนา เป็นปัจจัยให้มี ตัณหา
 ตัณหา เป็นปัจจัยให้มี อุปาทาน
 อุปาทาน เป็นปัจจัยให้มี ภพ
 ภพ เป็นปัจจัยให้มี ชาติ
 ชาติ เป็นปัจจัยให้มี ชรามรณะ
 ชรามรณะ เป็นปัจจัยให้มี โสกะ , ปริเทวะ 

องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท ๑๒ องค์นี้ เป็นส่วนประกอบของชีวิต ผู้ที่ยังตัดอวิชชาไม่ได้แม้ตายไปแล้ว อวิชชาก็เป็นปัจจัยให้มีสังขาร สังขารก็เป็นปัจจัยให้มีวิญญาณ ฯลฯ ต่อไปอีกไม่รู้จักจบสิ้น
การเรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้จึงเป็นการเรียนรู้กฎธรรมชาติของชีวิต จะได้ไม่ต้องหลงไหลในเหตุ ปัจจัยภายนอก เพราะชีวิตนั้นหมุนเวียนไปตามวัฏฏะ คือ กิเลส กรรม วิบาก ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราได้รับผลอย่างไรของชีวิต เช่น มีสุข ทุกขื ดี ชั่ว อย่างไรก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าเป็นเพราะเหตุคือ กรรม ที่ต้องทำกรรม ก็เพราะกิเลสเป็นเหตุให้ทำ ตราบใดที่ยังตัดกิเลสไม่ได้ชีวิตก็ต้องเป็นอยู่อย่างนี้ หมุนอยู่อย่างนี้ร่ำไป
เมื่อเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาก็จะเกิดขึ้น จะเกิดความเชื่ออย่างมีเหตุผล เช่นเชื่อว่าชีวิตทุกชีวิตย่อมเป็นไปตามกรรม และกรรมนั่นเอง เป็นผู้ลิขิตชีวิตให้เป็นไปต่าง ๆ กัน ดีบ้าง เลวบ้าง เพราะชีวิตกรรมลิขิต

 ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร
ปฏิจจสมุปบาท แปลว่า ภาวะที่อาศัยกันเกิดขึ้นซึ่งเป็นระบบการกำเนิดของชีวิตอันเป็นกฎเกณฑ์แห่งชีวิต
ศาสนาสอนว่าชีวิตทุกชีวิตมีส่วนเป็นเหตุเป็นผลอาศัยกันเกิดขึ้นเนื่องกันไม่ขาดสายเมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ก็เป็นเหตุให้อีก สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสืบต่อกันเป็นลูกโซ่ ไม่รู้จักจบสิ้น องค์ประกอบของชีวิตตามหลักของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเรียกว่า องค์ แห่งภวจักร หรือองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ท่านแบ่งไว้ ๑๒ องค์ คือ
๑. อวิชชา  = ความไม่รู้ความจริง
๒. สังขาร  = การปรุงแต่ง
๓. วิญญาณ  = การรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ
๔. นามรูป  = นามขันธ์ ๕ รูปขันธ์ ๒
๕. สฬายตนะ  = อายาตนะภายใน อายตนะภายนอก
 ๖. ผัสสะ  = การถูกต้อง
 ๗. เวทนา  = การเสวยอารมณ์
๘. ตัณหา  = ความอยาก
๙. อุปาทาน =  ความยึดมั่น
 ๑๐.ภพ  = ความมี ความเป็น
 ๑๑.ชาติ  = ความเกิด
 ๑๒.ชรามรณะ = ความแก่และความตาย
ทั้ง ๑๒ องค์นี้ เป็นส่วนประกอบของชีวิต ทุก ๆ องค์อาศัยกันเกิดมีความสัมพันธ์กัน เช่น อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ ฯลฯ ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ นี่เป้นปฏิจจสมุปบาท ๑ วง หรือชีวิตหมุนไป ๑ รอบวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท นิยมเรียกว่า ภวจักร ซึ่งแปลว่า วงล้อแห่งภพ หรือ สังสารจักร ซึ่งแปลว่า วงล้อแห่งสังสารวัฏ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น