วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

อริยสัจ4

    อริยสัจ 4 
อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ4 ประการ ได้แก่ 

1.ทุกข์
2.สมุทัย คือเหตุให้ทุกข์เกิด
3.นิโรธคือคาวมดับทุกข์
4.มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
กล่าวโดยละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
อริยสัจข้อที่ 1
ทุกข์ 
ทุกข์ แปลตามตัวอักษรว่า สิ่งที่ทนได้ยาก ตรงกันข้ามกับสุข ซึ่งแปลว่า สิ่งที่ทนได้ง่ายโดยใจความ หมายถึง ความไม่สบายกาย และความไม่สบายใจ ทุกข์จำแนกเป็น 3-ประเภท-คือ
1.ทุกข์ประจำ ได้แก่ ทุกข์ที่มีแก่ทุกคนตามธรรมชาติ มี 3. ประการ คือ


-ความเกิด ได้แก่ ความทุกข์ของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่คลอด แม้ทารกจะบอกใครไม่ได้ว่าเป็นทุกข์แต่จากการที่ความเกิดที่มาของความทุกข์ที่ตามมาในภายหลังอีกมากมายจึงถือได้ว่าความเกิดเป็นความทุกข์


-ความแก่ ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมลง เช่น ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยวย่น นัยน์ตาฝ้าฟาง หูตึง กำลังลดน้อยถอยลง มีความปวดเมื่อยทั่วร่างกาย ถึงคนจะยังไม่แก่มาก แต่ความไม่อยากแก่นั่นเอง ทำให้คนเป็นทุกข์ เพราะเป็นความอยากที่ทวนกระแสความเป็นไปตามธรรมชาติ


-ความตาย ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากการสิ้นชีวิต เพราะทวนกระแสความต้องการของคน ทุกคนไม่อยากตาย อยากมีอายุยืน เมื่อถึงคราวจะต้องตาย จึงเกิดความทุกข์อย่างแสนสาหัส


2.ทุกข์จร หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว มี 8 ประการ คือ
-ความโศก ได้แก่ ความเศร้าใจ หรือความแห้งใจ
-ความพิไรรำพัน ได้แก่ ความคร่ำครวญ หรือความบ่นเพ้อ
-ความทุกข์ทางกาย ได้แก่ ความเจ็บไข้ หรือความบาดเจ็บ
-ความโทมนัส ได้แก่ ความไม่สบายใจ หรือความน้อยใจ
-ความคับแค้นใจ ได้แก่ ความตรอมใจ หรือความคับอกคับใจ
-ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ไม่ชอบใจ
-ความพรัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่ชอบใจ
-ความปรารถสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น


3.ทุกข์โดยรวบยอด ทุกข์ที่กล่าวข้างต้นทั้งหมดสรุปได้เพียงประการเดียว คือ การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 เป็นทุกข์


อริยสัจข้อที่ 2 
สมุทัยทุกข์สมุทัย(สมุทัย-เหตุให้เกิด) แปลว่า เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณณหา หรือความทะยานอยาก ซึ่งจำแนกได้ 3 ประการ

1. กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม กาม หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ความทะยานอยากในกาม จึงหมายถึง ความดิ้นรนอยากเห็นสิ่งที่สวยงาม อยากฟังเสียงที่ไพเราะ อยากดมกลิ่นที่หอม อยากลิ้มรสที่อร่อย อยากสัมผัสที่น่าใคร่น่าปรารถนา น่าพอใจ

2. ภวตัณหา ความทะยานอยากในความเป็น คือ ดิ้นรนอยากเป็นบุคคลประเภทที่ตนชอบ เช่น นักร้อง นักแสดง นักการเมือง หรืออยากได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งก่อนใครๆ
3. วิภวตัณหา ความอยากในความไม่มีหรือไม่เป็น คือ ดิ้นรนอยากไม่เป็นสิ่ที่เขาให้เป็นหรืออยากจะพ้นไปจากตำแหน่างที่เป็นอยู่แล้ว รวมทั้งอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้หมดไป

ตัณหาทั้ง 3. ประการนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากตัณหาต้องเป็นทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ ไม่ใช่ทุกข์เพราะคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของสิ่งที่ไม่มีมีชีวิต ตัณหาเป็ฯปัจจัยให้เกิดความยึดมั่นถือในตัวเอง และสิ่งต่างๆ ของตัวเอง ความยึดมั่นถือมั่นนี้เองเป็นตัวทุกข์


อริยสัจข้อที่ 3 
นิโรธ
ทุกข์นิโรธ (นิโรธ-ความดับ) แปลว่า ความดับทุกข์ หมายถึง การดับ หรือการละตัณหา 3 ประการดังกล่าวแล้วได้ ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ถ้าดับเหตุได้ ทุกข์ซึ่งเป็นผลก็ดับไปเองเหมือนการดับไฟต้องดับที่เชื้อเพลิง เช่นฟีนหรือน้ำมัน นำเชื้อออกเสีย เมื่อเชื้อหมดไปไฟก็ดับเอง


อริยสัจข้อที่ 4 
มรรคทุกข์นิโรธคามินีปฏิปทา(นิโรธ-ควาามดับ . คามินี-ให้ถึง. ปฏิปทา-ข้อปฏิบัติ)แปลว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงความดัมทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8. อริยมรรค แปลว่า ทางอันประเสริฐทางนั้นมีทางเดียวแต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ซึ่งดังต่อไปนี้
  1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ หมายถึงการรู้การเห็นอริยสัจ 4 อย่างถูกต้อง คือรู้ว่า ทุกข์ได้แก่อะไรบ้าง และเป็นทุกข์อย่างไรรู้ว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์และตัณหานั้นควรละเสียรู้ว่าทุกข์จะดับไปเพราะว่าดับตัณหา และรู้ว่าอริยมรรคเป็นทางให้ดับตัณหาได้
  2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ หรืความคิดชอบ คือ มีความคิดออกจากกาม ไม่หลงใหลกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มีความคิดที่ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น และมีความคิดที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่น
  3. สัมมาวาจา การพูดชอบ ได้แก่ การเว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ การพูดยุยงให้เขาแตกกัน การเว้นจากการพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ หรือการพูดไร้สาระ
  4. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ได้แก่ การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการลักทรัพย์ การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม หรือการเว้นจากการกิจกรรมทางเพศ
  5. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ การเว้นมิจฉาชีพที่สุจริตไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม
  6. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบหรือความเพียรชอบ
  7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม(มีรายละเอียดเพิ่มเติม)
  8. ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ)ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ(มีรายละเอียดเพิ่มเติม)
กิจในอริยสัจจ์
กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น