วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรค ๒-๓



วรรคที่ ๒-๓
๑๑.  อนึ่ง ภิกษุใดให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม,  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๒. อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน,   เป็นนิสสัค คิยปาจิตตีย์.
๑๓.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่  พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน  ๒  ส่วนขนเจียมขาวเป็นส่วนที่  ๓,ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่  ๔,ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน๒  ส่วน  ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่  ๓  ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่  ๔ให้ทำสันถัตใหม่,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๔.  อนึ่ง  ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว  พึงทรงไว้ให้ได้  ๖  ปี  ถ้าหย่อนกว่า  ๖  ปี  เธอสละเสียแล้วก็ดียังไม่สละแล้วก็ดี  ซึ่งสันถัตนั้น  ให้ทำสันถัตอื่นใหม่เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ,          เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๕.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งพึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า  เพื่อทำให้เสียสี,  ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่ง  สันถัตเก่า  ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๖.  อนึ่ง  ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทาง  ภิกษุต้องการ       พึงรับได้,  ครั้นรับแล้ว  เมื่อคนถือไม่มี  พึงถือไปด้วยมือของตนเอง  ตลอดระยะทาง  ๓  โยชน์  เป็นอย่างมาก  ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น  แม้คนถือไม่มี  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๗.  อนึ่ง ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี  ให้ย้อมก็ดี  ให้สางก็ดี  ซึ่งขนเจียม,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  รับก็ดี  ให้รับก็ไม่ดี    ทองเงิน  หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี,      เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๙.  อนึ่ง ภิกษุใด  ถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ  มีประการต่างๆ    เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒๐.  อนึ่ง  ภิกษุใดถึงการซื้อและการขายมีประการต่างๆ  เป็น  นิสสัคคิยปาจิตตีย์
โกสิยวรรคที่  ๒  (จบ)
๒๑.  พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้  ๑๐  วันเป็นอย่างยิ่งภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒๒.  อนึ่ง ภิกษุใด  มีบาตรมีรอยร้าวน้อยกว่า  ๕  นิ้ว  ให้จ่ายบาตรอื่นใหม่เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.  ภิกษุนั้นพึงสละบาตรนั้น  ในภิกษุบริษัท,บาตรใบสุดท้ายแห่งภิกษุในบริษัทนั้น  พึงมอบให้แกภิกษุนั้น     สั่งว่า  "นี้บาตรของท่าน  พึงทรงไว้  (คือใช้)  กว่าจะแตก."  นี้เป็นสามีจิกรรม  (คือการชอบ)  ในเรื่องนั้น.
๒๓. อนึ่ง  มีเภสัช  อันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธคือ  เนยใส  เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย,ภิกษุรับ  (ประเคน)  ของนั้นแล้ว  พึงเก็บไว้ฉันได้  ๗  วันเป็นอย่างยิ่ง,  ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒๔. ภิกษุ  (รู้)  ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีก  ๑  เดือน  พึงแสวงหาจีวร  คือผ้าอาบน้ำฝนได้  (รู้)  ว่าฤดูร้อยยังเหลืออีกกึ่งเดือน  พึงทำนุ่งได้  ถ้าเธอ  (รู้)  ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า๑  เดือนแสวงหาจีวร  คือผ้าอาบน้ำฝน  (รู้)  ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือนทำนุ่ง  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
๒๕. อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว  โกรธน้อยใจชิงเอามาก็ดี  ให้ชิงเอามาก็ดี  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
๒๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว  ยังช่างหูกให้ทอจีวร  เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์
๒๗. อนึ่ง  พ่อเจ้าเรือนก็ดี  แม่เจ้าเรือนก็ดี  ผู้มิใช่ญาติ  สั่งช่างหูกให้ทอจีวร  เฉพาะภิกษุ    ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณไว้ก่อน  เข้าไปหาช่างหูกแล้ว  ถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่า  จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป  ขอท่านจงทำให้ยาว  ให้เป็นของขึงดี  ให้เป็นของที่ทอดี  ให้เป็นของ  ที่สางดี  ให้เป็นของที่กรีดดี  แม้ไฉน  รูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน  ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว  ภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล  โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒๘.วันปุรณมีที่ครบ  ๓  เดือนแห่งเดือนกัตติกา  (คือเดือน๑๑)  ยังไม่มาอีก  ๑๐  วัน  อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ  ภิกษุรู้ว่า  เป็นอัจเจกจีวร  พึงรับไว้ได้  ครั้นรับไว้แล้ว  พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล  ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒๙. อนึ่ง  (ถึง)  วันปุรณมีแห่งเดือนกัตติกาที่สุดแห่งฤดูฝน  ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าเป็นที่รังเกียจ  มีภัยเฉพาะหน้าปรารถนาอยู่  พึงเก็บจีวร  ๓  ผืนๆ  ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้และปัจจัยอะไรๆเพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้นจะพึง มีแก่ภิกษุภิกษุนั้น  พึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้  ๖  คืนเป็นอย่างยิ่ง,  ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น  เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๓๐. อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่  น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ปัตตวรรคที่  ๓  (  จบ)
ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อ  นิสสัคคิยปาจิตตีย์  ๓๐  (  สิกขาบท)  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล  ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้นท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อเหล่านั้นแล้ว  เพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง  ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้    ธรรมทั้งหลายชื่อ  นิสสัคคิยปาจิตตีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์  จบ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น