วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

อริยสัจ4

    อริยสัจ 4 
อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ4 ประการ ได้แก่ 

1.ทุกข์
2.สมุทัย คือเหตุให้ทุกข์เกิด
3.นิโรธคือคาวมดับทุกข์
4.มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
กล่าวโดยละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
อริยสัจข้อที่ 1
ทุกข์ 
ทุกข์ แปลตามตัวอักษรว่า สิ่งที่ทนได้ยาก ตรงกันข้ามกับสุข ซึ่งแปลว่า สิ่งที่ทนได้ง่ายโดยใจความ หมายถึง ความไม่สบายกาย และความไม่สบายใจ ทุกข์จำแนกเป็น 3-ประเภท-คือ
1.ทุกข์ประจำ ได้แก่ ทุกข์ที่มีแก่ทุกคนตามธรรมชาติ มี 3. ประการ คือ


-ความเกิด ได้แก่ ความทุกข์ของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่คลอด แม้ทารกจะบอกใครไม่ได้ว่าเป็นทุกข์แต่จากการที่ความเกิดที่มาของความทุกข์ที่ตามมาในภายหลังอีกมากมายจึงถือได้ว่าความเกิดเป็นความทุกข์


-ความแก่ ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมลง เช่น ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยวย่น นัยน์ตาฝ้าฟาง หูตึง กำลังลดน้อยถอยลง มีความปวดเมื่อยทั่วร่างกาย ถึงคนจะยังไม่แก่มาก แต่ความไม่อยากแก่นั่นเอง ทำให้คนเป็นทุกข์ เพราะเป็นความอยากที่ทวนกระแสความเป็นไปตามธรรมชาติ


-ความตาย ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากการสิ้นชีวิต เพราะทวนกระแสความต้องการของคน ทุกคนไม่อยากตาย อยากมีอายุยืน เมื่อถึงคราวจะต้องตาย จึงเกิดความทุกข์อย่างแสนสาหัส


2.ทุกข์จร หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว มี 8 ประการ คือ
-ความโศก ได้แก่ ความเศร้าใจ หรือความแห้งใจ
-ความพิไรรำพัน ได้แก่ ความคร่ำครวญ หรือความบ่นเพ้อ
-ความทุกข์ทางกาย ได้แก่ ความเจ็บไข้ หรือความบาดเจ็บ
-ความโทมนัส ได้แก่ ความไม่สบายใจ หรือความน้อยใจ
-ความคับแค้นใจ ได้แก่ ความตรอมใจ หรือความคับอกคับใจ
-ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ไม่ชอบใจ
-ความพรัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่ชอบใจ
-ความปรารถสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น


3.ทุกข์โดยรวบยอด ทุกข์ที่กล่าวข้างต้นทั้งหมดสรุปได้เพียงประการเดียว คือ การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 เป็นทุกข์


อริยสัจข้อที่ 2 
สมุทัยทุกข์สมุทัย(สมุทัย-เหตุให้เกิด) แปลว่า เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณณหา หรือความทะยานอยาก ซึ่งจำแนกได้ 3 ประการ

1. กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม กาม หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ความทะยานอยากในกาม จึงหมายถึง ความดิ้นรนอยากเห็นสิ่งที่สวยงาม อยากฟังเสียงที่ไพเราะ อยากดมกลิ่นที่หอม อยากลิ้มรสที่อร่อย อยากสัมผัสที่น่าใคร่น่าปรารถนา น่าพอใจ

2. ภวตัณหา ความทะยานอยากในความเป็น คือ ดิ้นรนอยากเป็นบุคคลประเภทที่ตนชอบ เช่น นักร้อง นักแสดง นักการเมือง หรืออยากได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งก่อนใครๆ
3. วิภวตัณหา ความอยากในความไม่มีหรือไม่เป็น คือ ดิ้นรนอยากไม่เป็นสิ่ที่เขาให้เป็นหรืออยากจะพ้นไปจากตำแหน่างที่เป็นอยู่แล้ว รวมทั้งอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้หมดไป

ตัณหาทั้ง 3. ประการนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากตัณหาต้องเป็นทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ ไม่ใช่ทุกข์เพราะคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของสิ่งที่ไม่มีมีชีวิต ตัณหาเป็ฯปัจจัยให้เกิดความยึดมั่นถือในตัวเอง และสิ่งต่างๆ ของตัวเอง ความยึดมั่นถือมั่นนี้เองเป็นตัวทุกข์


อริยสัจข้อที่ 3 
นิโรธ
ทุกข์นิโรธ (นิโรธ-ความดับ) แปลว่า ความดับทุกข์ หมายถึง การดับ หรือการละตัณหา 3 ประการดังกล่าวแล้วได้ ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ถ้าดับเหตุได้ ทุกข์ซึ่งเป็นผลก็ดับไปเองเหมือนการดับไฟต้องดับที่เชื้อเพลิง เช่นฟีนหรือน้ำมัน นำเชื้อออกเสีย เมื่อเชื้อหมดไปไฟก็ดับเอง


อริยสัจข้อที่ 4 
มรรคทุกข์นิโรธคามินีปฏิปทา(นิโรธ-ควาามดับ . คามินี-ให้ถึง. ปฏิปทา-ข้อปฏิบัติ)แปลว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงความดัมทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8. อริยมรรค แปลว่า ทางอันประเสริฐทางนั้นมีทางเดียวแต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ซึ่งดังต่อไปนี้
  1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ หมายถึงการรู้การเห็นอริยสัจ 4 อย่างถูกต้อง คือรู้ว่า ทุกข์ได้แก่อะไรบ้าง และเป็นทุกข์อย่างไรรู้ว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์และตัณหานั้นควรละเสียรู้ว่าทุกข์จะดับไปเพราะว่าดับตัณหา และรู้ว่าอริยมรรคเป็นทางให้ดับตัณหาได้
  2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ หรืความคิดชอบ คือ มีความคิดออกจากกาม ไม่หลงใหลกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มีความคิดที่ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น และมีความคิดที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่น
  3. สัมมาวาจา การพูดชอบ ได้แก่ การเว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ การพูดยุยงให้เขาแตกกัน การเว้นจากการพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ หรือการพูดไร้สาระ
  4. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ได้แก่ การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการลักทรัพย์ การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม หรือการเว้นจากการกิจกรรมทางเพศ
  5. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ การเว้นมิจฉาชีพที่สุจริตไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม
  6. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบหรือความเพียรชอบ
  7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม(มีรายละเอียดเพิ่มเติม)
  8. ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ)ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ(มีรายละเอียดเพิ่มเติม)
กิจในอริยสัจจ์
กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

โคลงโลกนิติ โดย ท่านเจ้าคุณอุบาลี


โลกนิติ  คำกาพย์ภาษาลาว
   นโมนมาวันทาวันถ่อง              น้อมเกล้าก่องไหว้แก้วทั้งสาม
  ไหว้อินทร์พรหมเทวาทุกหมู่        ขอไหว้ขู่ครูเค่าผู้สอน
  ไหว้บิดามารดรก่อเกษ             คุณวิเศษส่อยแต่งคำสอน
  ขอวิงวอนอินทร์พรหมส่อยซี้       คุณพุ่นพี่ข้าไหว้ข้าวอน
  ส่อยแต่งกลอนบูฮานไว้แบบ       บ่คับแคบมคธบาลี
  หลายพันปีสูดเฮียนมีน้อย          ความฮู่ส่วยเสื่อมสิ้นสูญหาย
  คนทั้งหลายแปลธรรมบ่ได้         ความทุกข์ไฮ่บังเกิดกวมจิต
  ทำการผิดคำสอนนักปราชญ์       บ่ฉลาดความฮู่บ่มี
  บ่มีศรีไปมาจักแห่ง                 เฮาจักแต่งแปลจากบาลี
  ในคัมภีร์ชื่อโลกะนิติ์               บ่ให้ผิดใจความฟังง่าย
  บ่ซื้อจ่ายแต่งไว้เป็นทาน           สืบลูกหลานต่อวงศ์เมือหน้า
  ลูกหลานข้าฟังแล้วหิ่นตรอง      เฮ็ดถืกคองฮุ่งเฮืองใจกว้าง
  เฮาผู้เว่าตนแต่งภาษิต             ญาณรักขิตนามหลวงชื่อตั้ง
  สถิตฮั้งอาวาสของหลวง          นามกรบรมนิวาส
  เป็นนักปราชญ์เหตุพระมหินทร์    ปรมินทร์มกุฏกรุงเทพฯ
  บ่อวดอ้างเฮียนฮู่สู่เชิง            คึดฮ่ำเพิงลูกหลานชาติเกิด
  นามแต่เค่าเฮาชื่อมหาจันทร์     เกิดอุบลหนองไหลบ้านเก่า
  คึดเหล่าเหล่าเถิงลูกเถิงหลาน   เถิงกุมารเกิดมาภายซ่อย
  ความฮู้น้อยขายหน้าบ่หาย       ความจิบหายสืบวงศ์บ่มั่ว
  เฮาสืบพ้อความฮู้เพิ่นสอน      เป็นคำกลอนบาลีฟังยาก
  สู่ลำบากเพียรแก้แต่งสาร       ให้ลูกหลานฮ่ำเฮียนจำไว้
  ไผจำได้วงศ์เชื้อส่าลือ          ไผนับถือสูตรเฮียนฮักใค่
  ไผขาบไหว้นอบนบบูชา       เกิดปัญญาฮุ่งเฮืองคนย่อง
ให้พี่น้องไผพ้อหมั่นฟังพ่อเนอ

 ๑. ตนผู้ข้าพุทธโฆสา             ไหว้วันทาพุทโธองค์เลิศ
   ประเสริฐพ้นนักปราชญ์บัณฑิต จักภาษิตคำสอนต่างๆ
มีหลายอย่างต่างๆ คัมภีร์ ด้วยวิธีภาษามคธ.
 ๒. แต่งเป็นบทคำสอนส่องโลก     เป็นประโยชน์ส่องโลกทั้งสาม
ข้อดีงามหามาติดต่อ                  เป็นดังก่อทางไว้ให้เดิน
 ๓. ปากใดเกินบ่มีความฮู่      มักลบหลู่คำหม่วนจิบหาย
มีอุบายย้อมแดงด้วยหมาก      ปากอันนั้นนักปราชญ์นินทา
มันเกิดมามีปากเสียเปล่า       เหมือนปากเต่าปากกุ้งปากหอย
 ๔. ปากอันใดเฮียนธรรมฮู่มาก      บ่ลำบากฟังหม่วนเย็นใจ
ปากนำไผเยือกเย็นคือน้ำ            นักปราชญ์เจ้าย่อย่องว่าดี
ปากมีศรีฮุ่งเฮืองวิลาส                ปากสะอาดคุณล้นบ่ซาม
 ๕. ของบ่งามมีนามหลายอย่าง      สระเปล่าว่างหาน้ำบ่มี
เป็นบูรีหาพระยาบ่ได้                 เป็นต้นไม้ใบเหี้ยนหล่าสม
เป็นงัวนมฮีดน้ำบ่ย้อย                เป็นสาวจ้อยปะไป่เปลือยโต
นะหิโสบ่งามความเปรียบ             เพิ่นเทียบไว้คือดังวาจา
คำมุสาโกธาส่อเสียด                ให้เพิ่นเคียดงามน้อยบ่มี
 ๖. เจ้ามะตีบัณฑิตฉลาด        อย่าประมาทจำยอดคำสอน
เป็นอาภรณ์กลางคนหับปาก     ดังคำหมากหับปากเพิ่นเป็น
 ๗. รสของเย็นเฮาเห็นมีมาก      รสฟองน้ำรสแก่นจันทน์แดง
บ่คางแคงรสเงาฮ่มไม้              รสหนึ่งได้แสงส่องเดือนดาว
เป็นรสเย็นทั่วกันคนฮู้              เย็นบ่สู้เสียงหม่วนคำสอน
 ๘. รสของหวานชอบกัน         บ่น้อย รสหนึ่งอ้อยรสหนึ่งนารี
เป็นรสดีกินหลายฮู่อิ่ม            ของบ่อิ่มรสยอดคำสอน
บ่ห่อนถอนยิ่งกินยิ่งแซบ          บ่คับแคบฟังได้ยิ่งหวาน
 ๙. รสสงสารกินเมาทั้งค่าย      รสบ่ฮ่ายกันแก่เจ็บตาย
อธิบายสองอันเพิ่นชี้               รสหนึ่งนี่คำเฒ่าสั่งสอน
รสที่สองคำสอนนักปราชญ์       เพิ่นฉลาดชี้ช่องนีรพาน
 ๑๐. วิชาการเฮียนเอาบ่ได้     เพิ่นกล่าวไว้มี ๗ ประการ
เดียรฉานกับคนประมาท        คนขี้คร้านมักหลับมักนอน
คนอาทรป่วยโซพยาธิ์           คนอุบาทว์มักง่ายในกิจ
คนเห็นผิดทำการบ่เบื่อ        คนบ่เชื่อบ่ชอบวิชา
 ๑๑. เป็นศิษย์หาให้ครูเห็นชอบ     ให้ประกอบคุณไว้ ๕ อัน
อย่าดื้อดันนอนหลังตื่นก่อน          อุปฐากอย่างผ่อนเพียรทำ
อย่าเถียงคำครูบาสอนง่าย            อย่าเบี่ยงบ่ายหลบหลีกการงาน
พระอาจารย์สอนธรรมให้ฮู่           อดสาสู้ใจน้อมหมั่นเพียร
 ๑๒. อุสาห์เฮียนอย่าหลงมักมาก  เฮียนสมอยากความฮู่บ่จำ
ศิษย์อธรรมดังคนปากกืก           ฝันเห็นถืกมันแก้บ่เป็น
อุปมาคนเฮียนธรรมมาก            เฮียนแต่ปากคำฮู่บ่สิง
ฝูงชายหญิงถามหาความเว้า        เฮ็ดเค่าเม่าขายหน้าทั่วดิน
 ๑๓. ศาสตรศิลป์คือตัวความฮู่       อยู่ในตู้ในพับในลาน
บ่แก่นสารต้องการบ่ได้                คือเฮาไว้ฝากทรัพย์เงินคำ
วางประจำในมือคนอื่น                 ยากพ้นหลื่นคาวฮ่อนแล่นหา
 ๑๔. ปฤษณาสองอันฟังยาก         พากหนึ่งนั้นยกย่องยอคุณ
แห่งศัตรูตนชังเคืองเคียด             พากหนึ่งนั้นด่าเสียดครูตน
กรรมให้ผลเกิ่งกันเสมอภาค         ใจกับปากบิดเลี้ยวต่างกัน
 ๑๕. ความสำคัญกระจกว่าแก้ว     คันพบแก้วกับว่ากระจก
สัตว์นาฮกหาศีลบ่ได้                เพิ่นกล่าวไว้ฝูงนั้นใช่คน
ผู้เป็นบัณฑิตนักปราชญ์             เพิ่นองอาจยืนไว้ถ้อยคำ
เห็นกระจกกระจกบ่แค่ว             เห็นหน่วยแก้วยืนแก้วบ่วาง
 ๑๖. ธรรมเป็นกลางชี้ทางนักปราชญ์     ความฉลาดสามสิ่งเทียมตน
หนึ่งบ่ฮ่อนนำของหายาก                   สองบ่ฮ่อนนำสิ่งจิบหาย
สามจักตายสติบ่หล่า                       บ่ตั้งว่าชายนั้นแก่นคน
 ๑๗. อนุสนธิ์ชี้ทางชี้เหตุ       อุปเทศคนใบ้คนพาล
สามประการจื่อจำเอาไว้         หนึ่งขี้ไฮ่หลงโลภแต่กาม
สองใจหาญกำลังตัวน้อย        อยากเกี่ยวก้อยถีบปล้ำเถียงแขง
แก่คนแฮงกว่าตนควรย่าน       สามขี้คร้านเฮียนน้อยบ่จำ
มันขืนคำเถียงคนฮู่มาก
 ๑๘. ดูพื้นพากคนถ่อยเลวทราม       สามประการดังเดียวเพิงฮู่
หนึ่งสูหลู่เที่ยวขึ้นตามเฮือน            เขาบ่เตือนเชิญตนขึ้นบ้าน
สองหน้าด้านอวดฮู่อวดงาม             เขาบ่ถามอวดตายแต่เว้า
ข้อสามเจ้ายอย่องแต่โต                คนโมโหหามโตคือบ้า
เรื่องถ่อยซ่าฟังแจ้งจือเอา
 ๑๙. ชายมีเคาหนวดคางฮิมปาก       แม่นหายากในพื้นแผ่นดิน
อย่าถวิลคบคนปากเกี้ยง              ให้หลีกเลี่ยงนอนลี้ผู้เดียว
 ๒๐. ผู้เฉลียวหิ่นตรองคำปราชญ์       มารยาทบอกส่อตระกูล
เสียงเป็นมูลบอกทางประเทศ           ไปสู่เขตเคยคุ้นแหว่หา
บอกสองขาฮักกันเพียงญาติ             เนื้ออิ่มอาจเต็มอ้วนบ่ผอม
บอกอาหารของกินบ่ไฮ้                 จำเอาไว้ทางห่อมบัณฑิต
 ๒๑. พระอาจารย์ยกความมาเทียบ       มาเปรียบให้นาฮกนาจี
มีหลายๆ ในธรรมะเทศ                     ชี้ในเขตคนยากคนจน
กรรมให้ผลจิบหายทุกข์ยาก             แสนลำบากนาฮกต่อตา
เวทนาเหลือทนฮ่องไห้                  ท่านเปรียบไว้นาฮกตาเห็น
 ๒๒. กรรมแลเวรตนทำเพิ่นเคียด     เพิ่นบังเบียดยกโทษติเตียน
กิจตนเพียรหาผลบ่ได้                  กรรมสร้างไว้นาฮกเป็นเฮือน
ท่านผีเฝือนยกตนบ่ใกล้                ท่านจึงได้เฮียกชื่อบัณฑิต
 ๒๓. เป็นบัณฑิตดูคนเพิ่งฮู่  อย่าลบหลู่ผิดพากคนดี
คนมีศรี ๑๕ จำพวก          พวก ๑ นั้น พ่อแม่ลุงอา
พวกที่ ๒ หมอยาวิเศษ       พวกที่ ๓ หมอเลขคูณหาร
พวกที่ ๔ นายด่านประตู     พวกที่ ๕ คนฮู่หนังสือ
พวกที่ ๖ คนลือพ่อค้า       พวกที่ ๗ คนส่าเศรษฐี
พวกที่ ๘ คนดีพ่อบ้าน      พวกที่ ๙ คนเผ่าราชา
 ๒๔. พวกที่ ๑๐ เสนาอำมาตย์    ที่ ๑๑ องอาจราชา
ที่ ๑๒ สมณานักบวช               ที่ ๑๓ คนยวดมีคุณ
ที่ ๑๔ คนบุญนักปราชญ์           ที่ ๑๕ คนฉลาดครูตน
ให้ปะปนคบหาเข้าใกล้            เป็นมิตรไว้พาฮุ่งพาเฮือง
 ๒๕. ชายโสภาใจเย็นนักปราชญ์      ชายฉลาดหลีกเว้นคนผิด
คนใช่มิตรผูกจ่องกรรมเวร             คนมีเข็ญหาคุณบ่ได้
คนทุกข์ใฮ่เกี่ยวหญ้าหาฟืน            บ่ฝ่าฝืนผิดเถียงดูหมิ่น
 ๒๖. คึดสู่ถิ่นทั่วโลกโลกา      กะปูนาหาหัวบ่ได้
ไผหาให้เลี้ยงท้องเขาเอง       พวกสับโปงูเขียวงูเห่า
ขึ้นต้นไม้เสือกแล่นตามดิน     ตีนบ่มีแล่นไว้ปานม้า
แม่ไก่เกล้านมจู้อยู่ใส           แม่นผู้ใดส่อยมันเลี้ยงลูก
อย่าดูถูกชาติลูกคนชาย        คราวจิบหายดูแคลนบ่ชอบ
 ๒๗. ให้ประกอบสงเคราะห์สงหา    ในเวลาเขาจนเขายาก
เขาลำบากทุกข์ยากแล่นเถิง           อย่าเหิงสาความหลังความเก่า
ชาติงูเห่าคนถ่อยคนพาล              ให้สงสารส่างมันยามฮ่าย
ส่อยดับฮ้อนยามเมื่อไฟเผา          หวังเอาบุญชาติชายใจกว้าง
 ๒๘. คึดให้ฮู่ตัวเปรียบแผ่นดิน     ชาติแผ่นดินแน่นหนาบ่คาด
คนพลาดล้มลงเลื่อยบ่เซา           คนใจเบาชังดินด่าป้อย
คนใจน้อยตัวล้มด่าดิน               ด่าแผ่นดินบ่หนีดินได้
เพิ่นเปรียบไว้นักปราชญ์ใจบุญ      ไผทำบุญทำกรรมทำโทษ
บ่โกรธให้ยามฮ่อนแล่นหา          บ่ถือสาคนผิดคนพลาด
 ๒๙. นักปราชญ์เจ้ายังเปรียบขำขำ     หมาตัวดำตัวแดงตัวด่าง
เห็นคนย่างเต้นไล่กัดขา                 บ่ควรหาอุบายกัดตอบ
บ่ควรลอบลงแห่นขาหมา                อุปมาบัณฑิตผู้ฮู่
บ่ห่อนสู้โต้ตอบคนพาล                 เห็นเสียการดังหมาตัวใบ้
 ๓๐. เพิ่นเปรียบไว้เป็นข้อดีดี       น้ำนัททีทะเลกว้างใหญ่
อยากให้ฮ่อนมัดหญ้าลงสุม          เอาไฟลุมให้ทะเลมันฮ่อน
น้ำบ่ฮ่อนเหมือนดังใจหมาย         อธิบายเปรียบใจนักปราชญ์
ไผห่อนอาจป้อยด่าให้เคียง           ไผห่อนเถียงโต้ท่านให้เคียด
เพิ่นอดได้โตฮ่อนฝ่ายเดียว
 ๓๑. เฉลียวเถิงคลองนักปราชญ์       ผู้ฉลาดคือเจ้าเตเม
ละโภเคความสุขบ่เอื้อ                   เพิ่นเป็นเชื้อนักปราชญ์ใจเย็น
เพิ่นแลเห็นความสุขเมืองฟ้า            จึงก้มหน้าอดไว้เกิดคุณ
 ๓๒. เจ้าใจบุญดูคนมันยาก         แสนลำบากจำแบบคำสอน
บ่อาทรเบิ่งไปคงฮู่                    เฮาเพิ่งฮู่นักปราชญ์อาจารย์
ฟังโวหารวาจาเพิ่นว่า                 จักฮู่เค้าศีลมั่นเที่ยงคง
ต้องประสงค์อยู่นำหลายมื้อ          จักฮู่ดื้อถ่อยชั่วคนดี
สามัคคีกินนอนฮ่วมถิ่น               จักฮู่กลิ่นคนฮ่อนคนเย็น
คนมีเข็ญใจคอมันซ่าน
 ๓๓. จักฮู่ค่านฮู่หมั่นคนงาน     ยามทำการทำงานมันบอก
จักฮู่พวกพี่น้องฮักตน             ยามขัดสนโภยภัยมาต้อง
จักฮู่ห่อมความฮักสหาย          ยามจักตายเกิดความมีโทษ
ฮู่สันโดษเมียฮักเพื่อนสอง       ยามข้าวของสิ้นมือจนยาก
 ๓๔. จะกล่าวพากของฮุ่งเป็นศรี       รถภูมีธุรไชยพายอาด
อัคคีชาติควันขึ้นส่องศรี                 บ้านเมืองมีราชาเป็นยอด
ญิงสาวปอดผัวแก้วเป็นเถา
 ๓๕. นกตาเวาเสียงดีเป็นฮูป       ญิงผู้ฮ้ายคองวัตรพางาม
ชายฮูปซามวิชาพาฮุ่ง                นักบวชฮู่อดเคียดซ่าลือ
 ๓๖. ดอกทองกวาวสีงามไฮ่กลิ่น       โลกดูหมิ่นเหตุกลิ่นมันหาย
อธิบายดังชายโสภาพ                    ฮูปเกลี้ยงฮาบยังหนุ่มงามตา
เขาเกิดมาระกูลใช่ไพร่                  ของบ่ไฮ่ความฮู่บ่มี
นักปราชญ์ติเกิดมาเสียชาติ             บ่สะอาดคือดอกกลิ่นหาย
 ๓๗. อธิบายแสงจันทร์แสงแดด     บ่ห่อนแผดเกิดห่วมดอมกัน
อัศจรรย์ทุกข์สุขสองภาค              มันแสนยากเกิดพ่อมบ่เป็น
อุปมาดังคนในโลก                     มีประโยชน์หาห่อมทางสุข
ละวิชาสูตรเฮียนจำค่าน                นอนอยู่บ้านอยู่วัดคือกัน
คืนแลวันหากินหาเล่น                  สุขบ่เว้นความฮู่เสื่อมหาย
ลูกผู้ชายละสุขบ่เอื้อ                   คบชาติเชื้อนักปราชญ์ฮ่ำเฮียน
ตั้งความเพียรความสุขบ่เว้า            ทุกค่ำเช้าเพียรถ่องเพียรจำ
เพียรกระทำจนเป็นนักปราชญ์         ฮู่ฉลาดความทุกข์แล่นหนี
อยู่เป็นศรีนั่งนอนจ้วยก้วย              สุขอยู่ด้วยความฮู่แห่งตน
 ๓๘. อนุสนธิ์คำสอนจื่อไว้       ไผจื่อได้เมือหน่าเกิดคุณ
ของเป็นบุญเกิดคุณความชอบ    ควรนบนอบคือแก้วทั้งสาม
ของพางามทานศีลซมชื่น         ของสิ่งอื่นวงศ์ญาติเผ่าพันธุ์
ของสำคัญวิชาความฮู่             ของหมู่นี้สูญเสี่ยงบ่มี
ในบุรีแดนใดทุกเทศ              ผู้วิเศษควรเว้นห่างไกล
 ๓๙. การหนีไปจากภูมิ์ประเทศ      ผู้วิเศษคนใบ้ต่างกัน
อัศจรรย์คนซามถ่อยซ่า               ไปเบื้องหน้าแสนยากเหลือหลบ
เหมือนดังกบหนีฮูหนีถ้ำ              ไปสู่ก้ำใกล้ปากเหยี่ยวกา
เจ้าโสภาบัณฑิตวิเศษ                หนีจากเขตเมืองบ้านแห่งตน
บ่ขัดสนซ่าลือคนย่อง                เป็นดังฆ้องแก้วเพชรพลอยนิล
หนีจากดินจากหินที่อยู่               เข้าไปสู่เป็นส้อยเป็นแหวน
เป็นของแขวนเครื่องทรงพระราช    ยิ่งสะอาดเกินถิ่นของตน
 ๔๐. จรดลการไปนักปราชญ์     บ่ประมาทคึดหน้าคึดหลัง
เห็นสมหวังจิงวางทางเก่า          เห็นบ่เป่าจิงย้ายตีนไป
 ๔๑. คนผู้ใดจักไปจักอยู่      ละยังคู่คนหมั่นห่วมใจ
หนีไปไกลคบคนต่างด้าว       เมื่อมันร้าวบ่มั่นบ่คง
ความประสงค์จักเสียจักขาด   เหตุบ่อาจฮู่ห่วมใจเขา
 ๔๒. ฟังสำเนาคำสอนให้แน่     ความเฒ่าแก่ฆ่าฮูปงามตา
เจ้าตัณหาฆ่าสุขบ่น้อย            คบคนถ่อยฆ่าสิ่งเป็นการ
เที่ยวขอทานฆ่าความยำย่าน     โอ้อวดต้านฆ่าห่อมคุณตน
ใจกังวลฆ่ากำลังความฮู่          กายหดหู่เสียฮูปควรชม
เลยประสมฆ่าความฮักใค่       กรรมแต่ให้ชาวบ้านเพิ่นชัง
 ๔๓. ศาสตรศิลป์บ่เฮียนเอาไว้       บ่เข้าใกล้คบเสพบัณฑิต
ตาพาผิดสังวรบ่ได้                     สามสิ่งนี้เป็นโทษจิบหาย
ของผู้ชายเกิดมาในโลก              พาเศร้าโศกจนแก่จนตาย
 ๔๔. ท้าวพระยาจิบหายเพราะเหตุ      บ่สมเพชไพร่ฟ้าตนผิด
ลงอาชญากล้าแข็งเกินโทษ             บ่ผายโผดลดหย่อนตามควร
หนึ่งสงวนโถงยาโถงเหล้า                โถงสาวน้อยหมากแยกสกา
บ่ฮักษาคำคงหมั่นเที่ยง                  ใจขว้ำเบี่ยงบึ้นแป้จิบหาย
ความจิบหายในคองนักบวช              เหตุบ่ปวดฮักห่อมสิกขา
ท้าวพระยาหลงกามเป็นบ้า               ลืมไพร่ฟ้าเป็นเหตุเสียเมือง
แม่คำฮางความอายเป็นเหตุ             พาเข้าเขตทางอ้อมจิบหาย
ลูกผู้ชายตระกูลเชื้อชาติ                 มัวประมาทบ่ฮู่จักอาย
เกิดจิบหายเสื่อมวงศ์เสื่อมญาติ        คำนักปราชญ์จำไว้ใส่ใจ
 ๔๕. ประเทศใดราชาอามาตย์       คนฉลาดยศยิ่งเสมอกัน
มีมะหันต์เหลือหลายในเขต          ในประเทศเมืองบ้านแห่งใด
เป็นนิสัยมานะกระด้าง                มักอวดอ้างบ่เชื่อคำกัน
เกิดฆ่าฟันผิดเถียงหาเหตุ            ในประเทศเมืองนั้นส่วยแหลม
 ๔๖. อุปมาดอกบัวในน้ำ         ขึ้นบ่ได้อาทิตย์ ๗ ดวง
บ้านเมืองหลวงอาชญามีมาก     แสนลำบากไพร่ฟ้าจิบหาย
 ๔๗. บ้านเมืองใดราชาอามาตย์      คนฉลาดมีมากมีหลาย
บ่อุบายผิดเถียงหาเหตุ                 นับเข้าเขตพักพร้อมเพียงกัน
คืนแลวันชุมกันชมชื่น                 ข้าเศิกตื่นกลัวย่านทั่วแดน
อุปไมยมดแดงมดง่าม                 บ่แตกม่างเป็นหมู่เป็นชุม
อาจจักกุมช้างสารกินซาก            เป็นทางยากคนฮ่ายคึดปอง
๔๘. ความปองดองกมเกียวเป็นแก่น        คึดให้แม่นหญ้าแพรกป่านปอ
หามาพอฟั่นเกลียวเป็นเชือก                 ผูกช้างเผือกช้างเอกช้างสาร
ช้างใจหาญหนีไปบ่ได้                        เพิ่นเปรียบไว้คุณแห่งสามัคคี
 ๔๙. คนผู้มีเดชาสามารถ             แสนองอาจแต่อยู่คนเดียว
บ่มีเกี่ยวพอสองสามสี่                 คึดให้ถี่การสร้างการแปลง
เฮ็ดใจแขงการเศิกการเจ้า            บ่แช่งเว่าคงม้วยอย่าแหนง
อย่าคางแคงคือไฟไหม้ป่า            ลมบ่พร้อมไฟหล่าพลอยดับ
 ๕๐. ไฟหวนกลับได้ลมเป็นเสี่ยว        เที่ยวไหม้บ้านดงกว้างไฮ่นา
ลมหวนมาดับดวงประทีป                  ความข้อนี้ฟังแล้วอยากหัว
คือตัวเฮาบ่มีพวกพ้อง                     ยามขัดข้องยามยากยามจน
 ๕๑. สหายตนลูกเมียพี่น้อง        ยามขัดข้องหายหน้าหายตา
ในโลกาเข้าของเป็นเสี่ยว           บ่เชื่อแท้เหลียวเบิ่งคนมี
 ๕๒. ศาสตรศิลป์เป็นเงินเป็นทรัพย์            ไปสำหรับกับผู้ตกไกล
ปัญญาไวเป็นเงินของฝาก                       ยามเมื่อยากเกิดเหตุจิบหาย
ธรรมทั้งหลายของดีเฮาก่อ                      เป็นของห่อต่อไว้ยามตาย
ศีลทั้งหลายเป็นเงินเป็นแก้ว                     บ่ฮู่แล้วทุกเมื่อทุกยาม
 ๕๓. ผู้ติดตามเป็นพี่เป็นน้อง        บ่ขัดข้องมี ๖ ประการ
หนึ่งศีลทานกุศลเฮาสร้าง             บ่ละฮ่างเป็นแม่มารดา
หนึ่งปัญญาเฮาเฮียนฉลาด             บ่ห่อนคลาดคือพ่อติดตาม
หนึ่งความงามความดีความชอบ       เฮาประกอบบ่เว้นบ่กลาย
คือพี่ชายติดตามบ่เบื่อ                หนึ่งความฮู่ความฮักกุร์ณา
เฮาเมตตาทั่วไปบ่เคียด              เพิ่นบ่เกลียดเป็นดังสหาย
หนึ่งเข้าของให้ทานบ่ขาด             ยิ่งกว่าญาติเป็นดังเมียดี
หนึ่งขันตีอดใจพันผูก                เป็นดังลูกเกิดห่วมอุทร
 ๕๔. อย่าอาวรณ์คนใดประกอบ      ให้ความชอบประโยชน์แก่ตน
อย่าฉงนนับเป็นพี่น้อง                  ผู้เพิ่นต้องให้เข้าให้แกง
อย่าคางแคงนับเป็นพ่อเลี้ยง           ตนอยู่ใกล้วิสาศคนใด
อย่าสงสัยนับเป็นมิตรญาติ           ความเดือดฮ่อนดังห่วมหญิงใด
เพิงเข้าใจเป็นเมียโดยแท้
 ๕๕. เพิ่นกล่าวแก้ทางห่อมศึกษา        ฝูงโรคาป่วยครางเจ็บไข้
มันอยู่ใกล้เกิดขึ้นในโต                    บ่เป็นโสฆ่าเศิกทุกเมื่อ
เฮาเพิงเชื่อต้นไม้ในดง                    พลอยประสงค์เป็นยาแก้ไข้
เพิ่นเปรียบไว้คนอื่นคนไกล               พ้นวิสัยทำคุณแก่เจ้า
ควรจักเว่าเป็นเผ่าพงศา                   ผู้เกิดมาแห่งเดียวห่วมท้อง
มันบ่ต้องบ่ถืกผิดกัน                      คุณของมันบ่มีจักดี้
เพิ่นกล่าวชี้บอกว่าคนไกล                สุดวิสัยบ่ควรคึดฮอด
 ๕๖. คึดตลอดทางสูตรทางเฮียน        ยามพากเพียรฆ่าเศิกไปก่อน
หากจักผ่อนเป็นมิตรภายหลัง            อนิจจังการหลับการค้าน
การหน้าด้านบ่สูตรบ่เฮียน                 ยามพากเพียรเป็นคุณเป็นมิตร
ไปเบื้องหน้ามันซิดมันซน                มันให้จนฆ่าเศิกบ่มั่ว
คิดให้ทั่วเฮียนศาสตรศิลป์                อย่าถวิลยามเฮียนมันยาก
แสนลำบากดังดื่มยาขม                   คันสะสมสูตรเฮียนฉลาด
เป็นนักปราชญ์ภายหน้าชื่นชม            การหลับนอนสูตรเฮียนขี้ค้าน
อยู่แต่บ้านยามค้านชื่นชม                ปานเฮากินของหวานของส้ม
ตกเถิงท้องลงท้องเกิดลม               บ่มีสมความสุขเขินขาด
ความประมาทคือง่วนกินตาย            คนทั้งหลายอย่าลวนเกียจค้าน
 ๕๗. คนเกียจค้านไฮ่ศาสตรศิลป์           ศาสตรศิลป์บ่มีจนยาก
ทรัพย์เขินขาดมิตรญาติเสื่อมหาย            มิตรเสื่อมหายความสุขมันขาด
 ๕๘. คนประมาทโลภทรัพย์เข้าของ         โลภเงินทองหาศีลบ่ได้
คนผู้ใบ้โลภชิ้นโลภปลา                       ขาดกูร์ณาเมตตาเป็นค่า
คนโลภเหล้าโลภฝิ่นกัญชา                   ขาดสัจจาหาจริงบ่ได้
คนฮ่อนไหม้มักโลภเสพกาม                 ขาดความงามหาอายบ่ได้
 ๕๙. เพิ่นกล่าวไว้คนมืดใจดำ        คนอธรรมทั่วเมืองทั่วบ้าน
นักปราชญ์ค้านคนนั้นบ่ไป            อุปไมยช่างตัดช่างย้อม
บ่ห่อนอ้อมเข้าบ้านคนจน            บ่มีผลเดินไปเสียเปล่า
 ๖๐. บ้านเมืองเปล่าของ ๕ ประกา         หนึ่งสถานเงินทองมีมาก
สองบ่ยากประเทศสำฮาญ                   เป็นสถานมีสมณ์นักปราชญ์
สามพระราชตั้งอยู่คลองธรรม               สี่มีลำนัททีแม่น้ำ
ห้ามีซ้ำหมอเวชหมอยา                     นะคะราเมืองใดทุกเทศ
ของวิเศษทั้ง ๕ บ่มี                         นักปราชญ์หนีบ่ไปหลีกเว้น
 ๖๑. ให้ฮุ่งฮู่ทางห่อมทำคุณ           ให้ทำบุญน้ำขุนนักปราชญ์
เพิ่นฉลาดทำน้อยบ่หาย                ดังเขียนลายในหินบ่หล่า
อย่าได้กล้าบังอาจทำคุณ              กระทำบุญเกื้อกูลยกย่อง
ในพวกพ้องคนถ่อยคนพาล            บ่มีนานคุณหายคุณขาด
เป็นดังปาดหลังน้ำขีดเขียน            บ่เสถียรมั่นคงพอมื้อ
 ๖๒. ฝูงคนดื้อฝูงถ่อยฝูงพาล       ไผให้ทานเกื้อกูลเกิดโทษ
บ่ประโยชน์คือนาคคืองู              ไผอิดูนมงัวมาเลี้ยง
พิษยิ่งฮ่อนแฮงฮ่ายกว่าหลัง         ผู้ใดฟังคำสอนฮ่ำฮู่
 ๖๓. คึดฮ่ำฮู่ในเหตุ ๒ ประการ      วัตถุทานบ่เป็นประโยชน์
เป็นแต่โทษดูดังมีคุณ                 ของเป็นคุณเป็นบุญห่างโทษ
มีประโยชน์ดูดังของเสีย              ดูบ่เถิงจักเป็นอุบาทว์
ไผประมาทจะเกิดจิบหาย            ลูกผู้ชายตรึกตรองให้แน่
 ๖๔. คึดให้แน่จักฮู่หลายอัน           คุณมหันต์อนันต์อเนก
เป็นของเอกทรัพย์สิ่งเงินทอง           ของอาจารย์บัณฑิตนักปราชญ์
เพิ่นฉลาดมีน้อยจ่ายทาน               เป็นอาหารเกื้อกูลติดต่อ
ดังน้ำบ่อน้ำส่างกินหวาน                 บ่เป็นการเข้าของคนใบ้
มันเก็บไว้แวนมากแวนหลาย              ความเสียดายกินทานบ่ได้
ความฮ่อนไหม้ตัวใช้บ่ลง                อานิสงส์บ่มีถ่อก้อย
หลายเป็นน้อยคือน้ำทะเล                อุปเทอาบกินบ่ได้
 ๖๕. เข้าของใช้คนถ่อยคนหลง        สมประสงค์คนพาลคนฮ่าย
เพิ่นกล่าวไว้คือหมากสะเดา            รสขมเมาโผดกาพอได้
 ๖๖. เพิ่นเปรียบไว้แม่น้ำบึงหนอง      บ่ห่อนปองดูดกินยังน้ำ
ความเปรียบซ้ำต้นไม้มีผล              บ่ห่อนคนเคี้ยวกินลูกไม้
ยังเปรียบไว้คือดังน้ำฝน                บ่ประจนเคี้ยวกินเข้ากล้า
เปรียบเมือหน้าคือดังเงินทอง           ของบัณฑิตบ่ปิดบ่ซ่อน
บ่เดือดฮ่อนกินได้ทั่วไป
 ๖๗. กรรมสำคัญคนทำชาตินี้      มักจักชี้ผลให้ต่อไป
อุปไมยดังผลของปลูก              มันมีลูกตามกิ่งตามลำ
เหตุคนทำพวนดินหดน้ำ            คึดซ้ำซ้ำคำนี้ชอบกล
 ๖๘. เข้าของตนสร้างสมเก็บไว้      ตามส่งได้ยามเมื่อเฮาตาย
บ่ไปไกลเพียงเฮือนเฮาอยู่            ฝูงเพื่อนหมู่มิตรญาติสหาย
ตามคนตายพาเถิงป่าเข้า               บุญบาปกล้าเฮาก่อเฮาทำ
จักไปนำทุกหนทุกแห่ง                บ่แข่งเว่าคำนี่แม่นจริง
 ๖๙. ศาสตรศิลป์ในตนเป็นทรัพย์   เข้าของมากนับโกฏิบ่ปาน
โรคภัยพาลฆ่าเศิกบ่เปรียบ          ฮักตนเทียบฮักอื่นบ่มี
กำลังกามมีเหลือพันเขต             มีฤทธิ์เดชแต่งได้ทุกอัน
 ๗๐. คุณพอพันโทษเดียวมันแพ้      พันแม่น้ำน้ำใหญ่คงคา
สมุททาแห่งเดียวมันมาก              ดวงดาวหลากมีมากพอพัน
สู้พระจันทร์ดวงเดียวบ่ได้             เฮือบ่ไฮ้น้อยใหญ่พอพัน
สู้สำเภาเล่มเดียวยังยาก              หินมีมากอเนกพอพัน
แก้วดวงเดียวยังทันหินมาก           ของบ่ยากฟังให้เกิดผล
 ๗๑. กิจของคนข่อยทำอย่าฮีบ       อย่าเร่งรีบมี ๕ ประการ
๑ วิชาค่อยเฮียนข่อยได้               ๑ ขึ้นไม้อย่าฟ่าวจากถอย
๑ ขึ้นดอยค่อยเดินซ่าซ่า              ๑ ชายกล้าการเสพเมถุน
อย่าฉุนเฉียวข่อยทำอย่าโพด          ๑ เมื่อโกรธข่อยหิ่นข่อยตรอง
 ๗๒. คึดให้ถ่องคนพาลคนใบ้    ครูสอนให้ความฮู่บ่จำ
แต่สำคัญว่าตัวฉลาด              มักบังอาจอยากเฮ็ดเทียมครู
บ่อุส์สูวาศเชิงมันเก้อ             เป็นเพ่อเว่อขายหน้าผู้ดี
 ๗๓. เมธาวีชาติชายฉลาด       บ่ประมาทมักให้ยังทาน
ศาสตรศิลป์ตนเฮียนอย่าเบื่อ     มักไขเพื่อฮักษาอินทรีย์
มีสติในตัวอย่าขาด                มันฉลาดโพธีปักขีย์
ให้ยินดีหมั่นเพียรจำไว้             มักอยากให้พ้นโลกทั้งสาม
ตัวของมันกลิ่นสียังต่าง            ความบ่ห่างเปรียบไว้ให้เห็น
 ๗๔. ชาติคนพาลบัณฑิตเพิ่นเว้น       เหตุมันเล่นมันหลอกเหลวไหล
เป็นดังไหน้ำเต็มบ่เพียบ                  คนยกเทียบขึ้นใส่บนหัว
เดินกวยตัวเฟือดฟงกับกอก             เพิ่นชี้บอกคือปากคนพาล
 ๗๕. คนสามานใจคอชั่วฮ่าย            เข้าเครื่องย่องเฮียนฮู่ศาสตร์ศิลป์
ใจทมิฬบัณฑิตบ่ใกล้                     เพิ่นเปรียบไว้งูเห่างูสา
ไผกูร์ณาประดับด้วยแก้ว                  พิษที่แข่วยังฮ่ายอย่างเดิม
 ๗๖. คำสอนเดิมพิษงูว่าฮ้าย        พิษคนฮ้ายยังฮ่ายกว่างู
เหตุพิษงูหว้านยาแก้ได้              พิษคนฮ้ายสังแก้บ่หาย
 ๗๗ เถิ่งอุบายเฮียนธรรมฉลาด          บ่มีอาจล้างถ่อยคนพาล
มีประการสะเดาขมจ้อย                   เอาน้ำอ้อยหดต้นบ่หวาน
 ๗๘. ชาติคนพาลใจดำใจถ่อย           สอนแต่น้อยจนเฒ่าบ่หาย
อุปมาสะเดาขมฝาด                         แม่นหดสาดน้ำเผิ่งน้ำนม
แต่ปัดถมยังจาวยังหน่อ                 แต่มันก่อต้นน้อยขึ้นไป
สิ้นพันไหน้ำนมน้ำอ้อย                     ความหวานน้อยในต้นบ่มี
 ๗๙. คนบ่ดีเป็นวงศ์เป็นญาติ              เกิดอุบาทว์พี่น้องจิบหาย
บัวจักตายใบบัวบอกเหง่า                   คนจึงเข้าขุดเหง่าหัวบัว
 ๘๐. ชาติดอกบัวอุบลปลาเต่า       ตมแลน้ำแดนเกิดเดียวกัน
ตัวของมันกลิ่นสียังต่าง               ความบ่ห่างเปรียบไว้ให้เห็น
 ๘๑. คนเป็นเข็ญจังไฮอุบาทว์        กับนักปราชญ์ห่วมท้องเคยมี
คนอัปปรีย์จังไฮนอกเขต              กันเศลษ ๒ สิ่งคือกัน
เศลษาตันคอตายบ่น้อย             ให้เฉลียวข่มเหงคนถ่อย
เพียรเว่าข่อยคำม่วนคำหวาน            เศลษพานยาเผ็ดยาฮ่อน
กินเคิ่งซ่อนหายได้ดังหมาย
 ๘๒. ลมทั้งหลายเกิดเป็นพยาธิ์         หมอฉลาดแต่งแก้ยังหาย
คนบ่ดีบัณฑิตปัวบ้า                        ด้วยคำกล้าคำอ่อนคำแข็ง
เป็นดังหมอแต่งยาแก้โรค                หายเศร้าโศกลงด้วยอุบาย
 ๘๓. คนทั้งหลายผู้ซายผู้ใบ้           เพิ่นเปรียบไว้อากาศเกิงกัน
เหตุใจมันกว้างขวางมักมาก            อาศัยยากมันโลภมันหลง
มันประสงค์บ่สมใจมันเกลียด          มันบังเบียดฆ่าได้ทั้งเมือง
 ๘๔. ชาติคนเคืองคนพาลคนใบ้         เพิ่นเปรียบไว้หนามเกิดตามดิน
ย่านปักตีนฟันหนามบ่แพ้                  ทางจักแก้เอาเกิบสุบตีน
หนามตามดินปักตีนบ่ได้                  เพิ่นเปรียบให้ตัวเจ้าหลีกเอง
 ๘๕. ดูเพงหมาเห็นหมายิ่งแข่ว              เข้าใกล้แล้วเคี่ยวคาบกัดกัน
คนอะธรรมใจดำใจโกรธ                      มักหาโทษใส่ท่านคนดี
 ๘๖. มักปีติยินดีแต่โทษ             คนสาโหดคือดังสุกร
มันออนซอนอาจมของเหน่า         นักปราชญ์เจ้าถือแต่ทางคุณ
ปุนดังหงส์ชอบลงแต่น้ำ
 ๘๗. คนถ่อยซ้ำชอบโทษสู่อัน       คือแมงวันชอบแต่ของเหน่า
คนถ่อยเหล่าชอบแต่ผิดเถียง          เพียงดังหนอนชอบฝีชอบบาด
 ๘๘. นักปราชญ์เจ้าชอบแต่ความดี           พระภูมีชอบเงินชอบทรัพย์
คนระงับชอบแต่นิพพาน                      มีประการแมงเพิ่งแมงภู่
ชอบแต่หมู่ดอกไม้ของหอม
 ๘๙. ให้ซอมดูคนพาลคนถ่อย     ปากอร่อยฟังหม่วนฟังใส
ภายในใจมันขมมันเบื่อ              คือหมากเดื่อภายนอกสุกใส
ส่วนภายในแต่หนอนแมงหวี่
 ๙๐. ชาติหมากมี่หมากเงาะทุเรียน         เพียรดูไปแต่หนามภายนอก
ผ่าออกแล้วหอมกลิ่นกินหวาน            ควรเปรียบปานใจคอนักปราชญ์
เพิ่นฉลาดใจสุ่มเย็น                  คนแลเห็นแต่ไกลน่าย่าน
 ๙๑. อย่าดื้อด้านคิดคบคนพาล            มันบ่นานพาลติดพาลต่อ
คือหญ้าห่อปลาเน่าปลาเหม็น            ของเป็นเข็ญเหม็นติดฮอดหญ้า
 ๙๒. คนชั่วช้าคบเสพบัณฑิต            คุณบ่ติดดังกบดังเขียด
นอนอยู่เบียดกับต้นกอบัว                อยู่บนหัวกลิ่นบัวบ่ต้อง
ภุมมเรศบินถ่องทางไกล                 มาเอาไปเกษรติดเนื้อ
 ๙๓. พวกชาติเชื้อคนถากคนตัด         เว้นบรรทัดความซื่ออย่าวอน
พวกช่างกลึงภมรเป็นแบบ                 ผู้ฉลาดนักปราชญ์เป็นครู
 ๙๔. คนหาดีเว้นครูบ่ชอบ           ให้หมั่นสอบหมั่นเล่าหมั่นเฮียน
อย่าติเตียนครูตนยกย่อง             เฮ็ดถืกต้องคุณแต่งคุณสม
 ๙๕. เปือะแลตมน้ำสมให้เกิด           เปือะตมเลิศด้วยน้ำให้เป็น
บาปและเวรหัวใจให้เกิด                   บาปบ่เกิดมีได้เพราะใจ
 ๙๖. บทต่อไปบอกฝอยผู้แต่ง      คำเพิ่นแบ่งออกไว้บ่ยาว
บอกคำขาวคาถาฝูงนี้                  ชี้ความฮู่ทางห่อมบัณฑิต
พุทธโฆสะประดับตกแต่ง             แบ่งออกไว้เพียง ๑๐๐ คาถา
นิฏฐิตาจบลงถ่อนี้                      เฮาจักชี้ต้นขาดฉบับหาย
แต่เฮาบายแบบมาแต่งกาพย์         นับดูได้เพียงเก้าสิบหก
หายขาดตกหาเอาบ่ได้               คิดใจ้ใจ้ถอยหน่าถอยหลัง
อนิจจังขาดเสีย ๔ ข้อ                 ค้นบ่พ่อแบบเก่าหลายปี
ประมาณดูว่าพันปีได้                 ตั้งแต่นี้เมื่อหน้านับเอา
นับแต่เฮาแต่งเสร็จเป็นกาพย์       เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ วันจันทร์
วันที่ ๖ เมษาปีวอก                   ชี้บอกไว้ฮ่อยยี่สิบเอ็ด
สำเรทธิศก ร.ศ. ศักราช นักปราชญ์พ่อเพียรชี้ส่อยสอน แด่เนอฯ
(ข้อมูลธรรมะประกอบเนื้อหา : ร.ศ. ๑๒๑ ตรงกลับ พ.ศ. ๒๔๔๔)

การอบรมพระวิปัสสนาจารย์ รุ่นที่ ๗ ประจำปี ๒๕๕๙ คณะธรรมยุต

การอบรมพระวิปัสสนาจารย์ 
คณะธรรมยุต รุ่นที่ ๗ 
จัดอบรม ณ วัดสระกะเทียม อ.เมือง จ.นครปฐม 
ในวันที่ ๑-๒๐ มีนาคม ๒๕๕๙
มีพระภิกษุตัวแทนจาก ๓๘ จังหวัด จำนวน ๗๓ รูปเข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้
ภาพวีดีทัศน์ถูกรวบรวมจัดทำและถ่ายทอดภาพกิจกรรมที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันในแต่ละวัน ตลอดระยะเวลา ๒๐ วัน จนจบหลักสูตร



ในส่วนของเนื้อหาวิชาการที่มิได้มีในเนื้อหาของวีดีทัศน์นั้น จะขอกล่าวสรุปไว้ดังนี้คือ
การอบรมพระวิปัสสนาจารย์ เป็นโครงการผลิตพระภิกษุให้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านวิปัสสนาธุระ เพื่อเป็นพระอาจารย์สอนการทำวิปัสสนาได้อย่างถูกต้อง ตรงแนวทางคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ดังนั้นเนื้อหาสาระในทางด้านวิชาการ คือด้านคันถะธุระ จึงเน้นเนื้อหาเรื่อง อริยสัจจ์ ๔, มรรคมีองค์ ๘ , สติปัฎฐาน ๔, ปฏิจจสมุปบาท และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เป็นหลัก อันเป็นหัวข้อธรรมที่จะนำไปสู่การตรัสรู้ หรือการบรรลุธรรมคือพระนิพพานเป็นหลัก
แต่การอบรมก็มิได้ขาดเครื่องประกอบ เช่น จริต ๖, กรรมฐาน ๔๐, ธุดงค์ ๑๓ , วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ เพราะถ้าเรารู้จักทางเดิน คือมรรค แต่ไม่รู้จักตนเองคือ จริต ก็ไม่อาจแก้ไขตนเองได้ แม้รู้จริตตน แต่ไม่รู้จักกรรมฐานที่เป็นที่สบายแก่การแก้ไขตน ก็ยากจะแก้ไขได้ แม้ได้แนวทางแล้ว แต่ไม่รู้จักข้อธุดงค์ กิเลสอันละเอียด ก็ไม่สามารถจะถ่ายถอนออกได้ เนื้อหาหลักสูตรจึงต้องจัดสรรให้ครอบคลุม 
และหากมีแต่ปริยัติ คือการฟังเนื้อหาการบรรยายอย่างเดียว แต่ไม่รู้จักการปฏิบัติภาวนา ผลอันคือ ปฏิเวธ ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้
โครงการฯ จึงจัดให้ภาคเช้า เป็นการฝึกปฏิบัติ โดย อาราธนาพระผู้ปฏิบัติตนอย่างเข้มแข็งเป็นที่ยอมรับของประชาชนมานำการปฏิบัติในภาคเช้าทุกวัน
เมื่อพระวิปัสสนาจารย์ทุกรูปได้รับการถ่ายทอดเนื้อหาสาระในหลักสูตรนี้แล้ว จึงเหมาะควรแก่การปฏิบัติหน้าที่เป็นครูอาจารย์สั่งสอนทั้งพระภิกษุฆารวาสญาติโยม ตามสถานที่ปฏิบัติธรรมได้ อย่างตรงตามแนวเนื้อหาที่มีมาในพระไตรปิฎก..
......
เหตุผลในการจัดอบรมของสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ คือ..
นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวถวายรายงานการจัดงานว่า สืบเนื่องจากคณะสงฆ์โดยมหาเถรสมาคม มีนโยบายสนับสนุนการสร้างและพัฒนาพระวิปัสสนาจารย์  ให้มีเอกภาพในการสอนและให้มีสถานที่ผึกปฏิบัติธรรมกระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงได้ออกระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พุทธศักราช ๒๕๔๓ ขึ้น เป็นระเบียบควบคุมเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิปัสสนาธุระหรือการปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานให้เป็นไปตามหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งปัจจุบันมีสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดที่ได้รับการจัดขึ้นตามระเบียบดังกล่าวแล้ว  จำนวน ๑,๐๐๑ แห่ง แต่จากการสำรวจผลดำเนินงานของสำนักปฏิบัติธรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมา พบว่าปัญหาซึ่งเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานของสำนักปฏิบัติธรรมที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดพระวิทยากรที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอน จึงทำให้การดำเนินงานของสำนักปฏิบัติธรรมไม่เป็นไปตามจุดหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ได้ผลแห่งการปฏิบัติเต็มที่ เพราะการจะประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานของสำนักปฏิบัติธรรมแต่ละแห่งนั้น นอกจากจะมีเจ้าอาวาสหรือเจ้าสำนักเป็นผู้บริหารจัดการทีดี มีสถานที่ที่มีความเป็นรมณียสถานแล้ว ต้องมีพระวิทยากรผู้ฝึกอบรมปฏิบัติธรรมเพียงพอและประจำอยู่ ซึ่งวิยากรผู้อบรมปฏิบัติธรรมแก่ประชาชนชาวบ้านที่ดีที่สุดนั้น ต้องเป็นพระภิกษุผู้ได้ผ่านกระบวนการฝึกอบรมวิชากัมมัฏฐานโดยตรง ซึ่งพระวิทยากรที่ว่านี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกำหนดเรียกว่า พระวิปัสสนาจารย์ ดังนั้น สำนักปฏิบัติธรรมและพระวิปัสสนาจารย์ จึงนับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการปฏิบัติธรรม และเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมการปฏิบัติธรรม เพื่อแก้ปัญหาโรคทางใจของสังคมไทยให้สำเร็จผลตามที่มุ่งหมาย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ พระวิปัสสนาจารย์ จึงเป็นบุคลากรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่คณะสงฆ์และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจำต้องปรารถนา และต้องเร่งระดมส่งเสริมสนับสนุนสร้างให้เพิ่มจำนวนและพัฒนาให้มีคุณภาพ เพื่อรองรับในการแก้ปัญหาความทุกข์ทางใจของคนในสังคมไทย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงจัดตั้งโครงการฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์ขึ้น โดยมีเป้าหมายเป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้ผ่านการฝึกอบรม ปีละ ๕๔๐ รูป

จากวิชาพระพุทธศาสนา ม.๖ เรื่องหน้าที่ของชาวพุทธ
.....
ชาวพุทธคือ ผู้ที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ประกอบด้วย นักบวช คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยเรียกรวมๆว่า พุทธบริษัท 4 ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
                        1. กลุ่มสงฆ์ แยกเป็น พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีสงฆ์
                        2. กลุ่มคฤหัสถ์ แยกเป็นอุบาสก และอุบาสิกา
                        ชาวพุทธทั้ง 2 กลุ่ม ต่างมีหน้าที่และบทบาทต่อพระพุทธศษสนาแตกต่างกัน ดังนี้


1. หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุในฐานะเป็นพระนักเทศน์ พระธรรมฑูต พระธรรมจาริก พระวิทยากร พระวิปัสสนาจารย์ และพระนักพัฒนา
                       ทั้งพระภิกษุและสามเณร มีบทบาทและหน้าที่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดังนี้
              1.1   การศึกษาตามหลักไตรสิกขา คือ จะต้องศึกษาทั้ง 3 ด้าน
                       (1)  ศีล เป็นการศึกษาด้านพระวินัย (ศีล 227 ข้อ) ธรรมเนียม วัตรปฏิบัติ และมารยาทต่าง ๆ ของพระสงฆ์ เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและด้วยอาการสำรวมระวัง
                       (2)  สมาธิ เป็นการศึกษาด้านสมาธิ ฝึกเจริญวิปัสสนาเพื่อให้จิตสงบ
                       (3)  ปัญญา เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาด้านปัญญา โดยใช้ปัญญาคิดพิจารณาให้เข้าใจถึงสัจธรรมหรือความจริงของชีวิต รวมทั้งเป็ฯเครื่องมือดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหาชีวิตต่าง ๆ
              1.2   เป็นพระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี 2 ประเภท คือ
                       (1)  พระนักเทศน์แม่แบบ หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง
เพื่อไปจัดอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัด
                       (2)  พระนักเทศน์ประจำจังหวัด หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมปฏิบัติหน้าที่เทศน์ภายในจังหวัดที่สังกัดหรือสถานที่ที่ทายกอาราธนา
นอกจากนั้น พระภิกษุทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถ ก็สามารถเป็นพระนักเทศน์ได้ โดยให้การสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ
ต้องมีความรู้ทางด้านธรรมเป็นอย่างดียิ่ง

              1.3   เป็นพระธรรมฑูต เป็นพระภิกษุที่ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธสาสนาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ในนามคณะสงฆ์ ถ้าเผยแผ่เอง เรียกว่าธรรมกถึก หรือพระนักเทศน์
              1.4   เป็นพระธรรมจาริก ได้แก่ พระภิกษุที่ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวเขา โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ และกรมประชาสงเคราะห์ โดยการปฏิบัติงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขาเผ่าต่างๆ รวม 6 เผ่า ได้แก่ ม้ง เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ และกระเหรี่ยง ณ สถานที่ต่างๆ ในภาคเหนือ
               1.5   เป็นพระวิทยากร ได้แก่ พระภิกษุผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อบรมให้ความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป และเป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชน ตลอดจนถึงการจัดอบรมต่างๆ ตามที่คณะสงฆ์มอบหมาย หรือหน่วยงานนั้นๆ ขอความอนุเคราะห์
นอกจากนั้น พระวิทยากร ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี มีทักษะความคล่องตัวในการสอนตามเนื้อหาวิชาเฉพาะที่ได้รับมอบหมาย มีการเตรียมการล่วงหน้า มีสุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีบุคลิกลักษณะดี และเหมาะสมเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสุภาพอ่อนโยน และมีศรัทธาในเรื่องการอบรมอย่างแท้จริง มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบดีไม่หลีกเลี่ยง และตรงต่อเวลา
               1.6   เป็นพระวิปัสสนาจารย์ ได้แก่ พระภิกษุผู้ทำการสอนการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ กล่าวคือ ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมโดยผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัด และผ่านการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์จากกรมการศาสนา
นอกจากนั้น พระภิกษุที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็อาจเผยแผ่การปฏิบัติกรรมฐานได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
               1.7   พระนักพัฒนา ได้แก่ พระสงฆ์ที่ทำงานสงเคราะห์ชุมชนด้วยการให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือชาวบ้านด้วยกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น เช่น การจัดตั้งศูนย์เด็กในวัด การอบรมเยาวชน การทำโครงการฝึกอาชีพ ธนาคารข้าว หรือการส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน ให้คำแนะนำด้านสุขอนามัย รวมทั้งการส่งเสริมชาวบ้านในเรื่องเกษตรผสมผสาน หรือเกษตรกรรมเพื่อการพึ่งตนเอง ซึ่งการทำงานดังกล่าวนี้เกิดจากความคิดริเริ่มของท่านเอง มิใช่เพราะการชักนำของหน่วยงานรัฐหรือเพื่อสนองนโยบายรัฐ

                        พระสงฆ์เหล่านี้ได้ทำให้สังคมไทยได้ตระหนักว่า พระนั้นไม่ได้มีบทบาทเฉพาะพิธีกรรมแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ท่านยังมีบทบาทที่สำคัญในพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีอีกด้วย
....

การเข้าใจในกิจของพระภิกษุ 

    เช่น การศึกษา การปฏิบัติธรรม และการเป็นนักบวชที่ดีพระภิกษุเป็นพุทธบริษัทระดับนำ จึงมีภาระหน้าที่ในการสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยทำหน้าที่หลักใหญ่ ๆ 3 ประการคือ

                1. การศึกษา ได้แก่ การทำ “คันถธุระ” หมายถึง พระภิกษุจะต้องศึกษาหลักพระธรรมวินัยตามพระคัมภีร์พระไตรปิฎก
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัย อย่างถูกต้อง สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสมณเพศ 

                  2. การปฏิบัติ ได้แก่การทำ “วิปัสสนาธุระ” หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตให้เป็นสมาธิ ให้มีพลัง เพื่อนำไปใช้ในการข่ม
หรือกำจัดกิเลสคือความเศร้าหมองแห่งจิต และให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง จากการทำหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ส่วนตนทั้ง 2 ประการนั้นก็เพื่อนำไปสั่งสอน ถ่ายทอด และเผยแพร่พระธรรม แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลทั่วไปการสั่งสอนและเผยแพร่พระธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของพระภิกษุในการเผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้พุทธศาสนิกชน และบุคคลทั่วไป ได้เข้าใจในหลักธรรมและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนเองและสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นการทำประโยชน์แก่สังคมโดยรวม 

             ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 พระพุทธเจ้าได้ตรัสหน้าที่ของพระสงฆ์ในการสั่งสอนเผยแพร่หลักธรรมแก่ประชาชนไว้ 6 ประการคือ

            1) สอนให้ละเว้นความชั่ว คือ การชักจูงใจให้บุคคลพึงละเว้นจากสิ่งที่กระทำลงไปแล้วเกิดโทษ ไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น 
ทำให้เกิดเป็นความทุกข์

            2) สอนให้ทำความดี คือ การชักจูงใจให้บุคคลประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น สิ่งที่เป็นกุศล เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข 

            3) อนุเคราะห์ด้วยจิตใจอันงาม หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ และแนะนำสั่งสอนด้วยความปรารถนาดี มุ่งประโยชน์ที่บุคคลถึงได้รับเป็นสำคัญ ไม่หวังสินจ้างรางวัล ลาภ ยศ หรือชื่อเสียงใด ๆ เป็นการตอบแทน

            4) สอนสิ่งที่เขาไม่เคยสดับตรับฟังมาก่อน ประชาชนส่วนมากมักวุ่นวายอยู่กับการทำมาหาเลี้ยงชีพ ไม่ค่อยมีเวลาศึกษาและสดับพระธรรม พระสงฆ์ผู้ได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติมากกว่าชาวบ้าน จึงต้องนำเอาสิ่งที่ตนเรียนรู้มาถ่ายทอดให้เขาได้รู้ด้วย

             5) อธิบายสิ่งที่เขาได้ยินได้ฟังมาแล้วให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น บางเรื่องที่เขาฟังมาแล้วเกิดความสงสัยไม่แน่ใจ ก็ต้องชี้แจงให้เขาเข้าใจแจ่มแจ้งหายสงสัย โดยรู้จักการจับประเด็นที่สำคัญมาขยาย และชี้แจงแต่ละประเด็นให้ชัดเจน

             6) บอกทางสวรรค์ให้ หมายถึง การบอกทางสุข ทางเจริญ โดยการแนะนำทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม และเป็นประโยชน์สุขแก่ประชาชน

          3. การเป็นนักบวชที่ดี พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน ดังที่กล่าวมาแล้ว พระภิกษุจะต้องเป็นผู้สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย นอกจากอนุเคราะห์พุทธศาสนิกชนแล้ว พระภิกษุจะต้องหมั่นพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาเตือนใจตนเองอยู่เสมอตามหลัก ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ) 10 ประการดังนี้คือ

           3.1 เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะถือเอาแต่ใจตนเองไม่ได้
           3.2 ความเป็นอยู่ของเราต้องอาศัยผู้อื่นในการเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา
           3.3 เรามีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ พระภิกษุต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้
           3.4 ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           3.5 เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ 
           3.6 เราจักต้องถึงความพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น
           3.7 เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น
           3.8 วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
           3.9 เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
           3.10 คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรชิตถามในกาลภายหลัง