วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

นิสสัคคียะ ปาจิตตีย์

นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์

ดาวโหลดเพลง
สฺสคฺคิยกณฺฑํ ๓๐ (วินัยปิฏกเล่มที ๒)

 อิเม โข ปนายสฺมนฺโต ตึส นิสฺสคฺคิยา ปาจิตฺติยา ธมฺมา อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ.
 ๑. นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา อุพฺภตสฺมึ กฐิเน ทสาหปรมํ อติเรกจีวรํ ธาเรตพฺพํ ตํ อติกฺกามยโต นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๒)
 ๒. นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา อุพฺภตสฺมึ กฐิเน เอกรตฺตมฺปิ เจ ภิกฺขุ ติจีวเรน วิปฺปวเสยฺย อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๑)
 ๓. นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา อุพฺภตสฺมึ กฐิเน ภิกฺขุโน ปเนว อกาลจีวรํ อุปฺปชฺเชยฺย อากงฺขมาเนน ภิกฺขุนา ปฏิคฺคเหตพฺพํ ปฏิคฺคเหตฺวา ขิปฺปเมว กาเรตพฺพํ โน จสฺส ปาริปูริ มาสปรมนฺเตน ภิกฺขุนา ตํ จีวรํ นิกฺขิปิตพฺพํ อูนสฺส ปาริปูริยา สติยา ปจฺจาสาย ตโต เจ อุตฺตรึ นิกฺขิเปยฺย สติยาปิ ปจฺจาสาย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๓๓)
 ๔. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา ปุราณจีวรํ โธวาเปยฺย วา รชาเปยฺย วา อาโกฏาเปยฺย วา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๔๒)
  ๕. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา หตฺถโต จีวรํ ปฏิคคเณฺหยฺย อญฺญตฺร ปาริวฏฺฏกา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๔๘)
  ๖. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาตกํ คหปตึ วา คหปตานึ วา จีวรํ วิญฺญาเปยฺย อญฺญตฺร สมยา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ. ตตฺถายํ สมโย อจฺฉินฺนจีวโร วา โหติ ภิกฺขุ นฏฺฐจีวโร วา อยํ ตตฺถ สมโยติ.(๕๔)
 ๗. ตญฺเจ อญฺญาตโก คหปติ วา คหปตานี วา พหูหิ จีวเรหิ อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺย, สนฺตรุตฺตรปรมนฺเตน ภิกฺขุนา ตโต จีวรํ สาทิตพฺพํ ตโต เจ อุตฺตรึ สาทิเยยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๕๘)
  ๘. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส อญฺญาตกสฺส คหปติสฺส วา คหปตานิยา วา จีวรเจตาปนํ อุปกฺขฏํ โหติ อิมินา จีวรเจตาปเนน จีวรํ เจตาเปตฺวา อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ จีวเรน อจฺฉาเทสฺสามีติ. ตตฺร เจ โส ภิกฺขุ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย, สาธุ วต มํ อายสฺมา อิมินา จีวรเจตาปเนน เอวรูปํ วา เอวรูปํ วา จีวรํ เจตาเปตฺวา อจฺฉาเทหีติ กลฺยาณกมฺยตํ อุปาทาย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๖๒) 
 ๙. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส อุภินฺนํ อญฺญาตกานํ คหปตีนํ วา คหปตานีนํ วา ปจฺเจกจีวรเจตาปนา อุปกฺขฏา โหนฺติ, อิเมหิ มยํ ปจฺเจกจีวรเจตาปเนหิ ปจฺเจกจีวรานิ เจตาเปตฺวา อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ จีวเรหิ อจฺฉาเทสฺสามาติ. ตตฺร เจ โส ภิกฺขุ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย สาธุ วต มํ อายสฺมนฺโต อิเมหิ ปจฺเจกจีวรเจตาปเนหิ เอวรูปํ วา เอวรูปํ วา จีวรํ เจตาเปตฺวา อจฺฉาเทถ อุโภ ว สนฺตา เอเกนาติ กลฺยาณกมฺยตํ อุปาทาย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๖๖)
  ๑๐. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส ราชา วา ราชโภคฺโค วา พฺราหฺมโณ วา คหปติโก วา ทูเตน จีวรเจตาปนํ ปหิเณยฺย อิมินา จีวรเจตาปเนน จีวรํ เจตาเปตฺวา อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ จีวเรน อจฺฉาเทหีติ. โส เจ ทูโต ตํ ภิกฺขุํ อุปสงฺกมิตฺวา เอวํ วเทยฺย อิทํ โข ภนฺเต อายสฺมนฺตํ อุทฺทิสฺส จีวรเจตาปนํ อาภตํ ปฏิคฺคณฺหาตุ อายสฺมา จีวรเจตาปนนฺติ. เตน ภิกฺขุนา โส ทูโต เอวมสฺส วจนีโย น โข มยํ อาวุโส จีวรเจตาปนํ ปฏิคฺคณฺหาม จีวรญฺจ โข มยํ ปฏิคฺคณฺหาม กาเลน กปฺปิยนฺติ. โส เจ ทูโต ตํ ภิกฺขุํ เอวํ วเทยฺย อตฺถิ ปนายสฺมโต โกจิ เวยฺยาวจฺจกโรติ. จีวรตฺถิเกน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา เวยฺยาวจฺจกโร นิทฺทิสิตพฺโพ อารามิโก วา อุปาสโก วา เอโส โข อาวุโส ภิกฺขูนํ เวยฺยาวจฺจกโรติ. โส เจ ทูโต ตํ เวยฺยาวจฺจกรํ สญฺญาเปตฺวา ตํ ภิกฺขุํ อุปสงฺกมิตฺวา เอวํ วเทยฺย, ยํ โข ภนฺเต อายสฺมา เวยฺยาวจฺจกรํ นิทฺทิสิ สญฺญตฺโต โส มยา อุปสงฺกมตุ อายสฺมา กาเลน จีวเรน ตํ อจฺฉาเทสฺสตีติ. จีวรตฺถิเกน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา เวยฺยาวจฺจกโร อุปสงฺกมิตฺวา ทฺวิตฺติกฺขตฺตุํ โจเทตพฺโพ สาเรตพฺโพ อตฺโถ เม อาวุโส จีวเรนาติ. ทฺวิตฺติกฺขตฺตุํ โจทยมาโน สารยมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย, อิจฺเจตํ กุสลํ โน เจ อภินิปฺผาเทยฺย จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกฺขตฺตุํ ฉกฺขตฺตุปรมํ ตุณฺหีภูเตน อุทฺทิสฺส ฐาตพฺพํ, จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกฺขตฺตุํ ฉกฺขตฺตุปรมํ ตุณฺหีภูโต อุทฺทิสฺส ติฏฺฐมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย, อิจฺเจตํ กุสลํ โน เจ อภินิปฺผาเทยฺย, ตโต เจ อุตฺตรึ วายมมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ, โน เจ อภินิปฺผาเทยฺย, ยตสฺส จีวรเจตาปนํ อาภตํ ตตฺถ สามํ วา คนฺตพฺพํ ทูโต วา ปาเหตพฺโพ, ยํ โข ตุเมฺห อายสฺมนฺโต ภิกฺขุํ อุทฺทิสฺส จีวรเจตาปนํ ปหิณิตฺถ, น ตํ ตสฺส ภิกฺขุโน กิญฺจิ อตฺถํ อนุโภติ ยุญฺชนฺตายสฺมนฺโต สกํ มา โว สกํ วินสฺสาติ. อยํ ตตฺถ สามีจีติ.(๗๐)

 จีวรวคฺโค ปฐโม.

 ๑๑. โย ปน ภิกฺขุ โกสิยมิสฺสกํ สนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๗๔)
  ๑๒. โย ปน ภิกฺขุ สุทฺธกาฬกานํ เอฬกโลมานํ สนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๘๘)
  ๑๓. นวํ ปน ภิกฺขุนา สนฺถตํ การยมาเนน เทฺว ภาคา สุทฺธกาฬกานํ เอฬกโลมานํ อาทาตพพา ตติยํ โอทาตานํ จตุตฺถํ โคจริยานํ. อนาทา เจ ภิกฺขุ เทฺว ภาเค สุทฺธกาฬกานํ เอฬกโลมานํ ตติยํ โอทาตานํ จตุตฺถํ โคจริยานํ นวํ สนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๘๒)
  ๑๔. นวํ ปน ภิกฺขุนา สนฺถตํ การาเปตฺวา ฉพฺพสฺสานิ ธาเรตพฺพํ. โอเรน เจ ฉนฺนํ วสฺสานํ ตํ สนฺถตํ วิสฺสชฺเชตฺวา วา อวิสฺสชฺเชตฺวา วา อญฺญํ นวํ สนฺถตํ การาเปยฺย, อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๘๗)
  ๑๕. นิสีทนสนฺถตํ ปน ภิกฺขุนา การยมาเนน ปุราณสนฺถตสฺส สามนฺตา สุคตวิทตฺถิ อาทาตพฺพา ทุพฺพณฺณกรณาย. อนาทา เจ ภิกฺขุ ปุราณสนฺถตสฺส สามนฺตา สุคตวิทตฺถึ นวํ นิสีทนสนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๙๓)
  ๑๖. ภิกฺขุโน ปเนว อทฺธานมคฺคปฏิปนฺนสฺส เอฬกโลมานิ อุปฺปชฺเชยฺยุํ, อากงฺขมาเนน ภิกฺขุนา ปฏิคฺคเหตพฺพานิ ปฏิคฺคเหตฺวา ติโยชนปรมํ สหตฺถา หาเรตพฺพานิ อสนฺเต หารเก ตโต เจ อุตฺตรึ หเรยฺย อสนฺเตปิ หารเก, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๙๗)
 ๑๗. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา เอฬกโลมานิ โธวาเปยฺย วา รชาเปยฺย วา วิชฏาเปยฺย วา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๐๑)
  ๑๘. โย ปน ภิกฺขุ ชาตรูปรชตํ อุคฺคเณฺหยฺย วา อุคฺคณฺหาเปยฺย วา อุปนิกฺขิตฺตํ วา สาทิเยยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๐๕)
 ๑๙. โย ปน ภิกฺขุ นานปฺปการกํ รูปิยสํโวหารํ สมาปชฺเชยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๐๙)
  ๒๐. โย ปน ภิกฺขุ นานปฺปการกํ กยวิกฺกยํ สมาปชฺเชยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๑๓) 

..โกสิยวคฺโค ทุติโย.

 ๒๑. ทสาหปรมํ อติเรกปตฺโต ธาเรตพฺโพ ตํ อติกฺกามยโต นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๑๘)
 ๒๒. โย ปน ภิกฺขุ อูนปญฺจพนฺธเนน ปตฺเตน อญฺญํ นวํ ปตฺตํ เจตาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ. เตน ภิกฺขุนา โส ปตฺโต ภิกฺขุปริสาย นิสฺสชฺชิตพฺโพ. โย จ ตสฺสา ภิกฺขุปริสาย ปตฺตปริยนฺโต โส จ ตสฺส ภิกฺขุโน ปทาตพฺโพ อยนฺเต ภิกฺขุ ปตฺโต ยาว เภทนาย ธาเรตพฺโพติ. อยํ ตตฺถ สามีจีติ.(๑๓๐)
  ๒๓. ยานิ โข ปน ตานิ คิลานานํ ภิกฺขูนํ ปฏิสายนียานิ เภสชฺชานิ เสยฺยถีทํ สปฺปิ นวนีตํ เตลํ มธุ ผาณิตํ. ตานิ ปฏิคฺคเหตฺวา สตฺตาหปรมํ สนฺนิธิการกํ ปริภุญฺชิตพฺพานิ ตํ อติกฺกามยโต, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๔๐)
  ๒๔. มาโส เสโส คิมฺหานนฺติ ภิกฺขุนา วสฺสิกสาฏิกจีวรํ ปริเยสิตพฺพํ อฑฺฒมาโส เสโส คิมฺหานนฺติ กตฺวา นิวาเสตพฺพํ. โอเรน เจ มาโส เสโส คิมฺหานนฺติ วสฺสิกสาฏิกจีวรํ ปริเยเสยฺย โอเรนฑฺฒมาโส เสโส คิมฺหานนฺติ กตฺวา นิวาเสยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๔๖)
 ๒๕. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุสฺส สามํ จีวรํ ทตฺวา กุปิโต อนตฺตมโน อจฺฉินฺเทยฺย วา อจฺฉินฺทาเปยฺย, วา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๔๙)
  ๒๖. โย ปน ภิกฺขุ สามํ สุตฺตํ วิญฺญาเปตฺวา ตนฺตวาเยหิ จีวรํ วายาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๕๓) 
 ๒๗. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส อญฺญาตโก คหปติ วา คหปตานี วา ตนฺตวาเยหิ จีวรํ วายาเปยฺย. ตตฺร เจ โส ภิกฺขุ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต ตนฺตวาเย อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย, อิทํ โข อาวุโส จีวรํ มํ อุทฺทิสฺส วียติ อายตญฺจ กโรถ วิตฺถตญฺจ อปฺปิตญฺจ สุวีตญฺจ สุปฺปวายิตญฺจ สุวิเลขิตญฺจ สุวิตจฺฉิตญฺจ กโรถ อปฺเปวนาม มยมฺปิ อายสฺมนฺตานํ กิญฺจิมตฺตํ อนุปทชฺเชยฺยามาติ. เอวญฺจ โส ภิกฺขุ วตฺวา กิญฺจิมตฺตํ อนุปทชฺเชยฺย อนฺตมโส ปิณฺฑปาตมตฺตมฺปิ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๕๗)
  ๒๘. ทสาหานาคตํ กตฺติกเตมาสิปุณฺณมํ ภิกฺขุโน ปเนว อจฺเจกจีวรํ อุปฺปชฺเชยฺย อจฺเจกํ มญฺญมาเนน ภิกฺขุนา ปฏิคฺคเหตพฺพํ ปฏิคฺคเหตฺวา ยาวจีวรกาลสมยํ นิกฺขิปิตพฺพํ ตโต เจ อุตฺตรึ นิกฺขิเปยฺย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๖๑)
  ๒๙. อุปวสฺสํ โข ปน กตฺติกปุณฺณมํ. ยานิ โข ปน ตานิ อารญฺญกานิ เสนาสนานิ สาสงฺกสมฺมตานิ สปฺปฏิภยานิ ตถารูเปสุ ภิกฺขุ เสนาสเนสุ วิหรนฺโต อากงฺขมาโน ติณฺณํ จีวรานํ อญฺญตรํ จีวรํ อนฺตรฆเร นิกฺขิเปยฺย. สิยา จ ตสฺส ภิกฺขุโน โกจิเทว ปจฺจโย เตน จีวเรน วิปฺปวาสาย ฉารตฺตปรมนฺเตน ภิกฺขุนา เตน จีวเรน วิปฺปวสิตพฺพํ. ตโต เจ อุตฺตรึ วิปฺปวเสยฺย อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๖๕)
  ๓๐. โย ปน ภิกฺขุ ชานํ สงฺฆิกํ ลาภํ ปริณตํ อตฺตโน ปริณาเมยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๖๙)

ปตฺตวคฺโค ตติโย.

 อุทฺทิฏฺฐา โข อายสฺมนฺโต ตึส นิสฺสคฺคิยา ปาจิตฺติยา ธมฺมา. ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ทุติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ตติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ปริสุทฺเธตฺถายสฺมนฺโต ตสฺมา ตุณฺหี เอวเมตํ ธารยามีติ.

..นิสฺสคฺคิยกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ.(๑๗๒)

 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ 

ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบท เหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส. ๑.
 ๑. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว พึงทรงอติเรก จีวรได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๒. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นเสียแต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
๓. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะ เสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ ถ้าผ้านั้นมีไม่พอเมื่อความหวังว่าจะได้มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้นแม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ก็เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๔. อนึ่ง ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่าเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๕. อนึ่ง ภืกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์. 
 ๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาตินอกจากสมัย เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.สมัยในคำนั้นดังนี้, คือ ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดีนี้สมัยในคำนั้น.
  ๗. พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ปวารณาต่อภิกษุด้วยจีวรเป็นอันมาก เพื่อนำไปตามใจ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตตราสงค์ กับอันตรวาสก เป็นอย่างมาก จากจีวรเหล่านั้น.ถ้ายินดียิ่งกว่านั้นเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๘. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ตระเตรียมทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า "เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร" ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของ เขาว่า "ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรแล้วยังรูปให้ครองเถิด" ถือเอาความเป็นผู้ใคร่จีวรที่ดี,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
  ๙. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดีผู้มิใช่ญาติ ๒ คน ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆไว้เฉพาะภิกษุว่า "เราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ นี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน" ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของ เขาว่า" ดีละ ขอท่านทั้งหลายจ่ายจีวรเช่นนั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ แล้วทั้ง ๒ คนรวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผืนเดียวเถิด". ถือเอาความเป็นผู้ใคร่จีวรที่ดี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๑๐. อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับ จับจ่ายจีวรไปด้วยทูต เฉพาะภิกษุว่า "เจ้าจงจ่ายจีวร ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร" ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า "ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ นำมาเฉพาะท่านขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนั้น" ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า "พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล" ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า "ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ?" ภิกษุต้องการจีวร พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรด้วยคำว่า "คนนั้นแล เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย" ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหาเขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล" ภิกษุผู้ต้องการจีวร เข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวง พึงเตือน ๒ - ๓ ครั้งว่า "รูปต้องการจีวร" ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ ๒ - ๓ ครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้.การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้นั่นเป็นดี ถ้าสำเร็จไม่ได้, พึงเข้าไปยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้งเป็นอย่างมากเธอยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้งเป็น อย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นดี ถ้าให้ สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า" ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้น หาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ท่านจงทวงเอาคืนทรัพย์ของท่าน ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย, นี้เป็นสามีจิกรรม (คือประพฤติชอบ) ในเรื่องนั้น.

 จีวรวรรคที่ ๑ (จบ).

 ๑๑. อนึ่ง ภิกษุใดให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม, เป็นนิสสัคคิย - ปาจิตตีย์. 
 ๑๒. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน, เป็น นิสสัค คิยปาจิตตีย์. 
 ๑๓. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วนขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓,ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔,ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ให้ทำสันถัตใหม่,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๑๔. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ปี ถ้าหย่อนกว่า ๖ ปี เธอสละเสียแล้วก็ดียังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๑๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งพึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า เพื่อทำให้เสียสี, ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่ง สันถัตเก่า ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.   ๑๖. อนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทาง ภิกษุต้องการ พึงรับได้, ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์ เป็นอย่างมาก ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
  ๑๗. อนึ่ง ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
  ๑๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ไม่ดี ทองเงิน หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๑๙. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ มีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๒๐. อนึ่ง ภิกษุใดถึงการซื้อและการขายมีประการต่างๆ เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์

 โกสิยวรรคที่ ๒ (จบ)

 ๒๑. พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่งภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๒๒. อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีรอยร้าวน้อยกว่า ๕ นิ้ว ให้จ่ายบาตรอื่นใหม่เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ภิกษุนั้นพึงสละบาตรนั้น ในภิกษุบริษัท,บาตรใบสุดท้ายแห่งภิกษุในบริษัทนั้น พึงมอบให้แกภิกษุนั้น สั่งว่า "นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้ (คือใช้) กว่าจะแตก." นี้เป็นสามีจิกรรม (คือการชอบ) ในเรื่องนั้น.
  ๒๓. อนึ่ง มีเภสัช อันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย,ภิกษุรับ (ประเคน) ของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
  ๒๔. ภิกษุ (รู้) ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนได้ (รู้) ว่าฤดูร้อยยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้ ถ้าเธอ (รู้) ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า๑ เดือนแสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝน (รู้) ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือนทำนุ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 
 ๒๕. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธน้อยใจชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 
 ๒๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวร เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์
 ๒๗. อนึ่ง พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวร เฉพาะภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้ว ถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่า จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป ขอท่านจงทำให้ยาว ให้เป็นของขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของ ที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี แม้ไฉน รูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๒๘.วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือนแห่งเดือนกัตติกา (คือเดือน๑๑) ยังไม่มาอีก ๑๐ วัน อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้ว่า เป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้ ครั้นรับไว้แล้ว พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๒๙. อนึ่ง (ถึง) วันปุรณมีแห่งเดือนกัตติกาที่สุดแห่งฤดูฝน ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าเป็นที่รังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้าปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้และปัจจัยอะไรๆเพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้นจะพึงมีแก่ภิกษุภิกษุนั้น พึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง, ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๓๐. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

 ปัตตวรรคที่ ๓ ( จบ)

 ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ( สิกขาบท)
ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้นท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อเหล่านั้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์

 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จบ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น