วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อนิยตะ

อนิยตะ

ดาวโหลดเพลง

อนิยต ๒

.. อิเม โข ปนายสฺมนฺโต เทฺว อนิยตา ธมฺมา อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ.
.. ๑. โย ปน ภิกฺขุ มาตุคาเมน สทฺธึ เอโก เอกาย รโห ปฏิจฺฉนฺเน อาสเน อลงฺกมฺมนิเย นิสชฺชํ กปฺเปยฺย ตเมนํ สทฺเธยฺยวจสา อุปาสิกา ทิสฺวา ติณฺณํ ธมฺมานํ อญฺญตเรน วเทยฺย ปาราชิเกน วา สงฺฆาทิเสเสน วา ปาจิตฺติเยน วา นิสชฺชํ ภิกฺขุ ปฏิชานมาโน ติณฺณํ ธมฺมานํ อญฺญตเรน กาเรตพฺโพ ปาราชิเกน วา สงฺฆาทิเสเสน วา ปาจิตฺติเยน วา เยน วา สา สทฺเธยฺยวจสา อุปาสิกา วเทยฺย เตน โส ภิกฺขุ กาเรตพฺโพ. อยํ ธมฺโม อนิยโต.(๖๓๔)
.. ๒. น เหว โข ปน ปฏิจฺฉนฺนํ อาสนํ โหติ นาลงฺกมฺมนิยํ อลญฺจ โข โหติ มาตุคามํ ทุฏฺฐุลฺลาหิ วาจาหิ โอภาสิตุํ. โย ปน ภิกฺขุ ตถารูเป อาสเน มาตุคาเมน สทฺธึ เอโก เอกาย รโห นิสชฺชํ กปฺเปยฺย, ตเมนํ สทฺเธยฺยวจสา อุปาสิกา ทิสฺวา ทฺวินฺนํ ธมฺมานํ อญฺญตเรน วเทยฺย สงฺฆาทิเสเสน วา ปาจิตฺติเยน วา นิสชฺชํ ภิกฺขุ ปฏิชานมาโน ทฺวินฺนํ ธมฺมานํ อญฺญตเรน กาเรตพฺโพ สงฺฆาทิเสเสน วา ปาจิตฺติเยน วา เยน วา สา สทฺเธยฺยวจสา อุปาสิกา วเทยฺย เตน โส ภิกฺขุ กาเรตพฺโพ. อยมฺปิ ธมฺโม อนิยโต.(๖๔๖)
.. อุทฺทิฏฺฐา โข อายสฺมนฺโต เทฺว อนิยตา ธมฺมา. ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ทุติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ตติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ปริสุทฺเธตฺถายสฺมนฺโต ตสฺมา ตุณฺหี. เอวเมตํ ธารยามี.(๖๕๙)
.. อนิยตกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ.

อนิยตุทเทส (อนิยต ๒)
.. ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ อนิยต๒เหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส.
 ..๑. อนึ่ง ภิกษุใดผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว.อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกับมาตุคาม นั้นนั่นเทียว พูดขึ้นด้วยธรรม๓ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม๓ ประการ คือด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น นี้ธรรมชื่อ อนิยต
.. ๒. อนึ่ง สถานที่ไม่เป็นที่กำบังอะไรเลย ไม่พอที่จะทำกรรม (คือ การเสพเมถุน) ได้ แต่พอเป็นที่จะพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่ และภิกษุใดผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับด้วยมาตุคามผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้นอุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสส ก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ คือด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น แม้ธรรมนี้ก็ชื่อ อนิยต.

..ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชื่ออนิยต ๒ ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ.ข้าพเจ้าถาม แม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ.ข้าพเจ้าถาม แม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนี้เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้

.. อนิยตุทเทส จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น