หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

การบรรลุธรรมเบื้องต้นของหลวงพ่อทูล ขิปปัญโญ


ในช่วงที่ข้าพเจ้าใช้ปัญญาพิจารณาในวัตถุสมบัติอยู่นั้น ก็สังเกตใจตัวเองอยู่เสมอว่า ใจเรามีความยินดีกับวัตถุสมบัติอะไรบ้าง ดูผิวเผินปรากฏว่า ใจไม่มีความยินดียึดติดอยู่กับวัตถุสมบัติอะไรเลย แต่ในส่วนลึกของใจนั้นยังมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่ฝังอยู่ แต่ก็นึกหาในสิ่งนั้นไม่ได้ว่าหลงติดอยู่ในของสิ่งใด ในวันต่อมา ได้เดินไปดูสิ่งที่ปลูกเอาไว้ บังเอิญไปพบต้นมะม่วงที่ปลูกเอาไว้ พอสายตามองเห็นเท่านั้น ก็เกิดความรู้สึกขึ้นในใจว่า ความดึงดูดกันในระหว่างใจกับต้นมะม่วงนั้นผิดปกติมาก จึงเกิดความยินดีความยึดมั่นในต้นมะม่วงนั้นอย่างเห็นได้ชัด จึงได้อุทานขึ้นในใจว่า วัตถุสมบัติของโลกได้มารวมตัวกันอยู่ที่ต้นมะม่วงนี้แล้ว ความเหนียวแน่นในความยึดติดอยู่กับมะม่วงนั้นรู้เห็นได้ชัดทีเดียว จึงได้ทำความเข้าใจกับตัวเองว่า ถ้าใจได้ตัดขาดจากต้นมะม่วงเมื่อไร กระแสของโลกก็จะขาดจากใจไปได้ จากนั้น ก็ใช้ปัญญาพิจารณาต้นมะม่วงนั้นลงสู่การเกิดดับและไตรลักษณ์อย่างจริงจัง แล้วจึง โอปนยิโก น้อมต้นมะม่วงนั้นเข้ามาหาตัวเอง และพิจารณาตัวเอง คือ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ว่ามีการเกิดดับเหมือนต้นมะม่วงนี้ และใช้ปัญญาพิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกายให้เป็นไปตามสามัญลักษณะธาตุ คือ มีความเสมอภาคกันในอนัตตา เมื่อถึงกาลเวลาแล้วก็ต้องดับไป ทุกอย่างก็ต้องผุพังเน่าเปื่อยทับถมในแผ่นดินนี้ทั้งหมด ไม่มีอะไรจะมาเป็นตนและไม่มีอะไรจะมาเป็นต้นมะม่วงนี้อีกเลย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาอย่างนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่ ใจก็เกิดความรู้เห็นเป็นไปตามหลักความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาและก็ดับไปเป็นธรรมดา เมื่อมารู้เห็นความจริงอย่างนี้ด้วยปัญญาที่เห็นชอบแล้ว กระแสใจที่เคยยึดมั่นในต้นมะม่วงนั้นก็ขาดกระเด็นออกจากใจไปทันที ไม่มีอะไรให้ต่อเชื่อมกันได้เลย จากนั้น นึกขึ้นได้อีกว่า ยังมีมะม่วงอีกต้นหนึ่งเป็นพันธุ์ดีที่สุด จึงเดินไปดู พอสายตากระทบต้นมะม่วงเท่านั้น ก็เกิดความยึดติดกับต้นมะม่วงต้นนั้นอีก และยึดติดอย่างรุนแรงกว่ามะม่วงต้นที่ผ่านมา เหมือนกับความเหนียวแน่นของใจที่มีในต้นมะม่วงนั้นมันมีความผิดปกติอยู่มาก ๆ ทีเดียว จากนั้น ก็เริ่มใช้ปัญญาพิจารณาดังที่ได้เคยพิจารณามาแล้ว อุบายปัญญาที่เคยพิจารณาอย่างได้ผลมาแล้ว แต่บัดนี้ ไม่ได้ผลเสียเลย ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่อย่างนั้นทั้งวัน ก็ไม่ทำให้กระแสใจขาดจากความยึดติดกับต้นมะม่วงนี้ได้ ตกเย็นกลับบ้าน ได้นั่งทำสมาธิ ออกจากสมาธิก็มาใช้ปัญญาพิจารณาต้นมะม่วงนี้อีก แต่ในคืนนั้น ไม่สามารถทำให้ใจเกิดความละถอนปล่อยวางในต้นมะม่วงนั้นเลย ต่อมาในวันที่สอง ก็ใช้ปัญญาพิจารณาอีก ใจยังมีความยึดติดอย่างเหนียวแน่นตามเดิม ในคืนที่สองนี้ก็ใช้ปัญญาพิจารณาต่อไป เมื่อใช้ปัญญานาน ๆ เข้า เหนื่อยจึงหยุดพักในสมาธิไปด้วย เมื่อออกจากสมาธิก็เริ่มใช้ปัญญาพิจารณาต่อไป หลักการที่ใช้ปัญญาพิจารณาก็เป็นอุบายเดียวกัน และได้สังเกตดูใจ ตัวเองไปพร้อม ๆ กันว่ามีความละเอียดมาก จึงได้รู้เห็นการเกิดดับของต้นมะม่วงและธาตุ ๔ ของตัวเองได้อย่างชัดเจน เมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืน ก็ได้รู้เห็นเป็นไปตามหลักความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและสิ่งนั้นก็ย่อมดับไปด้วยเหตุปัจจัยในตัวมันเอง ในขณะนั้น กระแสแห่งความยึดถือของใจ ก็ได้พังทลายสูญหายออกไปจากใจในชั่วพริบตา จึงได้รู้ตัวเองว่าอยู่ในฐานะอย่างไร ฉะนั้น การปฏิบัติในอุบายการใช้ปัญญาพิจารณาในการเกิดดับ ในสรรพวัตถุธาตุทั้งหลาย ทั้งภายนอก ภายใน ใกล้ไกล หยาบ ละเอียด ทั้งสิ่งที่มีวิญญาณครอง และสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครอง ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยในตัวมันเอง ไม่มีใครบังคับให้อยู่ในอำนาจของตัวเองได้ไม่ว่าสิ่งนั้นจะชอบใจหรือไม่ชอบใจ ในคืนนั้น มีแต่ความอิ่มเอิบอยู่กับผลของการปฏิบัติธรรมตลอดคืน และรู้ชัดภายในใจว่านับจากวินาทีนี้ไป ใจเราจะไม่มีภาระในการยึดติดอยู่กับวัตถุสมบัติทั้งหลายตลอดไป เพราะใจได้ละวางในวัตถุสมบัติของโลกนี้ได้อย่างสิ้นเชิง ถึงจะแสวงหาวัตถุสมบัติมาได้ รวมทั้งสิ่งที่มีอยู่ ก็รู้สึกว่าเป็นเพียงวัตถุธาตุเท่านั้น ทุกอย่างเป็นเพียงปัจจัยสำหรับการดำรงชีวิตให้อยู่ได้ในวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น แม้ธาตุขันธ์ที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นเรา และเป็นของเรา ก็เป็นเพียงสมมติโลกที่พูดกันเท่านั้น ส่วนความจริงก็ยังเรียกกันตามโลกนิยม คำว่า สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นในรูปกายหรือรูปธาตุอื่นๆ ย่อมมีการเกิดดับตามเหตุปัจจัยในตัวมันเอง นี้คือรู้จริงเห็นจริงตามหลักความเป็นจริงใน สัจธรรมอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ความสงสัยในพระพุทธเจ้า ความสงสัยในพระธรรม ความสงสัยในพระอริยสงฆ์ ความสงสัยในผลของกรรมดีกรรมชั่ว ความสงสัยในบุญและบาป ความสงสัยในมรรคผลนิพพานก็หมดไป เพราะมารู้จริงเห็นจริงในสัจธรรมอย่างสนิทใจ เป็นความรู้เห็นที่ไม่เสื่อมคลายต่อไป ความเข้าใจผิด ความหลงผิด ก็ได้กลายเป็นอดีตไป มีแต่ความรู้เห็นที่เป็นจริงที่มั่นคงสมบูรณ์ภายในใจ เป็น นิตยทิฏฐิ คือ ความรู้เห็นที่แน่นอน ไม่มีความลังเลสงสัยอีกตลอดไป มีแต่ความอิ่มเอิบในธรรมตลอดทั้งวันทั้งคืน จะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ที่ไหน ใจย่อมมีความเบิกบานอยู่ตลอดเวลา ความลูบคลำในศีล ว่ามีความเศร้าหมองขุ่นมัวด่างพร้อย หรือศีลขาดศีลทะลุอย่างไรก็ไม่มีในใจแม้แต่น้อย นี่คือศีลที่เป็นผลสะท้อนออกมาจากธรรม เมื่อใจมีธรรมและธรรมฝังใจอย่างแนบแน่นแล้ว ผลคือ ความละอายในการทำชั่ว ในการพูดชั่ว และการคิดชั่วจะมีมาจากที่ไหน นี่คือศีลที่เกิดจากธรรมโดยตรง จึงเรียกว่า ปกติศีล เป็นศีลที่ไม่มีความหวั่นไหว เป็นศีลที่ไม่มีความวิตกกังวลในสิ่งใด ๆ เพราะศีลฝังลึกอยู่ที่ใจอย่างสนิทแล้ว คำว่าศีลขาดหรือไม่ขาด จะไม่มีในใจที่เป็นธรรมนี้เลย ฉะนั้น จึงเป็น อธิศีล คือ ศีลที่ยิ่ง อธิจิต ความตั้งมั่นที่แน่วแน่ในธรรม จะไม่มีความหลงผิดอีกต่อไป อธิปัญญา ความรู้รอบและรอบรู้ภายในใจก็เป็นไปในเหตุในผล จะคิดนึกตรึกตรองในสิ่งใด ดำริพิจารณาในเหตุปัจจัยอะไร ย่อมเกิดความแยบคายได้ง่าย อธิปัญญา คือ ปัญญาที่รู้รอบในสรรพสังขารทั้งหลาย ไม่มีสังขารใดที่จะเล็ดลอดหลบหลักปัญญาไปได้เลย เพราะปัญญา จึงให้นามว่าความรู้รอบและรอบรู้อยู่แล้ว ฉะนั้น ความลูบคลำในศีลว่าขาดหรือไม่ขาดนั้นจะไม่มีในใจเลย เพราะใจที่มีศีลนั้นไม่มีเจตนาในทางที่ชั่ว เรื่องการแสดงออกมาภายนอกด้วยกิริยาทางกายและวาจา ในสายตาของคนอื่นอาจเข้าใจผิดได้ว่าต้องผิดศีลข้อนั้น ต้องผิดศีลข้อนี้ ย่อมวิพากษ์วิจารณ์ไปได้ด้วยภาษาของคนมืดบอด เรื่องเหล่านี้เคยมีมาแล้วในครั้งพุทธกาล เช่น พระจักขุบาลที่เดินจงกรมเหยียบแมลงเม่าตายเป็นกอง ๆ ในทางเดินจงกรม ก็มีพระที่มืดบอดด้วยสติปัญญาไปฟ้องพระพุทธเจ้า ว่าจะเอาโทษทางวินัยให้ได้ ในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ได้ตัดสินว่า พระจักขุบาลไม่ผิดเพราะไม่มีเจตนา คือ ความตั้งใจที่จะเหยียบแมลงเม่าให้ตาย ฉะนั้น ความลูบคลำในศีลว่าขาดหรือไม่ขาดจึงไม่มีต่อผู้มีธรรมประจำใจ

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ฟังบทสวด http://www.buddhanet.net/mp3/mbdc/10_mbdc.mp3

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บทสวดอื่นๆ

...

ไฟไหนเล่า ร้อนเท่าไฟนรก

ไฟไหนเล่าร้อนเท่าไฟนรก
 สุทัสสา อ่อนค้อม
เสียงอ่านหนังสือ
โดยวิทยุสังฆทานธรรม
 

บทนำ ตอน 1
ตอน 2
ตอน 3
ตอน 4
ตอน 5
ตอน 6
ตอน 7
ตอน 8
ตอน 9
ตอน 10
ตอน 11
ตอน 12
บทปิด

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ไตรสรณคมน์

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

นางอุตตรา

นางอุตตรา นันทมารดา เอคทัคคะผู้เพ่งด้วยด้วยฌาณ
นางอุตตรา เกิดเป็นลูกสาวของนายปุณณะ ซึ่งเป็นคนรับใช้อยู่ในเรือนของสมุนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์
เขาเป็นคนขยันทำงาน แม้ในวันนักขัตฤกษ์นายปุณณะก็ยังไปทำการไถนาตามหน้าที่ของตนปกติ ขณะที่เขากำลังไถนาอยู่นั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อออกจากนิโรธสมาบัติแล้วได้ถือบาตรผ่านมายังทุ่งนาที่นาปุณณะกำลังไถอยู่นั้นนายปุณณะพอเห็นพระเถระ ก็หยุดไถแล้วเข้าไปกราบแล้วถวายน้ำบ้วนปากและไม้สีฟัน พระเถระทำกิจสีฟันและบ้วนปากเสร็จแล้วจึงเดิน ภิกขาจารต่อไป นายปุณณะคิดว่า “เหตุที่พระเถระมาทางนี้ในวันนี้ก็คงจะมาสงเคราะห์เรา ถ้าภริยาของเราได้พบพระเถระแล้ว ขอให้นางได้ใสอาหารที่นำมาให้เราลงในบาตรของพระเถระด้วยเถิด” ส่วนภริยาของเขาเมื่อนำอาหารไปส่ง ระหว่างทางได้พบ พระเถระจึงคิดว่า “วันอื่นๆ เราพบพระเถระแต่ไทยธรรมเรา ไม่มีแต่วันนี้ทั้งสองอย่างของเรามีพร้อมแล้ว เราควรถวายอาหารแก่พระเถระก่อนแล้วจึงกลับไปทำมาใหม่” เมื่อนางถวายอาหารแก่พระเถระแล้ว ก็รีบกลับบ้านเพื่อจัดอาหารมาให้สามีของตน นายปุณณะไถนาเรื่อยไปจนเวลาสาย ภริยาก็ยังไม่นำอาหารมาส่ง เมื่อภริยามาถึงก็เกรงว่าสามีจะโกรธ จึงพูดกับสามีว่า “ท่านพี่อย่าเพิ่งโกรธ ฟังดิฉันก่อน” แล้วนางก็เล่าเหตุที่มาช้าให้สามีฟัง “เธอทำดีแล้ว” นายปุณณะกล่าวและทั้งสองสามีภรรยานั้นก็อิ่มเอิบใจ ในการกระทำของตน นายปุณณะ กินอาหารเสร็จแล้วก็นอนหลับไปสักสักพักพอตื่นขึ้นมา ก็เห็นก้อนดินที่ตนไถมีสีเหมือนทองคำทั่วท้องนาจึงบอกให้ภรรยาดูด้วย เมื่อภรรยาเห็นเข้าจึงพูดว่า “ท่านคงเหน็ดเหนื่อย และหิวจนตาลาย” แต่เมื่อเขาลุกไปหยิบมาให้ภรรยาดู ทั้งสองต่างก็เห็นเป็นทอง
คำเหมือนกัน สองสามีภรรยาเก็บทองใส่ถาดแล้วนำไปถวายพระราชา พร้อมทั้งกราบทูลให้ส่งคนไปขนทองคำที่ทุ่งนาของตน ในขณะที่กำลังขนทองคำใส่เกวียนนั้นราชบุตรพากันพูดว่า “บุญของพระราชา” ทันใดนั้นทองคำก็กลายเป็นดินขี้ไถเหมือนเดิม พระราชาจึงรับสั่งว่า “พวกท่านจงไปขนมาใหม่พร้อมกับจงพูดว่า บุญของนายปุณณะ” พวกราชบุรุษทำตามรับสั่ง ก็ปรากฏว่าได้ทองคำมาหลายเล่มเกวียน นำมาที่หน้าพระลานหลวงพระราชารับสั่งถามว่า ใครมีทรัพย์มากเท่านี้บ้าง เมื่อได้สดับว่าไม่มี จึงพระราชทานตำแหน่งเแก่ นายปุณณะนามว่า “ธนเศรษฐี”นายปุณณะ เมื่อทำการมงคลฉลองตำเเหน่งเศรษฐี ได้กราบอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มาเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านเป็นเวลา ๗ วัน พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมเทศนาอนุโมทนาทาน นายปุณณะเศรษฐีพร้อมด้วยภริยาและธิดาได้บรรลุโสดาปัตติผล ในกาลต่อมาราชคหเศรษฐี ได้ส่งคนไปสู่ขอนางอุตตราธิดาของนายปุณณะเพื่อทำอาวาหมงคลกับบุตรของตนนายปุณณะไม่ขัดข้องจึงได้จัดพิธีอาวาหมงคลเป็นที่เรียบร้อยนางได้มาอยู่ในตระกูลของสามีเมื่อถึงฤดูกาลเข้าพรรษานางกล่าวกับสามีว่า ปกตินางจะอธิษฐานองค์อุโบสถเดือนละ ๘ วัน ขอให้สามีอนุญาต แต่สามีไม่อนุญาต นางจึงส่งข่าวไปถึงบิดามารดาว่า นางถูกส่งตัวไปอยู่ในที่คุมขัง จึงขอให้บิดามารดาช่วยส่งทรัพย์ไปให้นางจำนวน ๑๕,๐๐๐ กหาปณะด้วยเถิด เมื่อนางได้ทรัพย์ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ก็ได้ไปหานางสิริมา ซึ่ง เป็นหญิงโสเภณี จึงได้ได้เจรจาติดต่อขอให้ช่วยในการบำรุงบำเรอสามีของนางเองเป็นเวลา ๑๕ วัน แล้วมอบทรัพย์ให้นาง ๑๕,๐๐๐ กหาปณะ นางสิริมาตอบ ตกลงและสามีของนางก็พอใจจึงอนุญาตให้นางอธิษฐานองค์อุโบสถได้ในวันสุดท้ายของการรักษาอุโบสถ ขณะ ที่กำลังขวนขวายจัด ภัตตาหารอยู่สามีของนางกับนางสิริมายืนดูอยู่พลางคิดว่า “นางอุตตราหญิงโง่คนนี้ คงเกิด มาจากสัตว์นรก ชอบทำการงานสกปรก ทรัพย์สมบัติก็มีอยู่มากมายแต่กลับไม่ยินดี”แล้ว ก็แสดง อาการเยาะเย้ย นางอุตตรามองเห็นนางสิริมาตั้งแต่เดินลงมาจากเรือนจนมุ่ง มาที่นาง จึงแผ่เมตตาจิตไปสู่ นางสิริมา ว่า “หญิงผู้นี้มีคุณต่อเราอย่างมาก เราได้อาศัยนางจึงมีโอกาสทำบุญถวายทานและฟังธรรมโดยทุกวันตลอดมาหากประมาณคุณอันยิ่งใหญ่ที่นางมีต่อเรา โดยหาที่เปรียบมิได้หากนาง คิดโกรธเรา และเราไม่โกรธตอบต่อนางถึงนางจะราดรดเราด้วยของร้อน ขอให้เราอย่าร้อนเลยแต่หากเราโกรธนางตอบ ก็จงให้ต้องร้อนตาม ที่นางมุ่งประทุษร้ายเราเถิด” แล้วนางสิริมาได้จับกระบวยตักน้ำมันที่กำลังเดือดเทราดลงบนศีรษะของนางอุตตราที่กำลังเข้าฌาณและแผ่เมตตาจิตอยู่ด้วยอำนาจแห่งเมตตาฌาณ บันดาลให้น้ำมันที่กำลังร้อนปราศจากความร้อน เหล่านางทาสีต่างมีความโกรธเคืองที่นางสิริมาทำร้ายนายหญิงจึงเข้าจับ นางแล้วทุบตีจนนางมาบอบซ้ำทั้งตัว นางอุตตราจึงเข้าห้าม และสั่งให้พวกทาสีพานางไปอาบน้ำ ทายา เพื่อรักษาบาดแผล นางสิริมาเกิดความรู้สึกซาบซึ้งประทับใจนัก จึงกราบลงแทบเท้านางแล้วขอขมาโทษที่ตนล่วงเกินต่อนางเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาพร้อมภิกษุสงฆ์ ประทับบนพุทธอาสน์เพื่อเสวภัตตาหาร ณ ที่บ้านของนางอุตตราในเช้าวันนั้น นางสิริมาได้กราบทูลกิริยาที่ตนกระทำต่อนางอุตตราให้ทรงทราบโดยตลอดแล้ว กราบทูลขอให้ทรงยกโทษให้ จึงตรัสถามนางอุตตราด้วยมีพระพุทธประสงค์จักให้คนทั้งหลายได้ทราบโดยทั่วกันนางอุตตราจึงได้กราบทูลตอบดังที่ตนคิดว่าได้เห็นนางสิริมาตั้งแต่เดินลงมาจากเรือนลำดับจนมุ่งหน้ามาที่นาง จึงแผ่เมตตาจิตไปสู่นางสิริมา ด้วยคิดว่า “หญิงผู้นี้มีคุณต่อเราอย่างมาก เราได้อาศัยนางจึงมีโอกาสทำบุญถวายทานและฟังธรรมโดยสดวกทุกวันตลอดมา หากประมาณคุณอันยิ่งใหญ่ที่นางมีต่อเราหาอะไรเปรียบเทียบมิได้ฉะนั้น หากนางคิดโกรธเคืองเราด้วยเรื่องใดก็ตาม และเราไม่โกรธตอบต่อนาง ถึงนางจะราดรดเราด้วยของร้อน ขอให้เราอย่าต้องร้อนเลย แต่หากเราโกรธนางตอบ ก็จงให้ต้องร้อนเพราะถูกนางราดรดด้วยของร้อน ตามที่นางมุ่งประทุษร้ายเราเถิด ” พระบรมศาสดาจึงตรัสแก่นางอุตราว่า ดีแล้วอุตตรา ดีแล้วที่เธอสามารถชนะตนเอง ได้” จึงตรัสพระคาถานี้ว่า พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดีพึงชนะคนตระหนีด้วยการให้ พึงชนะคนพูดเท็จด้วยคำจริง

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

บทสวดเจริญพระพุทธมนต์

ชุมนุมเทวดา และไตรสรณคมน์ Listen Music Files - Embed Audio - jaroenphraputtamol นะมะการะ สิทธิคาถา(โย จักขุมาฯ) สัมพุทเธ นะโมการอัฎฐะกะ (นะโม อะระหะโต) มงคลสูตร รัตนสูตร

วิธีสร้างบุญบารมี


วิธีสร้างบุญบารมี
บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)กล่าวว่า บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฑติชอบทางกาย วาจา และใจ กุศลธรรมบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง
วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนาซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่นการทำบุญตักบาตร ทอดกฐินผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมี อย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุดดังนี้คือ
1. การทำทาน
การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้นจะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ 3 ประการ ถ้าประกอบหรือถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบ 3 ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ
องค์ประกอบข้อ 1. "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์"วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ
ตัวอย่าง 1 ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะนำเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีกหากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่ได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์ก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่นๆด้วย
ตัวอย่าง 2 ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์รวมตลอดถึงการทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้นย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ด้วย นำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า "บริโภคด้วยความเป็นหนี้แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างใด สมัยหนึ่งในรัชกาลที่5 มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อว่า"ยายแฟงได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง 25 สตางค์ แกจะชักเอาไว้ 5 สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ 2,000 บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแกทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ 1 สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูกๆ แต่ขายแพงๆ จนเกินส่วนที่ควรจะได้ ผลกำไรที่ได้มาเพราะความโลภจัดจนเกินส่วนนั้นย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน
วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลย ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่
องค์ประกอบข้อ 2. "เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์"การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหน หลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ"โลภกิเลสและเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร 4 ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน 3 ระยะ คือ
(1ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัส ร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน(2ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น(3ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใดก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้นๆ
เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องมาจากเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน นับว่าเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้จะทำให้ยิ่งๆบริสุทธิ์มากขึ้นไปอื่นหากผู้ให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวงที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงแต่วัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านแต่ก่อนนั้นต่างก็ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ได้ยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้ จึงนับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง นับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ตั้งอยู่ในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็เฒ่าแก่และตายไปในที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง
เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาแล้วด้วย เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของที่บริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ 1 ด้วย ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่งๆขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้ แต่ก็มีข้ออันควรระวังอยู่ ก็คือการทำทานนั้นอย่างได้เบียดเบียนตนเองเช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มากๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้ เมื่อได้ทำไปแล้ว ตนเองและสามี ภริยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลน เพราะไม่มีจะกิน จะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ
ตัวอย่าง 1 ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน ไปยืนถ่ายภาพลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อให้ได้รับความนิยมยกย่องนับถือ โดยที่แท้จริงแล้วตนมิได้มีเจตนาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้ใด เรียกว่าทำทานด้วยความโลภ ไม่ได้ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความอยากได้ คืออยากได้หน้า ได้เกียรติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ
ตัวอย่าง 2 ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียดาย เช่นมีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้าง แต่ทรัพย์น้อย เมื่อมีพวกมาเรี่ยไรบอกบุญ ต้องจำใจทำทานไปเพราะความเกรงใจพวกพ้อง หรือเกรงว่าจะเสียหน้า ตนจึงได้สละทรัพย์ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำทานด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ทำทานด้วยจิตเมตตาที่มุ่งจะสงเคราะห์ผู้อื่น ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดาย ให้ไปแล้วก็เป็นทุกข์ใจ บางครั้งนึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หากเสียดายมากๆ จนเกิดโทสจริตกล้าแล้ว นอกจากจะไม่ได้บุญแล้ว ที่จะได้ก็คือบาป
ตัวอย่าง 3 ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะอยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น เป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตังจิตอธิษฐานขอให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้ร่ำรวยนับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งสลากกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆก็มาขอเบิกในชาตินี้ จะมีที่ไหนมาให้เบิก การทำทานด้วยความโลภเช่นนี้ ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย สิ่งที่จะได้พอกพูนเพิ่มให้มากขึ้นและหนาขึ้น ก็คือ "ความโลภ"
ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ 3 ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำเหตุครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง เช่นเดียวกับปลูกต้นมะม่วงเมื่อรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยไปตามธรรมดาเรื่อยไป แม้จะไม่อยากให้เจริญเติบโตและออกดอกออกผล ในที่สุดต้นไม้ก็จะต้องเจริญและผลิตดอกออกผลตามมา สำหรับผลของทานนั้น หากน้อยหรือมีกำลังไม่มากนักย่อมน้อมนำให้บังเกิดในมนุษย์ชาติ หากมีกำลังแรงมาก ก็อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในเทวโลก 6 ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติในเทวโลกจนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงเหลืออยู่บ้างประกอบกับไม่มีอกศลกรรมอื่นแทรกให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่มีลาภผลมาก ทำมาหากินขึ้นและร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปเพราะวินาศภัย โจรภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ แต่จะมั่งคั่ง ร่ำรวยในวัยใดย่อมสุดแล้วแต่ผลทานแต่ชาติก่อนๆจะส่งผล คือ
1. ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น  เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนที่จะลงมือทำทานก็มีจิตเมตตาโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้นอุดมสมบูรณ์พูดสุขไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนแร้นแค้น ไม่ต้องขวนขวายหาเลี้ยงตนเองมาก แต่ถ้าเจตนานั้นไม่งามบริสุทธิ์พร้อมกันครบ 3 ระยะแล้ว ผลทานนั้นก็ย่อมส่งผลให้ไม่สม่ำเสมอกัน คือแม้ว่าจะร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น โดยเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม หากในขณะที่กำลังลงมือทำทานเกิดจิตเศร้าหมองเพราะหวนคิดเสียดายหรือหวงแหนทรัพย์ที่จะให้ทานขึ้นมา หรือเกิดหมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆ แต่ก็ยังฝืนใจทำทานไป เพราะเสียไม่ได้หรือเพราะตามพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ เช่นนี้ผลทานย่อมหมดกำลังให้ผลในระยะที่ 2 ซึ่งตรงกับวัยกลางคน ซึ่งจะมีผลทำให้ทรัพย์สมบัติวิบัติหายนะไปด้วยประการต่างๆ แม้จะได้รับมรดกมาก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้ หากเจตนาในการทำทานนั้นเศร้าหมองในระยะที่ 3 คือทำทานไปแล้วหวนคิดขึ้นมาทำให้เสียดายทรัพย์ ความหายนะก็มีผลต่อเนื่องมาจนถึงบั้นปลายชีวิตด้วย คือทรัพย์สินคงวิบัติเสียหายต่อเนื่องจากวัยกลางคนตลอดไปจนถึงตลอดอายุขัยชีวิตจริงของผู้ที่เกิดบนกองเงินกองทองก็มีให้เห็น เป็นตัวอย่างที่เมื่อได้รับทรัพย์มรดกแล้วก็วิบัติเสียหายไป หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวัยต้น แต่ก็ต้องล้มละลายในวัยกลางคน และบั้นปลายชีวิต แต่ถ้าได้ตั้งแจตนาในการทำทานไว้บริสุทธิ์ครบถ้วนพร้อม 3 ระยะแล้ว ผลทานนั้นย่อมส่งผลสม่ำเสมอ คือร่ำรวยตั้งแต่เกิด วัยกลางคน และจนปัจฉิมวัย
2. ร่ำรวยในวัยกลางคน การที่ร่ำรวยในวัยกลางคืนนั้นสืบเนื่องมาจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ 2 กล่าวคือไม่งามบริสุทธิ์ในระยะแรก เพราะก่อนที่จะลงมือทำทานก็มิได้มีจิตศรัทธามาก่อน ไม่คิดจะทำทานมาก่อน แต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง เช่นทำตามพวกพ้องอย่างเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ลงมือทำทานอยู่ก็เกิดโสมนัสรื่นเริงยินดีในทานที่กำลังกระทำอยู่นั้น ด้วยผลทานชนิดนี้ ย่อมทำให้มาบังเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมาในวัยต้น ครั้นเมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจที่ทำก็ประสบความสำเร็จรุ่งเรือง และหากเจตนาในการทำทานได้งานบริสุทธิ์ในระยะที่ 3 ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้น ย่อมส่งผลรุ่งเรืองตลอดไปจนถึงบั้นปลายชีวิต หากเจตนาในการทำทานไม่บริสุทธิ์ในระยะที่ 3 แม้ธุรกิจหรือกิจการงานจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองในวัยกลางคน แต่ก็ล้มเหลวหายนะในบั้นปลาย ทั้งนี้เพราะผลทานหมดกำลัง ส่งผลไม่ตลอดจนถึงบั้นปลายชีวิต

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

บทสวดเมตตาใหญ่



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ฯ ( ๓ จบ )
...

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฎฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฎิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะฯ
(๑) สุขัง สุปะติ 
(๒) สุขัง ปฎิพุชฌะติ 
(๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ 
(๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ 
(๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ 
(๖) เทวะตา รักขันติ 
(๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วากะมะติ 
(๘) ตุวะฎัง จิตตัง สะมาธิยะติ 
(๙) มุขะ วัณโณ วิปปะสีทะติ 
(๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ 
(๑๑) อุตตะริง อัปปะฎิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโค โหติฯ 

เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฎิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิ สังสา ปาฎิกังขาฯ 

อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตีหา กาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโต วิมุตติฯ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ ทะสะหา กาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

(๑) สัพเพ สัตตา (สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง) อะเวรา (อย่ามีเวรแก่กันและกันเลย) อัพยาปัชฌา (อย่าผูกพยาบาทอาฆาตกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่าข่มเหงรังแกกัน) อะนีฆา (อย่ามีความทุกข์กายทุกข์ใจ) สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ (จงรักษาตนให้เป็นสุขเป็นสุขเถิด)

(๒) สัพเพ ปาณา (สัตว์มีลมปราณทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ ภูตา (ภูตผีทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ปุคคะลา (บุคคลทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา (สัตว์ในร่างกายเราทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

(๑) สัพพา อิตถิโย (สัตว์เพศหญิงทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปุริสา (สัตว์เพศชายทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อะริยา (สัตว์เจริญทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ อะนะริยา (สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๕) สัพเพ เทวา (เทวดาทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ มะนุสสา (สัตว์มีใจสูงทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๗) สัพเพ วินิปาติกา (สัตว์นรกทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ 

อิเมหิ สัตตะหา กาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศตะวันออก) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศตะวันตก) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันออกเฉียงใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันตกเฉียงใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศเบื้องต่ำ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศเบื้องบน) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพพา ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพพา ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพพา ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ อุปะฆาตังวัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา 

อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะ หากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต สัพพะพยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ

เมตตา พรหมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.