หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การปลงอาบัติ

การปลงอาบัติ ของพระภิกษุ: http://youtu.be/xFs-hXnDz0Q


การแสดงอาบัติ
๑. ผู้ต้องอาบัติ ปาราชิก ควรปฏิญญา (รับความจริง) แล้วลาสิกขาไปเสีย
๒. ผู้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องประพฤติวุฏฐานวิธี ตั้งแต่ต้นจนถึงอัพภาน
อาบัติ นอกจากนี้ เป็นลหุกาบัติ คืออาบัติเบา ซึ่งผู้ต้องลหุกาบัติต้องเปิดเผยโทษของตนแก่ภิกษุอื่นทันทีที่ระลึกได้ เมื่อโอกาสอำนวย( ไม่ต้องรอถึง วันอุโบสถ)
๓. ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ให้สละสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นก่อน
คำแสดงอาบัติ
ภิกษุ ผู้ต้องอาบัติมา พึงเปิดเผยกับภิกษุที่ตนปลงอาบัติว่าตนเองไปต้องอาบัติอะไรมาเป็นภาษาไทย ก่อนให้รู้เรื่อง แล้วจึงแสดงเป็นบาลีทีหลัง
สำหรับผู้มีพรรษาอ่อนกว่า
ผู้แสดง ๐ สัพพาตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน)
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว.
สัพพา(คะรุ)ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน)
อาบัติเหล่านั้น เป็นอาบัติ(หนัก)เบา หลายตัว.
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย อาปัชชิงตา ตุม๎หะ มูเลปะฏิเทเสมิ,
ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว ต่างวัตถุกัน  ข้าพเจ้าขอแสดงอาบัตินั้น.
ผู้รับ ๐ ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย, เธอเห็น (อาบัตินั้น) หรือ ?
ผู้แสดง ๐ อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ, ใช่! ข้าพเจ้าเห็น.
ผู้รับ ๐ อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ, เธอพึงสำรวมระวังต่อไป.
ผู้แสดง ๐ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, ดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สองดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สามดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง กะริสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมกายไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง ภาสิสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมวาจาไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง จินตะยิสสามิ. นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมใจไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
สำหรับผู้มีพรรษาแก่กว่า
ผู้แสดง ๐ สัพพาตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว.
สัพพา(คะรุ)ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
อาบัติเหล่านั้น เป็นอาบัติ(หนัก)เบา หลายตัว.
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิงตา ตุย๎หะ มูเลปะฏิเทเสมิ,
ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว ต่างวัตถุกัน, ข้าพเจ้าขอแสดงอาบัตินั้น.
ผู้รับ ๐ อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโยเธอเห็น(อาบัตินั้น)หรือ ?
ผู้แสดง ๐ อามะ อาวุโส ปัสสามิ, ใช่! ข้าพเจ้าเห็น.
ผู้รับ ๐ อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ, เธอพึงสำรวมระวังต่อไป.
ผู้แสดง ๐ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, ดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สองดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สามดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง กะริสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมกายไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง ภาสิสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมวาจาไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง จินตะยิสสามิ. นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมใจไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว

สภาคาบัติ
สภาคาบัติ แปลว่า อาบัติที่มีวัตถุเสมอกัน เช่น ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารในเวลาวิกาลเหมือนกัน อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะความผิดเดียวกันอย่างนี้ เรียกว่า สภาคาบัติ
ภิกษุที่ต้องสภาคาบัติ ไม่พึงแสดงและรับการแสดงอาบัติกันและกัน มิฉะนั้นจะต้องอาบัติทุกกฏทั้งผู้แสดงและผู้รับ
ใน กรณีที่สงฆ์ในอาวาสนั้นต้องสภาคาบัติทั้งหมด ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียง เพื่อทำคืนอาบัติ เมื่อภิกษุนั้นกลับมาแล้ว จึงให้ภิกษุที่เหลือทั้งหมดทำคืนอาบัติกับภิกษุนั้น ถ้าได้อย่างนี้ก็เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม ดังนี้
คำประกาศสภาคาบัติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆอะยัง สัพโพ สังโฆ สะภาคัง อาปัตติง อาปันโนยะทา อัญญัง ภิกขุง สุทธัง อะนาปัตติกัง ปัสสิสสะติตะทา ตัสสะ สันติเก ตัง อาปัตติง ปะฏิกกะริสสะติ.
ท่าน เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งปวงนี้ต้องสภาคาบัติ จักเห็นภิกษุอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเมื่อใดจักทำคืนอาบัตินั้น ในสำนักเธอเมื่อนั้น.
เมื่อสวดประกาศแล้วจึงทำอุโบสถ หรือทำปวารณาได้
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เมื่อต้องอาบัติย่อมต้องด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
ด้วยความไม่ละอาย ๑,
ด้วยความไม่รู้ ๑,
ด้วยความสงสัยแล้วขืนทำ ๑,
ด้วยความสำคัญในของไม่ควรว่าควร ๑,
ด้วยความ สำคัญในของควรว่าไม่ควร ๑,
ด้วยความหลงลืมสติ ๑.
ภิกษุต้องอาบัติด้วยความไม่ละอายอย่างไร? คือ ภิกษุรู้อยู่ทีเดียวว่าเป็นอกัปปิยะ ฝ่าฝืน ทำการล่วงละเมิด สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า
ภิกษุ แกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียงด้วยอคติ ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่า อลัชชีบุคคล (อรรถกถา พระวินัยปีฎก มหาวิภังค์)

********************************การแสดงอาบัติ
๑. ผู้ต้องอาบัติ ปาราชิก ควรปฏิญญา (รับความจริง) แล้วลาสิกขาไปเสีย
๒. ผู้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องประพฤติวุฏฐานวิธี ตั้งแต่ต้นจนถึงอัพภาน
อาบัติ นอกจากนี้ เป็นลหุกาบัติ คืออาบัติเบา ซึ่งผู้ต้องลหุกาบัติต้องเปิดเผยโทษของตนแก่ภิกษุอื่นทันทีที่ระลึกได้ เมื่อโอกาสอำนวย( ไม่ต้องรอถึง วันอุโบสถ)
๓. ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ให้สละสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นก่อน
คำแสดงอาบัติ
ภิกษุ ผู้ต้องอาบัติมา พึงเปิดเผยกับภิกษุที่ตนปลงอาบัติว่าตนเองไปต้องอาบัติอะไรมาเป็นภาษาไทย ก่อนให้รู้เรื่อง แล้วจึงแสดงเป็นบาลีทีหลัง
สำหรับผู้มีพรรษาอ่อนกว่า
ผู้แสดง ๐ สัพพาตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน)
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว.
สัพพา(คะรุ)ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน)
อาบัติเหล่านั้น เป็นอาบัติ(หนัก)เบา หลายตัว.
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย อาปัชชิงตา ตุม๎หะ มูเลปะฏิเทเสมิ,
ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว ต่างวัตถุกัน  ข้าพเจ้าขอแสดงอาบัตินั้น.
ผู้รับ ๐ ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย, เธอเห็น (อาบัตินั้น) หรือ ?
ผู้แสดง ๐ อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ, ใช่! ข้าพเจ้าเห็น.
ผู้รับ ๐ อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ, เธอพึงสำรวมระวังต่อไป.
ผู้แสดง ๐ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, ดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สองดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สามดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง กะริสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมกายไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง ภาสิสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมวาจาไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง จินตะยิสสามิ. นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมใจไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
สำหรับผู้มีพรรษาแก่กว่า
ผู้แสดง ๐ สัพพาตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว.
สัพพา(คะรุ)ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
อาบัติเหล่านั้น เป็นอาบัติ(หนัก)เบา หลายตัว.
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิงตา ตุย๎หะ มูเลปะฏิเทเสมิ,
ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว ต่างวัตถุกัน, ข้าพเจ้าขอแสดงอาบัตินั้น.
ผู้รับ ๐ อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโยเธอเห็น(อาบัตินั้น)หรือ ?
ผู้แสดง ๐ อามะ อาวุโส ปัสสามิ, ใช่! ข้าพเจ้าเห็น.
ผู้รับ ๐ อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ, เธอพึงสำรวมระวังต่อไป.
ผู้แสดง ๐ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, ดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สองดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สามดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง กะริสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมกายไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง ภาสิสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมวาจาไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง จินตะยิสสามิ. นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมใจไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
สภาคาบัติ
สภาคาบัติ แปลว่า อาบัติที่มีวัตถุเสมอกัน เช่น ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารในเวลาวิกาลเหมือนกัน อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะความผิดเดียวกันอย่างนี้ เรียกว่า สภาคาบัติ
ภิกษุที่ต้องสภาคาบัติ ไม่พึงแสดงและรับการแสดงอาบัติกันและกัน มิฉะนั้นจะต้องอาบัติทุกกฏทั้งผู้แสดงและผู้รับ
ใน กรณีที่สงฆ์ในอาวาสนั้นต้องสภาคาบัติทั้งหมด ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียง เพื่อทำคืนอาบัติ เมื่อภิกษุนั้นกลับมาแล้ว จึงให้ภิกษุที่เหลือทั้งหมดทำคืนอาบัติกับภิกษุนั้น ถ้าได้อย่างนี้ก็เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม ดังนี้

คำประกาศสภาคาบัติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆอะยัง สัพโพ สังโฆ สะภาคัง อาปัตติง อาปันโนยะทา อัญญัง ภิกขุง สุทธัง อะนาปัตติกัง ปัสสิสสะติตะทา ตัสสะ สันติเก ตัง อาปัตติง ปะฏิกกะริสสะติ.
ท่าน เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งปวงนี้ต้องสภาคาบัติ จักเห็นภิกษุอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเมื่อใดจักทำคืนอาบัตินั้น ในสำนักเธอเมื่อนั้น.
เมื่อสวดประกาศแล้วจึงทำอุโบสถ หรือทำปวารณาได้
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เมื่อต้องอาบัติย่อมต้องด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
ด้วยความไม่ละอาย ๑,
ด้วยความไม่รู้ ๑,
ด้วยความสงสัยแล้วขืนทำ ๑,
ด้วยความสำคัญในของไม่ควรว่าควร ๑,
ด้วยความ สำคัญในของควรว่าไม่ควร ๑,
ด้วยความหลงลืมสติ ๑.
ภิกษุต้องอาบัติด้วยความไม่ละอายอย่างไร? คือ ภิกษุรู้อยู่ทีเดียวว่าเป็นอกัปปิยะ ฝ่าฝืน ทำการล่วงละเมิด สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า
ภิกษุ แกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียงด้วยอคติ ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่า อลัชชีบุคคล (อรรถกถา พระวินัยปีฎก มหาวิภังค์)

********************************

วิธีแสดงอาบัติ


แสดงอาบัติก่อนทำอุโบสถ
ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติในวันอุโบสถ. เธอได้มีความปริวิตกในขณะนั้นว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัว ไม่พึงทำอุโบสถ ดังนี้ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ต้องอาบัติในวันอุโบสถ. ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
“อะหัง อาวุโส อิตถันนามัง อาปัตติง (แทนด้วยชื่อประเภทของอาบัติ) อาปันโน ตัง ปะฏิเทเสมิ แน่ะเธอ ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น.”
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า             “ปัสสะมิ  ท่านเห็นหรือ?”
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า        “อามะ ปัสสามิ  ครับ ผมเห็น.”
ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า              “อายะติง สังวะเรยยาสิ ท่านพึงสำรวมต่อไป”
สงสัยในอาบัติ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ ในวันอุโบสถ.ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวีัยงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวอย่างนี้ ว่า
“อะหัง อาวุโส อิตถันนามายะ อาปัตติยา (แทนด้วยชื่อประเภทของอาบัติ) เวมะติโก ยะทา นิพเพมะติโก ภะวิสสามิ ตะทา ตัง อาปัตติง ปะฏิกะริสสามิ แน่ะเููธอ ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใดจักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น”
ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ ฟังปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.
(จากพุทธพจน์นี้ ทำให้ทราบว่าสมัยพุทธกาลมีการแสดงอาบัติเฉพาะที่ต้องหรือสงสัยจริงๆ ปัจจุบันได้มีคณาจารย์เรียบเรียงวิธีการแสดงอาบัติไว้ ดังนี้) 
ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า พึงแสดงดังนี้ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.(3 จบ)
กระผมขอรวบรวมอาบัติทั้งหลายทั้งปวง ที่สมควรเทศนามาแสดงต่อท่าน(พระอาจารย์) ถ้าหากกระผมล่วงเกินในสิกขาบทเหล่าใด ก็ขอแสดงในสิกขาบทเหล่านั้น ถ้าไม่ได้ล่วงเกินก็เป็นอันว่าไม่ได้แสดง.
อะหัง ภันเต สัมมะหุลา นานาวัตถุกาโย ถุลลัจจะยาโยอาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                   ปัสสะสิ  อาวุโส.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า              อามะ  ภันเต  ปัสสามิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                    อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               สาธุ  สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย ปาจิตติยาโยอาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     ปัสสะสิ   อาวุโส.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               อามะ  ภันเต   ปัสสามิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     อายะติง  อาวุโส   สังวะเรยยาสิ.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า                สาธุ สุฏฐุ  ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา  นานาวัตถุกาโย ทุกกะฏาโย  อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     ปัสสะสิ   อาวุโส.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               อามะ  ภันเต   ปัสสามิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     อายะติง  อาวุโส   สังวะเรยยาสิ.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า                สาธุ สุฏฐุ  ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา ทุพภาสิตาโย อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     ปัสสะสิ   อาวุโส.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               อามะ  ภันเต   ปัสสามิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     อายะติง  อาวุโส   สังวะเรยยาสิ.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า                สาธุ สุฏฐุ  ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)
ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า  :- ถ้าผู้พรรษามากเป็นผู้แสดงให้เปลี่ยนที่ขีดเส้นใต้ไว้ จากคำว่า ภันเต เป็น อาวุโส, อาวุโส เป็น ภันเต, ปัสสะสิ เป็น ปัสสะถะ และ สังวะเรยยาสิ เป็น สังวะเรยยาถะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น