หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภิกษุ.. แปลว่า ผู้ขอ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์
  สมณสัญญา ๓ ประการ เป็นไฉน คือ
สมณสัญญาว่า เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑
 ชีวิตของเรา เนื่องด้วยผู้อื่น ๑
 มรรยาทอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ ๑
...ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์
.. ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ
-ภิกษุเป็นผู้มีปกติทำติดต่อเป็นนิตย์ เป็นผู้มีความประพฤติติดต่อเป็นนิตย์ในศีลทั้งหลาย ๑
-เป็นผู้ไม่ โลภมาก ๑
-เป็นผู้ไม่พยาบาท ๑
-เป็นผู้ไม่ถือตัว ๑
-เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ๑
-เป็นผู้มีการพิจารณาในปัจจัยทั้งหลายอันเป็นบริขารแห่งชีวิตว่า ปัจจัยเหล่านี้มี ประโยชน์เช่นนี้ แล้วจึงบริโภค ๑
-เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑
....ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการนี้ให้บริบูรณ์ ฯ

《《《===》》》

“ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ” มี ๑๐ อย่าง (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์) คือ
           ๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
           ๒. ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
           ๓. ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
           ๔. ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๕. ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๖. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๗. ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว
           ๘. ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
           ๙. ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
           ๑๐. ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น