หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปฏิทินจันทรคติ

การกำหนดวันตามจันทรคติ

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อุปนิสัยหลวงปู่มั่น


รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต 


อุปนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
บันทึกโดยหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร


• “ท่านภาวนาสถานที่เป็นมงคล มีเทวดามานมัสการตั้งหมื่น ท่านรู้ได้ด้วยภาวนาขั้นละเอียดฯ อมนุษย์ท่านก็รู้ได้”

• “ท่านอาจารย์มั่น ท่านเป็นคนเด็ดเดี่ยวสละชีวิตถึงตาย สลบไป ๓ คราว และท่านต้องการคนใจเด็ดเป็นสานุศิษยฯ”

 “ท่านทำตัวของท่านใหม่อยู่ในตระกูลทั้งหลาย ไม่ทำตัวของท่านให้คุ้นเคยในตระกูลเลย การไปมาของท่านไปโดยสะดวก มาโดยสะดวกไม่ขัดข้องในตระกูล”

 “เป็นคนมักน้อยขอบใช้บริขารของเก่าๆ ถึงได้ใหม่บริจาคทานให้คนอื่น ข้อวัตรหมดจดดี สติตั้งอยู่ในสติปัฏฐานเสมอ เป็นผู้ไม่ละกาลวาจาพูดก็ดีเทศน์ก็ดี ไม่อิงอามิสลาภ สรรเสริญวาจาตรงตามอริยสัจตามความรู้ความเห็น อ้างอริยสัจเป็นหลักฐานเสมอ กาย วาจา ใจ เป็นอาชาไนยล้วน”

 “ท่านประพฤติตนเป็นคนขวนขวายน้อยอามิส หมดจดในข้อวัตร และหมดจดในธรรมะ พ้นวิสัยเทวดา และมนุษย์ที่จะติเตียนได้ ไม่เป็นข้อล่อแหลมในศาสนา ท่านได้วัตถุสิ่งใดมา ท่านสละทันที สงเคราะห์หมู่พรหมจรรย์ฯ”

 “สิ่งของอันใดท่านอยู่ที่ไหน เขาถวาย ท่านก็เอาไว้ให้พระเณรใช้ ณ ที่นั้น ท่านไม่ได้เอาไปด้วยฯ”

 “มีคนไปหาท่านอาจารย์มั่น ท่านไม่ดูคน ท่านดูจิตของท่านเสียก่อน จึงแสดงออกไปต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น อนึ่ง ท่านหันข้างและหันหลังใส่แขกท่านพิจารณาจิตของท่านก่อน แล้วพิจารณานิสัยของผู้อื่น นี้เป็นข้อลี้ลับมาก ต่อนั้นถ้าจะเอาจริงจังต้องประชันต่อหน้ากันจึงเห็นความจริงฯ”

 “จิตของท่านผ่าอันตรายลงไปถึงฐานของธรรมะนี้มีราคามาก บ่งความเห็นว่าเป็นอาชาไนยโดยแท้”

 “ปฏิบัติธรรมท่านพูดทรมานใครแล้วย่อมได้ดีทุกๆ คน ถ้าหมิ่นประมาทแล้วย่อมเกิดวิบัติใหญ่โต”

 “ท่านมีนิสัยปลอบโยนเพื่อคัดเลือกคนดีหรือไม่ดี ในขณะท่านพูดเช่นนั้น ท่านหันกลับเอาความจริง เพราะกลัวศิษย์จะเพลินฯ”

 “นิสัยท่านเป็นคนใจเดียว ไม่เห็นแก่หน้าบุคคล ในเวลาถึงคราวเด็ดเดี่ยวต่อธรรมะวินัยจริงๆฯ”

 “ท่านเป็นคนไม่อวดรู้ แต่ธรรมะของท่านบอกเหตุผลไปต่างหากนี้เป็นข้อพึงวินิจฉัย” 

 “หาบุคคลที่จะดูจริตของท่านรู้ได้ยาก เพราะท่านเป็นคนนิสัยลึกลับ จะรู้นิสัยได้ต่อเมื่อบุคคลที่มีภูมิจิตส่วนเดียวฯ”

 “ท่านผู้มีอำนาจในทางธรรมะ ทำอะไรได้ไม่ครั่นคร้าม ชี้เด็ดขาดลงไป ไม่มีใครคัดค้าน นี่เป็นอัศจรรย์มากฯ”

 “ท่านถือข้างใน ปฏิปทาความรู้ความเห็นของท่านเกิดจากสันตุฎฐี ความสันโดษของท่าน ท่านนิสัยไม่เป็นคนเกียจคร้าน ขยันตามสมณกิจวิสัย หวังประโยชน์ใหญ่ในศาสนาฯ”

 “ท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้ที่สะอาด ไตรจีวร และเครื่องอุปโภคของท่านไม่ให้มีกลิ่นเลย ถูย้อมบ่อยๆ”

 “ท่านบวชในสำนักพระอรหันต์ ๓ องค์ แต่เมื่อชาติก่อนๆ โน้น”

 “ท่านไม่ใคร่พยากรณ์ใครๆ เหมือนแต่ก่อน ท่านพูดแต่ปัจจุบันอย่างเดียว นิสัยท่านชอบเก็บเอาเครื่องบริขารของเก่าไว้ใช้ เพราะมันภาวนาดี เช่นจีวรเก่าเป็นต้นฯ”

 “ท่านไม่ติดอามิส ติดบุคคล ติดลาภ ยศ สรรเสริญ ท่านถือธรรมะเป็นใหญ่ ไปตามธรรมะ อยู่ตามธรรมะฯ”

 “ท่านพูดธรรมะไม่เกรงใจใคร ท่านกล้าหาญ ท่านรับรองความรู้ของท่าน ฉะนั้น ท่านจึงพูดถึงพริกถึงขิง ตรงอริยสัจ พูดดังด้วย พูดมีปาฏิหาริย์ด้วย เป็นวาจาที่บุคคลจะให้สิ้นทุกข์ได้จริงๆ เป็นวาจาที่สมถะวิปัสสนาพอ ไม่บกพร่องกำหนดรู้ตามในขณะกาย วาจา จิตวิกาลตรงกับไตรทวารสามัคคีเป็นวาจาที่เด็ดเดี่ยวขลังดีเข้มแข็งดี เป็นอาชาไนยล้วน วาจาไม่มีโลกธรรมติด เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ พระเณรอยู่ในอาวาสท่านได้สติมาก เพราะบารมีของท่านเสื่อม ถ้าขืนประมาทท่านเกิดวิบัติฯ”

 “ท่านอาจารย์มั่น เทวดาและอมนุษย์ไปนมัสการท่าน เท่าไรพันหรือหมื่นท่านกำหนดได้”

 “ท่านรักษาระวังเทวดามนุษย์ประมาทท่าน เช่นเยี่ยงท่านก็มีระเบียบแม้กิจเล็กๆ น้อยๆ เป็นระเบียบหมดฯ”

 “ท่านอาจารย์ท่านพูดโน้น คำนี้อยู่เสมอ เพื่อจะให้สานุศิษย์หลงเพื่อละอุปาทานถือในสิ่งนั้นๆ ท่านทำสิ่งที่บุคคลไม่ดำริไว้ สิ่งใดดำริไว้ท่านไม่ทำ นี้ส่อให้เห็นท่านไม่ทำตามตัณหาของบุคคลที่ดำริไว้ฯ”

 “จิตของท่านอาจารย์มั่นผ่าอันตรายลงไปตั้งอยู่ด้วยอมตธรรม บริบูรณ์ด้วยมหาสติ มหาปัญญา มีไตรทวารรู้รอบ มิได้กระทำความชั่วในที่ลับและที่แจ้ง และมีญาณแจ่มแจ้ง รู้ทั้งเหตุผลพร้อมกัน เพราะฉะนั้นแสดงธรรมมีน้ำหนักมาก พ้นวิสัยคนที่จะรู้ตามเห็นตาม เว้นแต่บุคคลบริบูรณ์ด้วยศีลและสมาธิมาแล้ว อาจที่ฟังเทศนาท่านเข้าใจแจ่มแจ้งดี และบุคคลนั้นทำปัญญาสืบสมาธิต่อฯ”

 “จิตท่านอาจารย์มั่นตื่นเต้นอยู่ด้วยความรู้ ไม่หยุดนิ่งได้ มีสติรอบเสมอ ไม่เผลอทั้งกายและวาจา เป็นผู้มีอริยธรรมฝังมั่นอยู่ในสันดาน ไม่หวั่นไหว ตอนนี้ไม่มีใครที่จะค้านธรรมเทศนาของท่านได้ เพราะวาจาเป็นอาชาไนย และมีไหวพริบแก้ปฤษณาธรรมกายได้ฯ”

 “ธาตุของท่านอาจารย์เป็นธาตุนักรู้เป็นธาตุที่ตื่นเต้นในทางธรรมะ เป็นผู้ที่รู้ยิ่งเห็นจริงในอริยสัจธรรม ท่านดัดแปลงนิสัยให้เป็นบรรพชิต ไม่ให้มีนิสัยหินเพศติดสันดาน ท่านประพฤติตนของท่านให้เทวดาและมนุษย์เคารพ และท่านไม่ประมาทในข้อวัตรน้อยใหญ่ฯ”

 “ท่านไม่ให้จิตของท่านนอนนิ่งอยู่อารมณ์อันเดียว ท่านกระตุกจิต จิตของท่านค้นคว้าหาเหตุหาผลของธรรมะอยู่เสมอ ท่านหัดสติให้รอบรู้ในอารมณ์และสังขารทั้งปวงฯ”

 “ท่านอาจารย์มั่น ท่านเก่งทางวิปัสสนา ท่านเทศน์ให้บริษัทฟัง สัญญา มานะเขาลด เจตสิกเขาไม่เกาะ เมื่อไม่เกาะเช่นนั้น ยิ่งทำความรู้เท่าเฉพาะในจิต ตรวจตราในดวงจิตขณะที่นั่งฟัง ต่อนั้นจะเห็นอานิสงส์ทีเดียว ไม่ทำเช่นนั้นหาอานิสงส์การฟังธรรมมิได้ ถ้าประมาทแล้วจะเกิดวิบัติเพราะคามานะทิฐิของตน วินิจฉัยธรรมมิได้”

 “ท่านเทศน์อ้างอิงตำราและแก้ไขตำราดุจของจริงทีเดียว เพราะท่านบริบูรณ์วิปัสสนาและสมถะพอ และท่านยกบาลีเป็นตัวเหตุผลแจ่มแจ้ง”

 “ท่านอาจารย์มั่นอุบายจิตของท่านพอทุกอย่างไม่บกพร่อง คือพอทั้งสมถะ พอทั้งวิปัสสนาทุกอย่าง เพราะฉะนั้น ท่านเทศนาจิตของผู้ฟังหดและสงบ และกลัวอำนาจ เพราะนิสัยคนอื่นไม่มีปัญญาที่จะชอนเข็มโต้ถามได้ ตรงกับคำว่าพอทั้งปัญญา พอทั้งสติ ทุกอย่างเป็นอาชาไนยล้วน รวบรัดจิตเจตสิกของคนอื่นๆมิอาจจะโต้แย้งได้”

 “ท่านว่าแต่ก่อนท่านเป็นคน 'โกง' คน 'ซน' คน 'มานะกล้า' แต่ท่านมีธุดงค์ข้อวัตรทุกอย่างเป็นยอด ทำความรู้เท่าทันกิเลสเหล่านั้น เดี๋ยวนี้นิสัยก่อนนั้นกลายเป็นธรรมล้วน เช่น 'โกงสติ' 'ซนสติ' 'มานะสติ' เป็นคุณสมบัติสำหรับตัวของท่าน ความรู้ความฉลาดของท่าน ไปตามธรรมคืออริยสัจ ใช้ไหวพริบทุกอย่าง ตรงตามอริยสัจ ตรงกับคำว่าใช้ธรรมเป็นอำนาจ คณาจารย์บางองค์ถืออริยสัจก็จริง แต่มีโกงนอกอริยสัจ เป็นอำนาจบ้างแฝง แฝงอริยสัจ ตรงกับคำที่ว่า ใช้อำนาจเป็นธรรมแฝงกับความจริง”

 “ท่านอาจารย์เป็นนักปราชญ์แปดเหลี่ยมคม คมยิ่งนัก ธรรมชาติจิตของท่านที่บริสุทธิ์นั้น กลิ้งไปได้ทุกอย่างและไม่ติดในสิ่งนั้นด้วย ดุจน้ำอยู่ในใบบัว กลิ้งไปไม่ติดกับสิ่งอื่นๆ เพราะฉะนั้นจิตของท่านถึงผลที่สุดแล้ว มิอาจจะกระทำความชั่วในที่ลับและที่แจ้ง เพราะสติกับปัญญารัดจิตบริสุทธิ์ให้มั่นคง ใช้ไหวพริบเป็นอาชาไนยอยู่เนืองนิตย์”

รูปภาพ
หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร 


หนังสือจันทสาโรบูชา โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต
http://www.luangpumun.org/nisay.html

เดือนจันทรคติ ปี 56-58

การกำหนดวันตามจันทรคติ

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เดือนปฏิทินไทย

การกำหนดวันของเดือนไทย

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เดือนไทย ปี 57

การกำหนดวันของเดือนไทย

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พระไตรปิฎก online


โครงการเรียนรู้พระธรรม จากพระไตรปิฎก
วินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฏก
อภิธรรมปิฎก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑

พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑
มหาวิภังค์ ปฐมภาค

ร่วมสร้าง พระวินัยปิฎก เล่ม ๑
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา
บูชาพระรัตนตรัย
โดย
พุฒิวงศ์ บุษบวรรษ
ปิยมน อัจฉริยปัญญา
บริษัท โพลีบูรณ์ จำกัด
..........
สำนักสงฆ์อุ่งเขาตะกุดขอสนับสนุน
การเผยแผ่พระตรัยปิฎกในครั้งนี้

บทความพระวินัยบัญญัติของภิกษุ

พระวินัย หมายถึง กฎระเบียบข้อบังคับ หรือขนมธรรมเนียมประเพณีที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไป
ในทางเดียวกันของหมู่ภิกษุสงฆ์ เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น เพื่อมีอาจาระอันงามเป็น
ระเบียบเรียบร้อย อันจะนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติชอบ เป็นการเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติธรรมทางจิตต่อไป
หากจะเปรียบเทียบให้เด่นชัดขึ้นมา พระวินัยนี้ก็เปรียบกับกฎระเบียบหรือกฎเกณฑ์กติกาของ
สังคมหนึ่ง ๆ ที่อยู่ร่วมกันโดยมีกติกาตกลงกันไว้ ถ้าใครฝ่าฝืน ต้องถูกลงโทษตามกติกาที่ตั้งไว้นั้น
หรือจะเปรียบเทียบกับกฏหมายบ้านเมืองของประเทศหนึ่ง ๆ ที่มีกฎหมายตราไว้สำหรับพลเมือง
ของประเทศนั้น ๆ ได้ปฏิบัติร่วมกัน ถ้าใครฝ่าฝืนก็มีความผิด
พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติพระวินัย(สิกขาบท) ไว้ เป็นกฎข้อบังคับสำหรับพระสาวกได้ปฏิบัติ
ซึ่งพระวินัยที่ทรงบัญญัตินั้นมีลักษณะใหญ่ ๆ  ๒  ประการ คือ
๑.   พุทธบัญญัติ คือ ข้อที่พระองค์บัญญัติไว้ห้ามมิให้ประพฤติ ถ้าภิกษุรูปใดฝ่าฝืนพุทธบัญญัตินี้
จะมีโทษปรับอาบัติตั้งแต่เบา ๆ จนถึงมีโทษหนักที่สุด คือ ขาดจากความเป็นภิกษุเลยทีเดียว
๒.   อภิสมาจาร คือ ข้อปฏิบัติหรือขนมธรรมเนียมที่พระสงฆ์จะต้องประพฤติตามเพื่อให้มีอาจาระ
เป็นที่น่าเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น เป็นระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติตน เกี่ยวกับความประพฤติเล็ก ๆ
น้อย ๆ เช่น การตัดผม การตัดเล็บ การอาบน้ำ การนุ่งห่ม การยืน การเดิน การนั่ง การนอน
การฉันขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งพระวินัยในส่วนนี้ไม่มีการปรับอาบัติไว้โดยตรง แต่ถ้าใครไม่เอื้อเฟื้อ
ตามวิธีปฏิบัตินี้ก็ปรับโทษเพียงอาบัติเบา ๆ คือ ทุกกฏเท่านั้น
ลักษณะการบัญญัติพระวินัย หรือสิกขาบท
จากการที่มีพระภิกษุสงฆ์สาวกจำนวนมากที่มีศรัทธามาอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา
ซึ่งภิกษุสงฆ์เหล่านี้ต่างก็มาจากตระกูลที่ต่างกัน มีความประพฤติที่ต่างกัน และมีความเชื่อที่ต่างกัน
เมื่อมาอยู่รวมกันยากนักที่จะให้มีความเป็นระเบียบได้ การบัญญัติพระวินัยก็เพื่อวางกรอบระเบียบ
ให้พระสงฆ์สาวกทั้งหลายได้ปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน เพื่อป้องกันความยุ่งยากวุ่นวายอันอาจจะเกิดขึ้น
ซึ่งการบัญญัติพระวินัยนี้มีด้วยกัน ๒  ประเภทคือ
๑.  มูลบัญญัติ
๒.  อนุบัญญัติ
มูลบัญญัติ : ข้อที่ทรงบัญญัติไว้เดิม (เหตุเกิดครั้งแรก)
มูลบัญญัติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มาติกาคือสิกขาบทที่ตั้งไว้เป็นบทแม่ การบัญญัติพระวินัยนี้
พระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ความเสียหายน่าติเตียนของภิกษุบางรูปเกิดขึ้น พระพุทธองค์จึงประชุมพระสงฆ์สาวกทั้งหมด ไต่สวนมูลความผิดที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นจริงตามนั้นหรือไม่ และชี้แจงให้เห็นโทษความเสียหายที่เกิดจากความประพฤติของภิกษุบางรูปนั้นแล้ว ทรงถือเอาข้อความผิดนั้นเป็นต้นเหตุซึ่งเรียกว่า อาทิกัมมิกะ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุรูปอื่นประพฤติเช่นนั้นอีก ถ้าใครฝ่าฝืนประพฤติเช่นนั้นอีกจะต้องอาบัติ คือ ต้องโทษ และแม้สิกขาบทอื่น ๆ ก็ตาม พระพุทธองค์ก็ทรงอาศัยเหตุเช่นนั้นเป็นมูลบัญญัติในการบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกเช่นกัน
อนุบัญญัติ :  ข้อที่ทรงบัญญัติซ้ำเพิ่มเติมในภายหลัง
จากการที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยเป็นมูลบัญญัตินั้น อาจจะไม่ครอบคลุมความประพฤติในด้านอื่น ๆ ด้วย ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีภิกษุที่หลีกเลี่ยงการต้องพระวินัยเช่นนั้นหันไปประพฤติอาจาระที่ใกล้เคียงกันให้เกิดความเสียหายขึ้นอีก พระพุทธองค์ก็ทรงประชุมสงฆ์อีกครั้ง และทรงชี้แจงให้เห็นโทษของการประพฤติเช่นนั้นแล้ว จึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทนั้นเพิ่มเติมขึ้นอีก หรือบางครั้งพระพุทธบัญญัติเดิมอาจมีความเคร่งตึงเกินไปก็ทรงบัญญัติเพิ่มเติมผ่อนผันลดหย่อนลงมาได้เพื่อให้ง่ายต่อการประพฤติ
ซึ่งการบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมภายหลังนี้เรียกว่า อนุบัญญัติ คือ พระบัญญัติที่ทรงบัญญัติซ้ำสิกขาบทเดิมที่เคยบัญญัติไว้ก่อนแล้ว เพื่อเพิ่มเติมให้มีผลครอบคลุมมากกว่าเดิม
อานิสงส์แห่งการบัญญัติพระวินัย  ๑๐  ประการ
พระพุทธองค์ได้ทรงชี้แจงต่อที่ประชุมพระสงฆ์สาวกว่า การบัญญัติพระวินัยนั้นมีประโยชน์ต่อพระสงฆ์จำนวนมาก ต่อพระศาสนาและต่อพระสาวกที่มีศีลเป็นที่รัก พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นประโยชน์ ๑๐ ประการ ที่เกิดจากการบัญญัติพระวินัยไว้ดังนี้
๑.   เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒.   เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
๓.   เพื่อข่มบุคคลผู้แก้ยาก
๔.   เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
๕.   พื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖.   เพื่อกำจัดอาสวะอันจักมีในอนาคต
๗.   เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘.   เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
๙.   เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐.  เพื่อถือเอาตามพระวินัย (ยึดหลักพระวินัยเป็นปทัฏฐาน)
อาบัติ
อาบัติ หมายถึง การต้องโทษทางพระวินัย เพราะทำความผิดต่อพระพุทธบัญญัติ หรืออภิสมาจารที่พระพุทธเจ้าบัญญัติห้ามมิให้ประพฤติ ผู้ฝ่าฝืนต้องมีโทษตามที่กำหนดไว้ในพระวินัยแต่ละสิกขาบท ซึ่งมีการกำหนดโทษไว้ลดหลั่นกันไปจากโทษ หรืออาบัติที่หนักที่สุดคือขาดจากความเป็นภิกษุ โทษอย่างกลางต้องอยู่กรรมประพฤติมานัตจึงจะพ้นได้ และโทษอย่างเบาต้องประจานตนเองต่อหน้าภิกษุอื่นจึงจะพ้นได้

ซึ่งการลงโทษในทางพระวินัยไม่มีความยุ่งยาก ไม่ต้องสอบสวนหาผู้กระทำความผิด ยกเว้นอาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส เช่น การลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ เป็นต้น

ที่มา พุทธะ.com

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เสขิยะ-อธิกรณสมถะ



เสขิยะ
(เสขิยะ  ๗๕)
ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อเสขิยะเหล่านี้แล  ย่อมมาสู่อุทเทส.
๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล."
๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักห่มเป็นปริมณฑล".
๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักปกปิดกายดีไปในละแวกบ้าน".
๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักปกปิดกายดีนั่งในละแวกบ้าน
๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักสำรวมดีไปในละแวกบ้าน".
๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักสำรวมดี  นั่งในละแวกบ้าน."
๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน."
๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน."
๙. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า."
๑๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งเวิกผ้า."
ปะริมัณฑะละวรรค  ที่หนึ่งจบ
๑๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความ  หัวเราะลั่น."
๑๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น."
๑๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน."
๑๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน."
๑๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่โยกกายไปในละแวกบ้าน."
๑๖.พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่โยกกายนั่งในละแวก
บ้าน."
๑๗.  พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน."
๑๘.พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน"
๑๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน."
๒๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน."
นะ  อุชชัคคิกะวรรค ที่สองจบ
๒๑. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ทำความค้ำไปในละแวกบ้าน."
๒๒. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ทำความค้ำนั่งในละแวกบ้าน."
๒๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่คลุม  (ศีรษะ)  ไปในละแวกบ้าน."
๒๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่คลุม  (ศีรษะ)  นั่งในละแวกบ้าน."
๒๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ไปในในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความกระโหย่ง  ."
๒๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่นั่งในในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความรัดเข่า  ."
๒๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ"
๒๘.  พึงทำศึกษา"เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรรับิณฑบาต"
๒๙.   พึงทำศึกษาว่า"เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน
๓๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ"
นะ  ขัมภะกะตะวรรค   ที่สามจบ
๓๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ."
๓๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต."
๓๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง."
๓๔.พึงทำศึกษาว่า"เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน"
๓๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ขยุมลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต."
๓๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่กลบแกงก็ดี  กับข้าวก็ดี  ด้วยข้าวสุก  อาศัยความอยากได้มาก."
๓๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ขอสูปะก็ดี  ข้าวสุกก็ดี  เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน."
๓๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น."
๓๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก."
๔๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม."
สักกัจจะวรรค   ที่สี่จบ
๔๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง  เราจักไม่อ้าช่องปาก."
๔๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราฉันอยู่  จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก
๔๓.  พึงทำศึกษาว่า  "ปากยังมีคำข้าวเราจักไม่พูด."
๔๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันเดาะ  คำข้าว
๔๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว."
๔๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย
๔๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันสลัดมือ."
๔๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก."
๔๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันแลบลิ้น
๕๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ
นะ  อะนาหะฏะวรรค  ที่ห้าจบ
๕๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ
๕๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันเลียมือ."
๕๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันขอดบาตร."
๕๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก."
๕๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส."
๕๖. พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน."
๕๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ."
๕๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีไม้พลองในมือ."
๕๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีศัสตราในมือ."
๖๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บ ไข้มีอาวุธในมือ."
นะ  สุรุสุรุการะกะวรรค   ที่หกจบ
๖๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมเขียงเท้า."
๖๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมรองเท้า."
๖๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ไปในยาน."
๖๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้อยู่บนที่นอน."
๖๕  .  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า."
๖๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ."
๖๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ."
๖๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เรานั่งอยู่ที่แผ่นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้นั่งบนอาสนะ."
๖๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เรานั่งบนอาสนะต่ำจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้นั่งบนอาสนะสูง."
๗๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เรายืนอยู่  จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้นั่งอยู่."
นะ  ปาทุกะวรรค  ที่เจ็ดจบ
๗๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราเดินไปข้างหลังจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้เดินไปข้างหน้า."
๗๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้ไปอยู่ในทาง."
๗๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ."
๗๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะ  หรือบ้วนเขฬะบนของสดเขียว."
๗๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะ  หรือบ้วนเขฬะในน้ำ
นะ ปัจฉะโตวรรค  ที่แปดจบ
ท่านทั้งหลาย  ธรรมทั้งหลายชื่อเสขิยข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว.          ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในเรื่องนั้น  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?          ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ท่าน            ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนั้นเพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง.  ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
เสขิยะ  จบ.
ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่ออธิกรณสมถะ  ๗  เหล่านี้แล  ย่อมมาสู่  อุทเทส.
เพื่อความสงบ  เพื่อความระงับ  ซึ่งอธิกรณ์ทั้งหลาย  ที่เกิดขึ้นแล้ว  ที่เกิดขึ้นแล้ว    พึงให้ระเบียบอันจะพึงทำให้ถึงพร้อมหน้า  พึงให้ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก พึงให้ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว                            ( พึงให้ )  ทำตามรับ  ( พึงให้ )  ตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ  ( พึงให้ )  กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด  ( พึงให้ )  ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า.
ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่ออธิกรณสมถะ  ๗  อันข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล  ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในเรื่องนั้น  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?           ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ท่าน           ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนั้นเพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง.ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่าง นี้.
อธิกรณสมถะ  ๗  จบ.
ท่านทั้งหลาย  คำนิทาน  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล  ธรรมทั้งหลายชื่อปาราชิก  ๔  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อ  สังฆาทิเสส  ๑๓  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว
ธรรมทั้งหลายชื่ออนิยต  ๒  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลาย    ชื่อนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ๓๐  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อปาจิตตีย์  ๙๒  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อปาฏิเทสนียะ  ๔  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อเสขิยะ  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรม           ทั้งหลายชื่ออธิกรณสมถะ  ๗  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว
คำเท่านี้  ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  นับเนื่องในสูตรแล้ว          มาในสูตรแล้ว  ย่อมมาสู่อุทเทสทุกๆ  กึ่งเดือน.  อันภิกษุทั้งหลายทั้งปวง    นั่นแล  พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  เป็นผู้ชื่นชมด้วยดีอยู่  เป็นผู้ไม่วิวาทอยู่  ศึกษาในพระปาฏิโมกข์นั้นดังนี้.
ภิกขุปาฏิโมกข์  จบ
จากนั้นพระเถระผู้เป็นประธาน ให้โอวาท  และนำเจริญพระพุทธมนต์ตามแต่ทางวัดจะกำหนด  แต่โดยมาก วัดใหญ่ๆ ที่มีวัตรปฏิบัติเป็นแบบแผน   นิยมสวดบทสวดมนต์หลังปาฏิโมกข์   ดังต่อไปนี้
๑.   กรณียเมตตสูตร
๒.  ขันธปริตร
๓.  พระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ
๔.  วันทา  (วันทาบทใหญ่)
๕.  กรวดน้ำ  (อิมินา)
สวดจบแล้ว  พระเถระผู้เป็นประธานนำคุกเข่ากราบ ๓ หน  เป็นอันเสร็จพิธี
จากนั้น พระเถระผู้เป็นประธานต่อศีลให้สามเณร  เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระสงฆ์โดยทั่วไป   โดยถือว่าการต่อศีลให้สามเณรเป็นการอนุเคราะห์สามเณร  ผู้เป็นสามณเชื่อสายศากยบุตร ที่จะทำหน้าที่สืบพระศาสนาต่อไป เพื่อทำศีลให้บริสุทธิ์และเป็นการทบทวนศีล ๑๐ ข้อ  เหมือนภิกษุสวดปาฏิโมกข์    เพื่อการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ  พระเถระผู้เป็นประธานให้โอวาทสามเณร  เป็นอันเสร็จพิธี