วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สวดพระอภิธรรม ในงานศพ ทำไม?

พระอภิธรรม...
 การสวดพระอภิธรรมในงานศพ
 เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ 
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html
 ทุกท่านคงจะพบคำว่า สวดพระอภิธรรม หรือ ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ในบัตรเชิญหรือในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเชิญไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลแด่ท่านผู้วายชนม์อยู่บ่อย ๆ
..ที่ว่า สวดพระอภิธรรม นั้น เมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้ย่อมทราบดีแล้วว่าหมายถึงอะไร ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่ามีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวดในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศให้ ผู้วายชนม์นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่ พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่าง ๆ ดังนี้
.. ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็นกลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อัน เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะมิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมาเปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ ทำให้เห็นสัจจธรรมที่ แท้จริงของชีวิต ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ ร่วมบำเพ็ญกุศลในงานศพจะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โดยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง 
...อีกประการหนึ่ง เพราะเห็นว่าในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่ง สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมา แม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดงในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้ว
... ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดงในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมากการสวดพระอภิธรรมก็คือการนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้น ๆ ในแต่ละคัมภีร์ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน
..การสวดพระอภิธรรมนี้บางทีเรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นั่นเอง (สัตต = เจ็ด ปกรณ์ = คัมภีร์ ตำรา) ต่อมาภายหลังมีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์มาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด

อีกประการ..

ข้อควรรู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม

คัดลอกและตัดตอนมาจาก หนังสือคู่มือฟังสวดพระอภิธรรม

โดย แผนกพัฒนาจิต มูลนิธิว่องวานิช

คัมภีร์สำคัญในพระพุทธศาสนาเรียกว่า พระไตรปิฎก มีอยู่ ๓ ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก, พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก พระอภิธรรมเป็นคัมภีร์สำคัญที่สุด ลึกซึ้งที่สุด เข้าใจยากที่สุด และมีเนื้อหามากที่สุด โดยนับเป็นหัวข้อได้ถึง ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ในขณะที่พระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก มีปิฎกละ ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เท่านั้น
ประเพณีการสวดพระอภิธรรม
เนื่องด้วยในสมัยโบราณไม่นิยมใช้หนังสือบันทึกคำสอนหรือพระพุทธวจนะ แต่ใช้วิธีท่องจำต่อ ๆกันมา และพระพุทธวจนะหรือคำสอนนั้นก็เป็นสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือจะเรียกว่าเป็นตัวพระพุทธศาสนาก็ว่าได้ จึงเกิดความจำเป็นขึ้นว่า เมื่อจะรักษาพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่ นอกจากจะท่องจำคำสอนเป็นกิจวัตร และทำความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆแล้ว ก็ยังจำเป็นต้องมีการสวดสาธยายธรรมกันเป็นประเพณีด้วย และการสาธยายธรรมนั้น ก็มีข้อน่าสังเกตดัวนี้
  • ๑.    เกี่ยวกับพระวินัยปิฎกนั้น ได้มีพระบัญญัติให้ท่องจำและทบทวนกันทุกกึ่งเดือน ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็คือ การลงอุโบสถฟังสวดพระปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์นั่นเอง (ต้องทำทุกวันขึ้น ๑๕ค่ำและ แรม ๑๕ค่ำ)
  • ๒.    ส่วนพระสุตตันตปิฎกนั้น ก็เกิดประเพณีที่อนุรักษ์ไว้ ๒ วิธีคือ
    • ๒.๑    การสวดพระธรรมเพื่อรักษาพระพุทธศาสนา โดยถือว่าการสวดเป็นปริยัติศาสนา (การศึกษาเล่าเรียน)อย่างหนึ่ง เรียกว่าสาธยายธรรมได้แก่ประเพณีสวดมนต์ทำวัตรเช้า สวดมนต์ทำวัตรเย็นทุกวันมิได้ขาด จึงเกิดมีหอสวดมนต์ ประจำวัดสืบมาจวบจนปัจจบัน
    • ๒.๒   การสวดพระปริตร เพื่อคุ้มครองป้องกันภัยอัตรายทั้งหลาย ซึ่งถือเป็นประเพณีในการทำบุญ หรือบำเพ็ญกุศลต่างๆ เช่นงานฉลองหรืองานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ได้นิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นศิริมงคล บทสวดในงานดังกล่าวนี้ ก็นำข้อความสำคัญจากพระสุตตันตปิฎกนั่นเองมาเป็นแม่บท
  • ๓.    สำหรับพระอภิธรรมปิฎกนั้น จะนำมาสวดเฉพาะในงานบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานศพ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้วายชนม์ แต่เนื้อหาที่แท้จริงล้วนเป็นคำสอนที่มุ่งสอนคนเป็น ไม่ใช่สวดให้คนตายฟัง และการสวดพระอภิธรรมนี้แบ่งเป็น ๒ ตอนคือ
    • ๓.๑   ในวันตั้งศพวันแรก และวันทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน และในเวลาก่อนประชุมเพลิง นิยมนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรมเรียกว่าสวดมาติกาบังสุกุล ถ้าเป็นงานพระศพเจ้านายเรียกว่าพิธีสดัปกรณ์ซึ่งหดเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า “สัตตปกรณ์” คือพระอภิธรรม ๗คัมภีร์ โดยออกเสียงเป็นรูปสันสกฤตว่า “สัปตปกรณ์” หรือ “สัปตัปประกรณ์”แล้วออกเสียงเพี้ยนเป็น “สตับปกรณ์”ดังกล่าวแล้ว
    • ๓.๒   ในตอนกลางคืนมีประเพณีสวดสังคหะเป็นทำนองสรภัญญะ(คือการสวดโดยใช้เสียงบริสุทธ์ เป็นจังหวะ สั้น-ยาว) โดยนำสวดเป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธมาจากคัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ ซึ่งเป็นคำภีร์ที่พระอนุรุทธเถระแต่งขึ้น โดยวิธีเก็บสาระสำคัญจากพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมดมาจัดเป็นหมวดหมู่ใหม่เป็น ๙ ปริจเฉท หรือ ๙ บท และสาระสำคัญใน ๙ปริจเฉทนั้นก็เป็นเรื่องของการอธิบายปริมัตถธรรม หรือพุทธอภิปรัชญา ซึ่งโดยสรุปแล้วก็มีเนื้อหาเป็นหลักสำคัยเพียง ๔หัวข้อ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งท่านย่อให้จำง่าย ๆว่า จิ. เจ. รุ. นิ. เนื้อหาสาระสำคัญของพระอภิธัมมัตถสังคหะ ทั้ง ๙ ปริเฉท อธิบายโดยสรุปได้ดังนี้
คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะมี ๙ ปริเฉทคือ
ปริเฉทที่ ๑ชื่อว่า จิตตสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่องของจิต
ปริเฉทที่ ๒ชื่อว่า เจตสิกสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่องของเจตสิก
ปริเฉทที่ ๓ชื่อว่า ปกิณณกสัวคหวิภาคแจกแจงแสดงเรื่อง ธรรมะ
 คือเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
ปริเฉทที่ ๔ชื่อว่า วิถีสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่อง วิถีจิต
ปริเฉทที่ ๕.ชื่อว่าวิถีมุตตสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่อง จิตที่ พ้น
 วิถีและธรรมะที่เกี่ยวเนื่องกับจิตเหล่านั้น
ปริเฉทที่ ๖.ชื่อว่ารูปสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่อง รูปและนิพพาน
ปริเฉทที่ ๗.ชื่อว่าสมุจจยสังคหวิภาค แจกแจงเรื่อง ธรรมะที่
 สงเคราะห์เข้าเป็นหมวดเดียวกัน
ปริเฉทที่ ๘.ชื่อว่า ปัจจยสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่องธรรมที่อุป
 การะซึ่งกันและกัน และแสดงบัญญัติธรรมด้วย
ปริเฉทที่ ๙.ชื่อว่า กัมมัฏฐานสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่อง กัมมัฏ
 ฐาน ทั้ง สมถะ และวิปัสสนากัมมัฏฐาน

คำแปลพระอภิธรรม ธมฺมสงฺ คณี
กุสลา ธฺมมา.
ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล, คือ ไม่มีโทษ อันบัณฑิตติเตียน, มีสุขเป็นวิบากต่อไป
อกุสลา ธฺมา.
ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล, คือ มีโทษอันบัณฑิตติเตียน, มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
อพฺยากตา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลายเป็นอัพยากฤต, คือท่านไม่พยากรณ์ว่าเป็นกุศลหรือ อกุศล คือเป็นธรรมกลาง ๆ
กตเม ธมฺมา กุสลา.
ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน?
ยสฺมึ สมเย.
ในสมัยใด?
กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ.
จิตเป็นกุศลอันหยั่งลงสู่กามย่อมเกิดขึ้น.
โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ.
เป็นไปกับโสมนัส ประกอบพร้อมด้วยญาณ.
รูปารมฺมณํ วา.
ปรารภอารมณ์ คือรูป, หรือมีรูปเป็นอารมณ์บ้าง.
สทฺทารมฺมณํ วา.
ปรารภอารมณ์ คือเสียง,หรือมีเสียงเป็นอารมณ์บ้าง.
คนฺธารมฺมณํ วา
ปรารภอารมณ์ คือกลิ่น, หรือมีกลิ่นเป็นอารมณ์บ้าง.
รสารมฺมณํ วา
ปรารภอารมณ์ คือรส, หรือมีรสเป็นอารมณ์บ้าง.
โผฏฐพฺพารมฺมณํ วา.
ปรารภอารมณ์ คือ โผฏฐัพพะ สิ่งที่กายถูกต้อง,หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์บ้าง
ธมฺมารมฺมณํ วา
ปรารภอารมณ์ คือ ธรรม, เรื่องที่เกิดแก่ใจ,หรือมีธรรมเป็นอารมณ์บ้าง
ยํ ยํ วา ปนารพฺภ.
ปรารภอารมณ์ใด ๆบ้างก็ดี.
ตสฺมึ สมเย.
ในสมัยนั้น
ผสฺโส โหติ.
ความประจวบต้องกันแห่งอายตนะภายนอก,และวิญญาณ ยอมมี ฯลฯ
อวิกฺเขโป โหติ.
ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี.
เย วา ปน ตสฺมึ สมเย อญฺปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา อรูปิโน ธมฺมา.
ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่มีรูป, ที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้เหล่าอื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น
อิเม ธมฺมา กุสลา.
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ธรรมยุติกนิกาย


ธรรมยุติกนิกาย หรือ คณะธรรมยุต เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทำให้มีพระวิจารณญาณเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
เนื่องด้วยเหตุที่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียเมืองแก่พม่า กลุ่มที่มีบทบาทมากกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มของพระฝาง ซึ่งผู้นำเป็นพระภิกษุ แต่จับอาวุธ และใช้วิชาอาคมเพื่อการสู้รบ กระทำการเช่นกับนักรบ มีพระภิกษุมากมายที่เป็นสมาชิก เป็นกลุ่มใหญ่มีกำลังพลมาก ทำให้ภาพพจน์ของพระภิกษุในสมัยนั้น เป็นที่เสื่อมศรัทธาของประชาชน แม้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะทำการฟื้นฟูศาสนาไปแล้วในเบื้องต้น แต่ภาพที่ผู้คนประชาชนในไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับ
 เป็นเหตุให้รัชกาลที่๔ ในขณะทรงผนวชมีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย

การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ได้มีการประชุมและมีมติให้เรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ว่า "มหานิกาย"

วิธีทำอุโบสถ ๓ อย่าง

วิธีทำอุโบสถ ๓ อย่าง
๑. สวดปาติโมกข์
             [๑๘๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป
จึงภิกษุเหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุต้องทำอุโบสถ ดังนี้
ก็พวกเรามีอยู่เพียง ๔ รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป สวด
ปาติโมกข์.
๒. ทำปาริสุทธิอุโบสถ
             สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จึงภิกษุเหล่านั้น
ได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป สวดปาติโมกข์ ก็พวกเรามีอยู่
เพียง ๓ รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กัน.
วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ ๓ รูป
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงทำปาริสุทธิอุโบสถ อย่างนี้.
             ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
             ท่านทั้งหลายเจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของ
ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กันเถิด.
             ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วบอกความ
บริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-
คำบอกความบริสุทธิ์
             ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
             ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
             ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว.
             ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วบอกความ
บริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-
             ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
             ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
             ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว.
             สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จึงภิกษุเหล่านั้น
ได้มีความปริวิตกว่า  พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูปสวดปาติโมกข์  ให้ภิกษุ ๓ รูป
ทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กัน  ก็พวกเรามีเพียง ๒ รูป  จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ.
วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ ๒ รูป
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงทำปาริสุทธิอุโบสถอย่างนี้:-
             ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว บอกความ
บริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ว่า:-
คำบอกความบริสุทธิ์
             ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
             ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
             ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว.
             ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว บอกความ
บริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุผู้เถระอย่างนี้ว่า:-
คำบอกความบริสุทธิ์
             ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
             ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
             ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว.
๓. อธิษฐานอุโบสถ
             สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่รูปเดียว จึงภิกษุนั้นได้มีความ
ปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป สวดปาติโมกข์ ให้ภิกษุ ๓ รูปทำปาริสุทธิ-
*อุโบสถแก่กัน ให้ภิกษุ ๒ รูป  ทำปาริสุทธิอุโบสถ ก็เรามีอยู่เพียงรูปเดียว จะพึงทำอุโบสถ
อย่างไรหนอ.  ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุในศาสนานี้อยู่รูปเดียว.
ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุทั้งหลาย คือจะเป็นโรงฉัน มณฑป หรือโคนต้นไม้
ก็ตาม  แล้วตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ ปูอาสนะ ตามประทีปไว้ แล้วนั่งรออยู่.  ถ้ามีภิกษุเหล่าอื่นมา
พึงทำอุโบสถร่วมกับพวกเธอ ถ้าไม่มีมา พึงอธิษฐานว่า  วันนี้เป็นวันอุโบสถของเรา ถ้าไม่
อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง
มา แล้ว ๓ รูปสวดปาติโมกข์ไม่ได้  ถ้าขืนสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง
มา แล้ว ๒ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถไม่ได้  ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง
มา แล้วอีกรูปหนึ่งอธิษฐานไม่ได้  ถ้าขืนอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ประเภทของอุโบสถ
ถ้ามีภิกษุ 4 รูปขึ้นไป ให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง

ปาริสุทธิอุโบสถ ภิกษุ 3 รูป

ภิกษุผู้ฉลาด พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบ ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้

“สุณันตุ เม ภันเต อายัส๎มันตา อัชชุโปสะโถ ปัณณะระโส, ยะทายัส๎มันตานัง ปัตตะกัลลัง,มะยัง อัญญะมัญญัง ปะริสุทธิอุโปสะถัง กะเรยยามะ.

ท่านทั้งหลายเจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า อุโบสถวันนี้ที่ 15 ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถกันเถิด.”

(ถ้าผู้สวดแก่กว่า พึงว่า อาวุโส แทน ภันเต)

(ถ้า 14 ค่ำ พึงเปลี่ยน ปัณณะระโส เป็น จาตุททะโส)

ภิกษุผู้เถระ พึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วบอกความบริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า

“ปะริสุทโธ อะหัง อาวุโส, ปะริสุทโธติ มัง ธาเรถะ.

ฉันบริสุทธิ์แล้วเธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว” (3 หน)

ภิกษุนวกะ พึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วบอกความบริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุเหล่านั้น ดังนี้

“ปะริสุทโธ อะหัง ภันเต, ปะริสุทโธติ มัง ธาเรถะ.

ผมบริสุทธิ์แล้่วขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว” (3 หน)

ปาริสุทธิอุโปสถภิกษุ 2 รูป

ภิกษุผู้เถระ พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วบอกความบริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ว่า

“ปะริสุทโธ อะหัง อาวุโส, ปะริสุทโธติ มัง ธาเรหิ.

ฉันบริสุทธิ์แล้วเธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว” (3 หน)

ภิกษุผู้นวกะ พึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วบอกความบริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุผู้เถระอย่างนี้ว่า

“ปะริสุทโธ อะหัง ภันเต, ปะริสุทโธติ มัง ธาเรถะ.

ผมบริสุทธิ์แล้วขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว” (3 หน)

อธิษฐานอุโปสถ

ภิกษุนั้ง พึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมา แห่งภิกษุทั้งหลาย คือจะเป็นโรงฉัน มณฑป หรือโคนไม้ก็ตาม แล้วตั้งน้ำฉัน น้ำใ้ช้ ปูอาสนะ ตามประทีปไว้แล้วนั่งรออยู่ ถ้าภิกษุเหล่าอื่นมา พึงทืำอุโบสถ ร่วมกับพวกเธอ ถ้าไม่มีมา พึงอธิษฐานว่า

“อัชชะ เม อุโปสะโถ

วันนี้เป็นวันอุโบสถของเรา”(3 หน)

ถ้าไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

การปลงอาบัติ

การปลงอาบัติ ของพระภิกษุ: http://youtu.be/xFs-hXnDz0Q


การแสดงอาบัติ
๑. ผู้ต้องอาบัติ ปาราชิก ควรปฏิญญา (รับความจริง) แล้วลาสิกขาไปเสีย
๒. ผู้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องประพฤติวุฏฐานวิธี ตั้งแต่ต้นจนถึงอัพภาน
อาบัติ นอกจากนี้ เป็นลหุกาบัติ คืออาบัติเบา ซึ่งผู้ต้องลหุกาบัติต้องเปิดเผยโทษของตนแก่ภิกษุอื่นทันทีที่ระลึกได้ เมื่อโอกาสอำนวย( ไม่ต้องรอถึง วันอุโบสถ)
๓. ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ให้สละสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นก่อน
คำแสดงอาบัติ
ภิกษุ ผู้ต้องอาบัติมา พึงเปิดเผยกับภิกษุที่ตนปลงอาบัติว่าตนเองไปต้องอาบัติอะไรมาเป็นภาษาไทย ก่อนให้รู้เรื่อง แล้วจึงแสดงเป็นบาลีทีหลัง
สำหรับผู้มีพรรษาอ่อนกว่า
ผู้แสดง ๐ สัพพาตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน)
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว.
สัพพา(คะรุ)ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน)
อาบัติเหล่านั้น เป็นอาบัติ(หนัก)เบา หลายตัว.
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย อาปัชชิงตา ตุม๎หะ มูเลปะฏิเทเสมิ,
ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว ต่างวัตถุกัน  ข้าพเจ้าขอแสดงอาบัตินั้น.
ผู้รับ ๐ ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย, เธอเห็น (อาบัตินั้น) หรือ ?
ผู้แสดง ๐ อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ, ใช่! ข้าพเจ้าเห็น.
ผู้รับ ๐ อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ, เธอพึงสำรวมระวังต่อไป.
ผู้แสดง ๐ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, ดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สองดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สามดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง กะริสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมกายไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง ภาสิสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมวาจาไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง จินตะยิสสามิ. นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมใจไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
สำหรับผู้มีพรรษาแก่กว่า
ผู้แสดง ๐ สัพพาตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว.
สัพพา(คะรุ)ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
อาบัติเหล่านั้น เป็นอาบัติ(หนัก)เบา หลายตัว.
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิงตา ตุย๎หะ มูเลปะฏิเทเสมิ,
ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว ต่างวัตถุกัน, ข้าพเจ้าขอแสดงอาบัตินั้น.
ผู้รับ ๐ อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโยเธอเห็น(อาบัตินั้น)หรือ ?
ผู้แสดง ๐ อามะ อาวุโส ปัสสามิ, ใช่! ข้าพเจ้าเห็น.
ผู้รับ ๐ อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ, เธอพึงสำรวมระวังต่อไป.
ผู้แสดง ๐ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, ดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สองดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สามดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง กะริสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมกายไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง ภาสิสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมวาจาไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง จินตะยิสสามิ. นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมใจไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว

สภาคาบัติ
สภาคาบัติ แปลว่า อาบัติที่มีวัตถุเสมอกัน เช่น ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารในเวลาวิกาลเหมือนกัน อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะความผิดเดียวกันอย่างนี้ เรียกว่า สภาคาบัติ
ภิกษุที่ต้องสภาคาบัติ ไม่พึงแสดงและรับการแสดงอาบัติกันและกัน มิฉะนั้นจะต้องอาบัติทุกกฏทั้งผู้แสดงและผู้รับ
ใน กรณีที่สงฆ์ในอาวาสนั้นต้องสภาคาบัติทั้งหมด ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียง เพื่อทำคืนอาบัติ เมื่อภิกษุนั้นกลับมาแล้ว จึงให้ภิกษุที่เหลือทั้งหมดทำคืนอาบัติกับภิกษุนั้น ถ้าได้อย่างนี้ก็เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม ดังนี้
คำประกาศสภาคาบัติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆอะยัง สัพโพ สังโฆ สะภาคัง อาปัตติง อาปันโนยะทา อัญญัง ภิกขุง สุทธัง อะนาปัตติกัง ปัสสิสสะติตะทา ตัสสะ สันติเก ตัง อาปัตติง ปะฏิกกะริสสะติ.
ท่าน เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งปวงนี้ต้องสภาคาบัติ จักเห็นภิกษุอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเมื่อใดจักทำคืนอาบัตินั้น ในสำนักเธอเมื่อนั้น.
เมื่อสวดประกาศแล้วจึงทำอุโบสถ หรือทำปวารณาได้
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เมื่อต้องอาบัติย่อมต้องด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
ด้วยความไม่ละอาย ๑,
ด้วยความไม่รู้ ๑,
ด้วยความสงสัยแล้วขืนทำ ๑,
ด้วยความสำคัญในของไม่ควรว่าควร ๑,
ด้วยความ สำคัญในของควรว่าไม่ควร ๑,
ด้วยความหลงลืมสติ ๑.
ภิกษุต้องอาบัติด้วยความไม่ละอายอย่างไร? คือ ภิกษุรู้อยู่ทีเดียวว่าเป็นอกัปปิยะ ฝ่าฝืน ทำการล่วงละเมิด สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า
ภิกษุ แกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียงด้วยอคติ ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่า อลัชชีบุคคล (อรรถกถา พระวินัยปีฎก มหาวิภังค์)

********************************การแสดงอาบัติ
๑. ผู้ต้องอาบัติ ปาราชิก ควรปฏิญญา (รับความจริง) แล้วลาสิกขาไปเสีย
๒. ผู้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องประพฤติวุฏฐานวิธี ตั้งแต่ต้นจนถึงอัพภาน
อาบัติ นอกจากนี้ เป็นลหุกาบัติ คืออาบัติเบา ซึ่งผู้ต้องลหุกาบัติต้องเปิดเผยโทษของตนแก่ภิกษุอื่นทันทีที่ระลึกได้ เมื่อโอกาสอำนวย( ไม่ต้องรอถึง วันอุโบสถ)
๓. ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ให้สละสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นก่อน
คำแสดงอาบัติ
ภิกษุ ผู้ต้องอาบัติมา พึงเปิดเผยกับภิกษุที่ตนปลงอาบัติว่าตนเองไปต้องอาบัติอะไรมาเป็นภาษาไทย ก่อนให้รู้เรื่อง แล้วจึงแสดงเป็นบาลีทีหลัง
สำหรับผู้มีพรรษาอ่อนกว่า
ผู้แสดง ๐ สัพพาตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน)
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว.
สัพพา(คะรุ)ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน)
อาบัติเหล่านั้น เป็นอาบัติ(หนัก)เบา หลายตัว.
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย อาปัชชิงตา ตุม๎หะ มูเลปะฏิเทเสมิ,
ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว ต่างวัตถุกัน  ข้าพเจ้าขอแสดงอาบัตินั้น.
ผู้รับ ๐ ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย, เธอเห็น (อาบัตินั้น) หรือ ?
ผู้แสดง ๐ อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ, ใช่! ข้าพเจ้าเห็น.
ผู้รับ ๐ อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ, เธอพึงสำรวมระวังต่อไป.
ผู้แสดง ๐ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, ดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สองดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สามดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง กะริสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมกายไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง ภาสิสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมวาจาไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง จินตะยิสสามิ. นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมใจไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
สำหรับผู้มีพรรษาแก่กว่า
ผู้แสดง ๐ สัพพาตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว.
สัพพา(คะรุ)ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
อาบัติเหล่านั้น เป็นอาบัติ(หนัก)เบา หลายตัว.
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิงตา ตุย๎หะ มูเลปะฏิเทเสมิ,
ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว ต่างวัตถุกัน, ข้าพเจ้าขอแสดงอาบัตินั้น.
ผู้รับ ๐ อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโยเธอเห็น(อาบัตินั้น)หรือ ?
ผู้แสดง ๐ อามะ อาวุโส ปัสสามิ, ใช่! ข้าพเจ้าเห็น.
ผู้รับ ๐ อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ, เธอพึงสำรวมระวังต่อไป.
ผู้แสดง ๐ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, ดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สองดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สามดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง กะริสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมกายไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง ภาสิสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมวาจาไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง จินตะยิสสามิ. นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมใจไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ ดีแล้ว
สภาคาบัติ
สภาคาบัติ แปลว่า อาบัติที่มีวัตถุเสมอกัน เช่น ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารในเวลาวิกาลเหมือนกัน อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะความผิดเดียวกันอย่างนี้ เรียกว่า สภาคาบัติ
ภิกษุที่ต้องสภาคาบัติ ไม่พึงแสดงและรับการแสดงอาบัติกันและกัน มิฉะนั้นจะต้องอาบัติทุกกฏทั้งผู้แสดงและผู้รับ
ใน กรณีที่สงฆ์ในอาวาสนั้นต้องสภาคาบัติทั้งหมด ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียง เพื่อทำคืนอาบัติ เมื่อภิกษุนั้นกลับมาแล้ว จึงให้ภิกษุที่เหลือทั้งหมดทำคืนอาบัติกับภิกษุนั้น ถ้าได้อย่างนี้ก็เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม ดังนี้

คำประกาศสภาคาบัติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆอะยัง สัพโพ สังโฆ สะภาคัง อาปัตติง อาปันโนยะทา อัญญัง ภิกขุง สุทธัง อะนาปัตติกัง ปัสสิสสะติตะทา ตัสสะ สันติเก ตัง อาปัตติง ปะฏิกกะริสสะติ.
ท่าน เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งปวงนี้ต้องสภาคาบัติ จักเห็นภิกษุอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเมื่อใดจักทำคืนอาบัตินั้น ในสำนักเธอเมื่อนั้น.
เมื่อสวดประกาศแล้วจึงทำอุโบสถ หรือทำปวารณาได้
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เมื่อต้องอาบัติย่อมต้องด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
ด้วยความไม่ละอาย ๑,
ด้วยความไม่รู้ ๑,
ด้วยความสงสัยแล้วขืนทำ ๑,
ด้วยความสำคัญในของไม่ควรว่าควร ๑,
ด้วยความ สำคัญในของควรว่าไม่ควร ๑,
ด้วยความหลงลืมสติ ๑.
ภิกษุต้องอาบัติด้วยความไม่ละอายอย่างไร? คือ ภิกษุรู้อยู่ทีเดียวว่าเป็นอกัปปิยะ ฝ่าฝืน ทำการล่วงละเมิด สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า
ภิกษุ แกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียงด้วยอคติ ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่า อลัชชีบุคคล (อรรถกถา พระวินัยปีฎก มหาวิภังค์)

********************************

วิธีแสดงอาบัติ


แสดงอาบัติก่อนทำอุโบสถ
ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติในวันอุโบสถ. เธอได้มีความปริวิตกในขณะนั้นว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัว ไม่พึงทำอุโบสถ ดังนี้ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ต้องอาบัติในวันอุโบสถ. ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
“อะหัง อาวุโส อิตถันนามัง อาปัตติง (แทนด้วยชื่อประเภทของอาบัติ) อาปันโน ตัง ปะฏิเทเสมิ แน่ะเธอ ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น.”
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า             “ปัสสะมิ  ท่านเห็นหรือ?”
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า        “อามะ ปัสสามิ  ครับ ผมเห็น.”
ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า              “อายะติง สังวะเรยยาสิ ท่านพึงสำรวมต่อไป”
สงสัยในอาบัติ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ ในวันอุโบสถ.ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวีัยงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวอย่างนี้ ว่า
“อะหัง อาวุโส อิตถันนามายะ อาปัตติยา (แทนด้วยชื่อประเภทของอาบัติ) เวมะติโก ยะทา นิพเพมะติโก ภะวิสสามิ ตะทา ตัง อาปัตติง ปะฏิกะริสสามิ แน่ะเููธอ ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใดจักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น”
ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ ฟังปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.
(จากพุทธพจน์นี้ ทำให้ทราบว่าสมัยพุทธกาลมีการแสดงอาบัติเฉพาะที่ต้องหรือสงสัยจริงๆ ปัจจุบันได้มีคณาจารย์เรียบเรียงวิธีการแสดงอาบัติไว้ ดังนี้) 
ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า พึงแสดงดังนี้ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.(3 จบ)
กระผมขอรวบรวมอาบัติทั้งหลายทั้งปวง ที่สมควรเทศนามาแสดงต่อท่าน(พระอาจารย์) ถ้าหากกระผมล่วงเกินในสิกขาบทเหล่าใด ก็ขอแสดงในสิกขาบทเหล่านั้น ถ้าไม่ได้ล่วงเกินก็เป็นอันว่าไม่ได้แสดง.
อะหัง ภันเต สัมมะหุลา นานาวัตถุกาโย ถุลลัจจะยาโยอาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                   ปัสสะสิ  อาวุโส.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า              อามะ  ภันเต  ปัสสามิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                    อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               สาธุ  สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย ปาจิตติยาโยอาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     ปัสสะสิ   อาวุโส.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               อามะ  ภันเต   ปัสสามิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     อายะติง  อาวุโส   สังวะเรยยาสิ.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า                สาธุ สุฏฐุ  ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา  นานาวัตถุกาโย ทุกกะฏาโย  อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     ปัสสะสิ   อาวุโส.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               อามะ  ภันเต   ปัสสามิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     อายะติง  อาวุโส   สังวะเรยยาสิ.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า                สาธุ สุฏฐุ  ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา ทุพภาสิตาโย อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     ปัสสะสิ   อาวุโส.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               อามะ  ภันเต   ปัสสามิ.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     อายะติง  อาวุโส   สังวะเรยยาสิ.
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า                สาธุ สุฏฐุ  ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)
ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า  :- ถ้าผู้พรรษามากเป็นผู้แสดงให้เปลี่ยนที่ขีดเส้นใต้ไว้ จากคำว่า ภันเต เป็น อาวุโส, อาวุโส เป็น ภันเต, ปัสสะสิ เป็น ปัสสะถะ และ สังวะเรยยาสิ เป็น สังวะเรยยาถะ