หน้าเว็บ

ท่านเจ้าคุณนรฯ

ประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ)
ชีวิตเมื่อวัยเด็กจนกระทั่งรับราชการ

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี
วันเสาร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีระกา ตรงกับวันมาฆะบูชา
คือวันเกิดของบุตรชายคนหัวปีของพระนรราชภักดี (ตรอง จินตยานนท์) นายอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
และนางนรราชภักดี (พุก จินตยานนท์) ยังความโสมนัสให้แก่ผู้เป็นบิดามารดาเป็นอย่างยิ่ง
ท่านนายอำเภอบางปลาม้าได้ตั้งชื่อบุตรชายคนหัวปีของท่านว่า "ตรึก"

เมื่อทารกผู้ได้นามว่า "ตรึก" นี้เจริญวัยขึ้น ในฐานะเด็กน้อยเรือนร่างแบบบางผิวพรรณละเอียดอ่อนเปล่งปลั่งเป็นน้ำเป็นนวล
อันเป็นลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นผู้มีบุญวาสนาสูง เมื่อถึงวัยสมควรเล่าเรียนหนังสือก็ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนในพระนคร

วันหนึ่งได้มีงานเลี้ยงเป็นพิธีในพระบรมมหาราชวัง
ซึ่งเป็นงานใหญ่ที่จำนวนมหาดเล็กเด็กชามีไม่พอ สำหรับตำแหน่งพนักงานเดินโต๊ะและรับใช้อื่น ๆ

นักเรียนรัฐศาสตร์ที่มีหน้าตาและหน่วยก้านดี จึงถูกเกณฑ์ไปช่วยในหน้าที่ดังกล่าว
นักเรียนรัฐศาสตร์ที่ถูกเกณฑ์ไปในครั้งนี้ ก็ได้มีนายตรึกรวมอยู่ด้วยผู้หนึ่ง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ทอดพระเนตรเห็นรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ
และหน่วยก้านของหนุ่มน้อยตรึกเข้า ก็ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง
ถึงกับทรงรับสั่งให้เข้าเฝ้า แล้วทรงไต่ถามถึงเหล่ากอพงศ์พันธุ์ เมื่อพระองค์ทราบจะแจ้งดีแล้วก็ดำรัสว่า

"เมื่อเรียนจบแล้วมาอยู่กับข้า"

เด็กชา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เด็กชา คือบุคคลที่ทำงานรับใช้เจ้านายในรั้วในวัง มักเรียกขานตำแหน่งแบบควบรวมว่า มหาดเล็กเด็กชา 
ซึ่งแท้จริงแล้วตำแหน่งมหาดเล็กและเด็กชาเป็นตำแหน่งที่แยกจากกัน
แต่ทำงานอยู่ในกองเดียวกัน หน้าที่คล้ายกัน คือรับใช้พระมหากษัตริย์และเจ้านายในพระราชวัง 
เด็กชาคือข้าราชการชั้นผู้น้อย ที่ทำงานรับใช้อยู่ในสังกัดกรมมหาดเล็กนั่นเอง

นาย"ตรึก"ได้ศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนวัดโสมนัส
ชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร 
ชั้นอุดมศึกษา ที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือนหอวัง (ต่อมาได้ยกฐานะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ได้รับประกาศนียบัตรในวิชารัฐศาสตร์

เมื่อจบการศึกษาแล้ว ได้เข้าซ้อมรบเสือป่าที่ค่ายหลวง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรและพอพระราชหฤทัย
จึงโปรดเกล้าฯ รับสั่งชวนให้เข้ารับราชการในราชสำนักนับแต่นั้นเป็นต้นมา

โดยเหตุนี้เองเมื่อหนุ่ม “ตรึก” เรียนสำเร็จรัฐศาสตร์แล้ว แทนที่จะได้เป็นข้าราชการกระทรวงมหาดไทยตามวิชาที่เรียนสำเร็จ
ตามความประสงค์ของบิดาผู้เป็นนักปกครอง แต่กลับไปเป็นข้าราชสำนักสังกัดกระทรวงวัง
ในตำแหน่ง ต้นห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
หน้าที่ของท่านคืออยู่รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ในที่รโหฐานและเป็นผู้บังคับบัญชามหาดเล็ก


ท่านได้ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ถวายชีวิตและความสุขส่วนตัว
เพื่อพระองค์ท่านด้วยความจงรักภักดีและความกตัญญูเป็นที่ยิ่ง ด้วยความเอาใจใส่ต่อราชการ
จึงทำให้ท่านก้าวหน้าในหน้าที่ราชการอย่างรวดเร็ว
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ก็ทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก
และพระราชทานนามสกุลให้ว่า “จินตยานนท์”

หนุ่ม “ตรึก” รับราชการอยู่ใต้เบื้องยุคบาทเพียงไม่ทันถึงปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖
ก็พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “หลวงศักดิ์นายเวร” ต่อมาไม่ช้ามินานก็ได้เลื่อนขึ้นเป็น “เจ้าหมื่นศรีสรรเพชร”

พออายุ ๒๕ ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรดเกล้าฯ
เป็นเจ้ากรมห้องพระบรรทมเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น “พระยาพานทอง” 
ราชทินนามว่า "นรรัตนราชมานิต" เรียกขานกันว่าพระยานรรัตนราชมานิต 
เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ซึ่งเป็นพระยาที่หนุ่มที่สุดในสมัยนั้น

และต่อมาได้เป็นองคมนตรีในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๖๗
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ คนเก่า อ่านข้อความ
ดูเหมือนยังมีคำว่ามหาดเล็กไล่กาอีก ที่เป็นตำแหน่งให้เด็ก ๆ ได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาท
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้เด็กผู้ชายที่เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังกับญาติเมื่อยังเล็ก
เป็นพนักงานคอยช่วยไล่กาขณะที่ทรงบาตร จึงเกิดมหาดเล็กขึ้นอีกประเภทหนึ่ง ครั้งนั้นเรียกกันว่ามหาดเล็กไล่กา 


ที่มา http://www.monnut.com/board/index.ph...action=search2
พร้อมกับที่พระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาพานทองให้นี้ ได้พระราชทานที่ดินเพื่อให้ปลูกบ้านอยู่อาศัยแทนเช่าอยู่
ที่ดินที่พระราชทานให้นั้นมีจำนวนถึง ๔ ไร่ อยู่ตรงเชิงสะพานราชเทวี ตรงที่มีซอยชื่อ “ซอยนรรัตน” ปัจจุบันนี้

ขณะที่รับราชการอยู่ใต้เบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
พระยานรรัตนราชมานิตก็มิได้ปล่อยเวลาว่างให้ผ่านไปได้ค้นคว้าศึกษาวิชาต่าง ๆ อยู่เสมอ
เช่นวิชาลัทธิโยคี ทางดูลายมือและรูปร่างลักษณะบุคคล สั่งตำราจากอังกฤษ อเมริกามาค้นคว้า
จนมีความชำนิชำนาญทางด้านดูลายมือและรูปลักษณะบุคคล
เป็นผู้หนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญและทำนายทายทักได้อย่างแม่นยำมาก
แต่เป็นที่น่าเสียดาย ต่อมาภายหลังพระยานรรัตนราชมานิตได้เผาตำหรับตำราโหราศาสตร์จนหมดเกลี้ยง
เป็นเพราะได้ทำนายทายทักผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ให้แก่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมรัชกาลที่ ๖ เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
พระยานรรัตนราชมานิตจึงเลิกทำนายทายทักแต่นั้นเป็นต้นมา

นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสจากมองซิเออร์เอ.เค.จนกระทั่งแตกฉาน สามารถแปลตำราภาษาฝรั่งเศสได้อย่างแคล่วคล่อง
ส่วนทางด้านภาษาอังกฤษนั้น พระยานรรัตนราชมานิตท่านมีความชำนิชำนาญเป็นพิเศษอยู่แล้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ จึงทรงโปรดปรานมาก และทรงชุบเลี้ยงเป็นอย่างดี
พระองค์ทรงยื่นพระหัตถ์เอาเป็นธุระ เรียกสถาปนิกฝีมือเยี่ยมจากอิตาลีผู้หนึ่งมาออกแบบ เพื่อทรงสร้างที่อยู่ให้แก่พระยานรรัตนราชมานิต
ซึ่งปล่อยที่ดินที่พระราชทานให้รกร้าง หญ้าพงขึ้นเต็มที่ดิน มิเหมือนกับพระยาคนอื่น ๆ พอได้รับพระราชทานที่ดิน
ก็เริ่มก่อสร้างที่พักเสียจนหรูเพื่อประดับเกียรติอย่างเช่น ท่านพระยารามราฆพ ก็ได้สร้างคฤหาส์นอันโอ่อ่าด้วยหินอ่อนอิตาเลียน
แล้วตั้งชื่อคฤหาส์นหลังนั้นว่า บ้านนรสิงห์ (ปัจจุบันเป็นทำเนียบของรัฐบาล)

พระยาอนิรุธเทวาก็ได้สร้างขึ้นอย่างโอฬารเหมือนกัน แล้วตั้งชื่อว่า บ้านบรรทมสินธุ์ (ปัจจุบันเป็นบ้านสำหรับรองรับแขกเมืองของรัฐบาล)

พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) อดีตอธิบดีกรมชาวที่ (ดั้งเดิมจะเรียกว่า จางวางกรมชาวที่) ผู้มีหน้าที่ดูแลพระราชฐานที่ประทับทั้งหมด
ได้สร้างขึ้นอย่างโอ่อ่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อบ้านนี้ว่า มนังคศิลา 
อันหมายถึงที่ประทับ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์) 


มีแต่พระยานรรัตนราชมานิตผู้เดียวเท่านั้น ที่มิได้ยินดียินร้ายต่อที่ดินที่พระองค์ท่านพระราชทานให้เลย พระองค์ท่านจึงยื่นพระหัตถ์เอาเป็นธุระ
แต่พระยานรรัตนราชมานิตกลับปฏิเสธในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ โดยสิ้นเชิง
ถึงแม้พระองค์จะทรงกริ้วก็สุดแล้วแต่พระกรุณา พระยานรรัตนราชมานิตได้กราบบังคมทูลขอให้ยับยั้งพระราชประสงค์
หากทรงสร้างคฤหาสน์ขึ้นบนที่ดินที่พระองค์ทรงพระราชทานให้ แม้จะเอาตัวท่านไปประหารชีวิต
ท่านก็จะทูลเกล้าฯ ถวายคืนทั้งคฤหาสน์และที่ดินที่พระองค์ทรงพระราชทานให้ ล้นเกล้าฯ จึงต้องตามใจพระยานรรัตนราชมานิต
หมายเหตุ

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เด็กเมื่อวานซืน อ่านข้อความ
บุคคลในข้อความสีน้ำเงินน่าจะหมายถึง พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล)
อดีตอธิบดีกรมชาวที่(ดั้งเดิมจะเรียกว่า จางวางกรมชาวที่) ผู้มีหน้าที่ดูแลพระราชฐานที่ประทับทั้งหมด
และพระราชทานชื่อบ้านนี้ว่า มนังคศิลา อันหมายถึงที่ประทับ ครับ

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/บ้านมนังคศิลา
__________________
พระยานรรัตนราชมานิตเป็นผู้ที่เคร่งครัดต่อหน้าที่การงาน ยากที่ใครเสมอเหมือนได้
และเป็นผู้ที่ทำอะไรทำจริง ไม่ถือตัว และไม่แบ่งชั้นวรรณะ แม้แต่เครื่องแต่งกายก็สวมใส่อย่างธรรมดา คือ เสื้อขาว กางเกงขาว
มักจะชอบเดินไปไหนมาไหนเสมอ พระยานรรัตนราชมานิตให้ข้อคิดในการเดินว่า นั่นคือการออกเอ็กเซอไซส์ไปในตัว

บางครั้งพระยานรรัตนราชมานิตก็จะนั่งรถลาก หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "รถเจ๊ก" สมัยนั้นคนจีนมีอาชีพรับจ้างลากรถเป็นส่วนมาก
และถ้าวันไหนเกิดอารมณ์ดี นึกครึ้มอกครึ้มใจขึ้นมา ขณะที่พระยานรรัตนราชมานิตนั่งอยู่บนรถลากมองเห็นคนจีนลากรถเหนื่อยหอบ
ท่านเจ้าคุณก็จะลงมาสับเปลี่ยนกับคนจีน ลากรถแทนคนจีนลากรถเสียเองก็ยังมี
ทำความแปลกใจให้แก่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่และผู้ที่พบเห็นทุกคน เลยกลายเป็นเสียงซุบซิบเล่าสู่กันฟังจนหนาหู
แต่พระยานรรัตนราชมานิตก็มิได้สนใจต่อข่าวลือที่เป็นมงคล และอัปมงคลแต่ประการใดเลย

พระยานรรัตนราชมานิตได้รับใช้ใต้เบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ด้วยความจงรักภักดีเรื่อยมา
จนกระทั่งล้นเกล้าฯ เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ก็ขึ้นเถลิงราชสมบัติสืบต่อมา
ก็มีพระราชประสงค์อยากจะได้ตัวพระยานรรัตนราชมานิตไว้ในราชการ
จึงรับสั่งให้เจ้าคุณไพชยนเทพ (ทองเจือ ทองใหญ่) ไปติดต่อเพื่อขอชุบเลี้ยงเยี่ยงรัชกาลที่ ๖
แต่พระยานรรัตนราชมานิต ผู้ยึดมั่นในคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายนั้นไม่ดีแน่" 
จึงได้กราบบังคมทูลแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ไปว่า

"ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงชุบเลี้ยงมา เหมือนกับเอาตะกั่วมาชุบให้เป็นทอง
ถึงล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๗ จะทรงชุบเลี้ยงให้ดีปานใด ก็เปรียบเหมือนกับเอาทองคำไปลงยาฝังเพชรเท่านั้น"


ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ จะทรงให้ใครมาติดต่อกับพระยานรรัตนราชมานิตหลายครั้งหลายหน
แต่พระยานรรัตนราชมานิตก็มิได้ตอบตกลงสักครั้งเดียว

จนกระทั่งถึงวันถวายพระเพลิงพระมหาธีรราชเจ้ารัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘
พระยาท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตจึงได้สละทรัพย์สมบัติ มอบที่ดิน ๔ ไร่และทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดแก่วัดเทพศิรินทราวาส

และอุปสมบทเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘
ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) เป็นพระอุปัชฌาชย์
ได้รับฉายาทางสมณเพศว่า "ธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ" และได้ครองสมเพศตลอดมาจนถึงมรณภาพ


หมายเหตุ
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สุธรรม 
ที่จริงข้อความช่วงนั้นไม่ครบครับ ท่านเจ้าคุณนร ฯ ถวายพระพรว่า
"ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงชุบเลี้ยงมา เหมือนกับเอาตะกั่วมาชุบให้เป็นทอง
ถึงล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๗ จะทรงชุบเลี้ยงให้ดีปานใด ก็เปรียบเหมือนกับเอาทองคำไปลงยาฝังเพชรเท่านั้น"
พระยานรรัตนราชมานิตได้บอกว่าตำแหน่งของท่านนี้ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตก็จะบวชถวายพระราชกุศล 
มีตัวอย่างมาเสมอ แต่ไม่มีใครบวชถวายตลอดชีวิตตั้งแต่หนุ่มเหมือนท่าน 

เหตุใดท่านจึงได้มาบวชที่วัดเทพศิรินทราวาสก่อน ในเมื่อบ้านท่านก็อยู่ใกล้วัดโสมนัส และท่านเองก็เรียนที่วัดโสมนัส 
ท่านมีอะไรเกี่ยวข้องกับวัดเทพศิรินทราวาสมาก่อนหรือ ตอนนี้แหละที่วิชาดูลายมือ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของท่าน

เมื่อท่านตัดสินใจแน่วแน่ที่จะบวชแล้ว ท่านพิจารณาเห็นว่า
การบวชนี้ก็เท่ากับว่าได้เกิดในเพศใหม่ มีพระอุปัชฌาย์เป็นพ่อ ฉะนั้นท่านก็ควรจะเลือกพ่อให้ดีที่สุด

ในเมื่อท่านมีสิทธิ์จะเลือกได้ วิธีเลือกของท่านนั้น ท่านได้อาศัยวิชาดูลายมือและวิชาดูลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ 
โดยท่านได้นำภัตตาหารไปถวายพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เวลาจะประเคนท่านแอบดูลายมือขณะที่พระรับประเคนของบ้าง 
ขอดูมือบ้างเมื่อมีโอกาสสมควรและไม่ขาดคารวะ ท่านทำดังนี้อยู่หลายวัด จนกระทั่งถึงวัดเทพศิรินทราวาส 

ท่านได้เห็นลายมือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ตลอดจนเห็นลักษณะทุกอย่างแล้วท่านก็ปลงใจว่า 
จะเลือกสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพ่อในการเกิดเป็นพระภิกษุในครั้งนี้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น