หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561

สันถัต คืออะไร?

จากสิกขาบท



1. การหล่อสันถัตเจือด้วยไหม


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 1
โย ปะนะ ภิกขุ โกสิยมิสสะกัง สันถะตัง การาเปยยะ…
“อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.” 
วิภังค์
สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
อนาบัติ
1.ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็น เปลือกฟูกก็ีดี เป็นปลอกหมอนก็ดี 2.ภิกษุวิกลจริต 3.ภิกษุอาิทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.
เรื่องต้นบัญญัติ 
ภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาช่างทำไหม ขอให้เขาต้มตัวไหม, และขอใยไหมบ้าง เพื่อจะหล่อสันถัต (เครื่องลาดรองนั่ง, เครื่องปูนั่ง) เจือด้วยไหม, เขาว่าเบียดเบียนเขาและเบียดเบียนตัวไหม พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุหล่อสันถัตเจือด้วยไหม ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
วิธีหล่อสันถัต ใช้ยางเหนียวเช่นน้ำข้าวเทลงบนพื้นที่เรียบแล้วเอาขนโปรยลาดลงบนยางเหนียว (วิ.อ. 2/542/192)
......
เมื่อผู้เขียนได้อ่านรายละเอียดเท่านี้ ก็ยังคิดแต่ว่า “สันถัต” นี้เป็นอย่างไร?
จึงได้ค้นคว้าหาข้อมูล ได้รายละเอียดมาตั้งต้นที่
ขอคัดลอกมาดังนี้(จาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5561.45)
ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งเจือด้วยไหม

ภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาช่างทำไหม ขอให้เขาต้มตัวไหม, และขอใยไหมบ้าง เพื่อจะหล่อสันถัต (เครื่องลาด, เครื่องปูนั่ง) เจือด้วยไหม, เขาหาว่าเบียดเบียนเขาและเบียดเบียนตัวไหม พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุหล่อสันถัต เจือด้วยไหม ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด

ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียมดำล้วน 

(จากในบทความ) 
เอาละซีครับพระคุณท่าน ขนเจียมเป็นอย่างไรล่ะนั่น ผมอ่านอรรถกถาจารย์อธิบายอย่างไรก็ไม่เข้าใจ เครื่องปูนั่งทำด้วยขนก็เข้าประเภทสิ่งทอ แล้วไหง๋ถึงผลิตด้วยการหล่อ ซึ่งแปลว่าทำให้ของเหลวเป็นของแข็งในรูปทรงที่กำหนดแม่แบบบังคับ ขนเจียมหมายถึงกรรมวิธีผลิตขน(คล้ายๆคำว่าขนัก ขนทอ)หรือแปลว่าขนของตัวที่ชื่อเจียม ผมก็ไม่เคยทราบ

ต้องตามไปอ่านภาคภาษาอังกฤษที่ฝรั่งแปลจากบาลี เขาใช้คำว่าfelt blanket/rug entirely of black wool ขะรับ เลยพอจะเข้าใจ 
felt คือผ้าสักหลาด(อ่านว่าสัก-กะ-หลาด) ซึ่งคนอินเดียผลิตมานานจนมีความชำนาญ ทำจากขนสัตว์ โดยนำขนสัตว์มาโปรยลงบนแท่น แล้วกระแทกด้วยแผ่นที่มีตะปูปลายแหลมมีเงี่ยงคล้ายเบ็ดถี่ยิบขึ้นๆลงๆซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนขนสัตว์ขึ้นมาพันกันเป็นผืน ในลักษณะคล้ายๆกับทอเข้าด้วยกัน แต่ไม่ใช่ การทอจะมีลวดลายเป็นระเบียบกว่า ท่านที่มีผ้าสักหลาดลองเอาแว่นขยายส่องดู จะเห็นขนสัตว์ที่ประสานกันเป็นเนื้อเดียวอย่างไม่มีระเบียบ ผิดกับผ้าทั่วไป ภาษาไทยไม่มีบัญญัติศัพท์นี้ ท่านจึงไปใช้ว่าหล่อ

อ่ะ คราวนี้ตัวเจียมคือตัวอะไร ผมก็ตามรอย black wool ของอินเดียไป เจอเจ้าตัวนี้ออกมาเต็มหน้าจอ เขาเรียกว่าตัวyak ไทยเราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจามรี ปกติจะมีขนสีขาว แต่สีดำก็มี และเป็นของหายาก ขนจามรีดำจึงมีราคาแพง

ก็ยังตอบไม่ได้อยู่ดีว่า เจียมหมายถึงจามรี หรือต้องกล่าวว่าขนเจียม เพราะแปลว่าผ้าสักหลาดที่ส่วนใหญ่ทำจากขนแกะหรือแพะ
แต่เอาเป็นว่าท่านคงเข้าใจแล้วว่าอะไรเป็นอะไร ผมก็ขอคงศัพท์เดิมไว้ก็แล้วกัน

ภิกษุฉัพพัคคีย์หล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน คนทั้งหลายติเตียนว่า ใช้ของอย่างคฤหัสถ์ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามหล่อเองหรือใช้ให้หล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ผู้ล่วงละเมิด

......ได้นำเอาคำว่า จามรี ตรงกับคำว่า “yak” ตรวจดูใน youtube
จึงเห็นว่าตัวเป็นเช่นไร ขนและพวงหางเป็นเช่นไร ซึ่งจามรีนั้น อยู่แถบเมืองหนาว ที่ทิเบต และจีนตอนเหนือ จึงได้ภาพการถอนขนจามรีมาใช้งานตามนี้
และได้เห็นกรรมวิธีของชาวภูฐาน ว่านำมาซัก ย้อมอย่างไรก่อนนำไปทำเป็นสันถัตดังนี้



เมื่อได้ขนเจียมหรือ จามรีมาได้พอที่จะทำแล้วจึงทำตามกรรมวิธีหล่อ คือเอาแบบมาวาง จะจัดทำลวดลายอย่างไร ก็ทำแบบวางลงไปก่อน แล้วจึงนำขนเจียมมาโรยทับ ใช้นมหรือน้ำยาประสานให้ขนเจียมจับตัวกันได้ จากนั้นก็ใช้หนังปิดทับเอาไม้กลิ้งทับโดยแรงคนขึ้นไปทับจนขนเจียมจับตัวกันแน่น นี่คือขั้นตอนที่ได้เห็นดังนี้
และอีกตัวอย่างที่มีคำบรรยาย​


ข้อมูลที่ได้ค้นหามาเป็นแนวทางเท่านั้น มิใช่ว่าจะทราบชัดเจนว่า สันถัต คืออะไรแน่ แต่ระบุว่า คือที่รองนั่ง หรือในปัจจุบันเรียกว่า “อาสนะ” พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ใช้ตามขนาดที่กำหนด และสี, รวมถึงระยะเวลาใช้ ไม่ให้เปลี่ยนบ่อยๆ ไว้แล้ว
ซึ่งผ้านิสีทนะ ก็น่าจะใช้ด้วยกันได้ คือน่าจะปูทับสันถัตได้อีกทีหนึ่ง เหมือนในปัจจุบัน ที่ปูทับอาสนะ
ขอย้ำว่า สิ่งนี้เป็นความรู้ที่หามาได้เบื้องต้น มิได้ตัดสินว่าใช่หรือไม่? หากผู้รู้ท่านใดนำไปตรวจสอบก่อนก็คงดีมาก และจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระธรรมวินัยต่อไป..