หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

นิสสัคคียะ ปาจิตตีย์

นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์

ดาวโหลดเพลง
สฺสคฺคิยกณฺฑํ ๓๐ (วินัยปิฏกเล่มที ๒)

 อิเม โข ปนายสฺมนฺโต ตึส นิสฺสคฺคิยา ปาจิตฺติยา ธมฺมา อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ.
 ๑. นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา อุพฺภตสฺมึ กฐิเน ทสาหปรมํ อติเรกจีวรํ ธาเรตพฺพํ ตํ อติกฺกามยโต นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๒)
 ๒. นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา อุพฺภตสฺมึ กฐิเน เอกรตฺตมฺปิ เจ ภิกฺขุ ติจีวเรน วิปฺปวเสยฺย อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๑)
 ๓. นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา อุพฺภตสฺมึ กฐิเน ภิกฺขุโน ปเนว อกาลจีวรํ อุปฺปชฺเชยฺย อากงฺขมาเนน ภิกฺขุนา ปฏิคฺคเหตพฺพํ ปฏิคฺคเหตฺวา ขิปฺปเมว กาเรตพฺพํ โน จสฺส ปาริปูริ มาสปรมนฺเตน ภิกฺขุนา ตํ จีวรํ นิกฺขิปิตพฺพํ อูนสฺส ปาริปูริยา สติยา ปจฺจาสาย ตโต เจ อุตฺตรึ นิกฺขิเปยฺย สติยาปิ ปจฺจาสาย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๓๓)
 ๔. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา ปุราณจีวรํ โธวาเปยฺย วา รชาเปยฺย วา อาโกฏาเปยฺย วา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๔๒)
  ๕. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา หตฺถโต จีวรํ ปฏิคคเณฺหยฺย อญฺญตฺร ปาริวฏฺฏกา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๔๘)
  ๖. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาตกํ คหปตึ วา คหปตานึ วา จีวรํ วิญฺญาเปยฺย อญฺญตฺร สมยา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ. ตตฺถายํ สมโย อจฺฉินฺนจีวโร วา โหติ ภิกฺขุ นฏฺฐจีวโร วา อยํ ตตฺถ สมโยติ.(๕๔)
 ๗. ตญฺเจ อญฺญาตโก คหปติ วา คหปตานี วา พหูหิ จีวเรหิ อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺย, สนฺตรุตฺตรปรมนฺเตน ภิกฺขุนา ตโต จีวรํ สาทิตพฺพํ ตโต เจ อุตฺตรึ สาทิเยยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๕๘)
  ๘. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส อญฺญาตกสฺส คหปติสฺส วา คหปตานิยา วา จีวรเจตาปนํ อุปกฺขฏํ โหติ อิมินา จีวรเจตาปเนน จีวรํ เจตาเปตฺวา อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ จีวเรน อจฺฉาเทสฺสามีติ. ตตฺร เจ โส ภิกฺขุ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย, สาธุ วต มํ อายสฺมา อิมินา จีวรเจตาปเนน เอวรูปํ วา เอวรูปํ วา จีวรํ เจตาเปตฺวา อจฺฉาเทหีติ กลฺยาณกมฺยตํ อุปาทาย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๖๒) 
 ๙. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส อุภินฺนํ อญฺญาตกานํ คหปตีนํ วา คหปตานีนํ วา ปจฺเจกจีวรเจตาปนา อุปกฺขฏา โหนฺติ, อิเมหิ มยํ ปจฺเจกจีวรเจตาปเนหิ ปจฺเจกจีวรานิ เจตาเปตฺวา อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ จีวเรหิ อจฺฉาเทสฺสามาติ. ตตฺร เจ โส ภิกฺขุ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย สาธุ วต มํ อายสฺมนฺโต อิเมหิ ปจฺเจกจีวรเจตาปเนหิ เอวรูปํ วา เอวรูปํ วา จีวรํ เจตาเปตฺวา อจฺฉาเทถ อุโภ ว สนฺตา เอเกนาติ กลฺยาณกมฺยตํ อุปาทาย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๖๖)
  ๑๐. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส ราชา วา ราชโภคฺโค วา พฺราหฺมโณ วา คหปติโก วา ทูเตน จีวรเจตาปนํ ปหิเณยฺย อิมินา จีวรเจตาปเนน จีวรํ เจตาเปตฺวา อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ จีวเรน อจฺฉาเทหีติ. โส เจ ทูโต ตํ ภิกฺขุํ อุปสงฺกมิตฺวา เอวํ วเทยฺย อิทํ โข ภนฺเต อายสฺมนฺตํ อุทฺทิสฺส จีวรเจตาปนํ อาภตํ ปฏิคฺคณฺหาตุ อายสฺมา จีวรเจตาปนนฺติ. เตน ภิกฺขุนา โส ทูโต เอวมสฺส วจนีโย น โข มยํ อาวุโส จีวรเจตาปนํ ปฏิคฺคณฺหาม จีวรญฺจ โข มยํ ปฏิคฺคณฺหาม กาเลน กปฺปิยนฺติ. โส เจ ทูโต ตํ ภิกฺขุํ เอวํ วเทยฺย อตฺถิ ปนายสฺมโต โกจิ เวยฺยาวจฺจกโรติ. จีวรตฺถิเกน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา เวยฺยาวจฺจกโร นิทฺทิสิตพฺโพ อารามิโก วา อุปาสโก วา เอโส โข อาวุโส ภิกฺขูนํ เวยฺยาวจฺจกโรติ. โส เจ ทูโต ตํ เวยฺยาวจฺจกรํ สญฺญาเปตฺวา ตํ ภิกฺขุํ อุปสงฺกมิตฺวา เอวํ วเทยฺย, ยํ โข ภนฺเต อายสฺมา เวยฺยาวจฺจกรํ นิทฺทิสิ สญฺญตฺโต โส มยา อุปสงฺกมตุ อายสฺมา กาเลน จีวเรน ตํ อจฺฉาเทสฺสตีติ. จีวรตฺถิเกน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา เวยฺยาวจฺจกโร อุปสงฺกมิตฺวา ทฺวิตฺติกฺขตฺตุํ โจเทตพฺโพ สาเรตพฺโพ อตฺโถ เม อาวุโส จีวเรนาติ. ทฺวิตฺติกฺขตฺตุํ โจทยมาโน สารยมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย, อิจฺเจตํ กุสลํ โน เจ อภินิปฺผาเทยฺย จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกฺขตฺตุํ ฉกฺขตฺตุปรมํ ตุณฺหีภูเตน อุทฺทิสฺส ฐาตพฺพํ, จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกฺขตฺตุํ ฉกฺขตฺตุปรมํ ตุณฺหีภูโต อุทฺทิสฺส ติฏฺฐมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย, อิจฺเจตํ กุสลํ โน เจ อภินิปฺผาเทยฺย, ตโต เจ อุตฺตรึ วายมมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ, โน เจ อภินิปฺผาเทยฺย, ยตสฺส จีวรเจตาปนํ อาภตํ ตตฺถ สามํ วา คนฺตพฺพํ ทูโต วา ปาเหตพฺโพ, ยํ โข ตุเมฺห อายสฺมนฺโต ภิกฺขุํ อุทฺทิสฺส จีวรเจตาปนํ ปหิณิตฺถ, น ตํ ตสฺส ภิกฺขุโน กิญฺจิ อตฺถํ อนุโภติ ยุญฺชนฺตายสฺมนฺโต สกํ มา โว สกํ วินสฺสาติ. อยํ ตตฺถ สามีจีติ.(๗๐)

 จีวรวคฺโค ปฐโม.

 ๑๑. โย ปน ภิกฺขุ โกสิยมิสฺสกํ สนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๗๔)
  ๑๒. โย ปน ภิกฺขุ สุทฺธกาฬกานํ เอฬกโลมานํ สนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๘๘)
  ๑๓. นวํ ปน ภิกฺขุนา สนฺถตํ การยมาเนน เทฺว ภาคา สุทฺธกาฬกานํ เอฬกโลมานํ อาทาตพพา ตติยํ โอทาตานํ จตุตฺถํ โคจริยานํ. อนาทา เจ ภิกฺขุ เทฺว ภาเค สุทฺธกาฬกานํ เอฬกโลมานํ ตติยํ โอทาตานํ จตุตฺถํ โคจริยานํ นวํ สนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๘๒)
  ๑๔. นวํ ปน ภิกฺขุนา สนฺถตํ การาเปตฺวา ฉพฺพสฺสานิ ธาเรตพฺพํ. โอเรน เจ ฉนฺนํ วสฺสานํ ตํ สนฺถตํ วิสฺสชฺเชตฺวา วา อวิสฺสชฺเชตฺวา วา อญฺญํ นวํ สนฺถตํ การาเปยฺย, อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๘๗)
  ๑๕. นิสีทนสนฺถตํ ปน ภิกฺขุนา การยมาเนน ปุราณสนฺถตสฺส สามนฺตา สุคตวิทตฺถิ อาทาตพฺพา ทุพฺพณฺณกรณาย. อนาทา เจ ภิกฺขุ ปุราณสนฺถตสฺส สามนฺตา สุคตวิทตฺถึ นวํ นิสีทนสนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๙๓)
  ๑๖. ภิกฺขุโน ปเนว อทฺธานมคฺคปฏิปนฺนสฺส เอฬกโลมานิ อุปฺปชฺเชยฺยุํ, อากงฺขมาเนน ภิกฺขุนา ปฏิคฺคเหตพฺพานิ ปฏิคฺคเหตฺวา ติโยชนปรมํ สหตฺถา หาเรตพฺพานิ อสนฺเต หารเก ตโต เจ อุตฺตรึ หเรยฺย อสนฺเตปิ หารเก, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๙๗)
 ๑๗. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา เอฬกโลมานิ โธวาเปยฺย วา รชาเปยฺย วา วิชฏาเปยฺย วา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๐๑)
  ๑๘. โย ปน ภิกฺขุ ชาตรูปรชตํ อุคฺคเณฺหยฺย วา อุคฺคณฺหาเปยฺย วา อุปนิกฺขิตฺตํ วา สาทิเยยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๐๕)
 ๑๙. โย ปน ภิกฺขุ นานปฺปการกํ รูปิยสํโวหารํ สมาปชฺเชยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๐๙)
  ๒๐. โย ปน ภิกฺขุ นานปฺปการกํ กยวิกฺกยํ สมาปชฺเชยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๑๓) 

..โกสิยวคฺโค ทุติโย.

 ๒๑. ทสาหปรมํ อติเรกปตฺโต ธาเรตพฺโพ ตํ อติกฺกามยโต นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๑๘)
 ๒๒. โย ปน ภิกฺขุ อูนปญฺจพนฺธเนน ปตฺเตน อญฺญํ นวํ ปตฺตํ เจตาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ. เตน ภิกฺขุนา โส ปตฺโต ภิกฺขุปริสาย นิสฺสชฺชิตพฺโพ. โย จ ตสฺสา ภิกฺขุปริสาย ปตฺตปริยนฺโต โส จ ตสฺส ภิกฺขุโน ปทาตพฺโพ อยนฺเต ภิกฺขุ ปตฺโต ยาว เภทนาย ธาเรตพฺโพติ. อยํ ตตฺถ สามีจีติ.(๑๓๐)
  ๒๓. ยานิ โข ปน ตานิ คิลานานํ ภิกฺขูนํ ปฏิสายนียานิ เภสชฺชานิ เสยฺยถีทํ สปฺปิ นวนีตํ เตลํ มธุ ผาณิตํ. ตานิ ปฏิคฺคเหตฺวา สตฺตาหปรมํ สนฺนิธิการกํ ปริภุญฺชิตพฺพานิ ตํ อติกฺกามยโต, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๔๐)
  ๒๔. มาโส เสโส คิมฺหานนฺติ ภิกฺขุนา วสฺสิกสาฏิกจีวรํ ปริเยสิตพฺพํ อฑฺฒมาโส เสโส คิมฺหานนฺติ กตฺวา นิวาเสตพฺพํ. โอเรน เจ มาโส เสโส คิมฺหานนฺติ วสฺสิกสาฏิกจีวรํ ปริเยเสยฺย โอเรนฑฺฒมาโส เสโส คิมฺหานนฺติ กตฺวา นิวาเสยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๔๖)
 ๒๕. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุสฺส สามํ จีวรํ ทตฺวา กุปิโต อนตฺตมโน อจฺฉินฺเทยฺย วา อจฺฉินฺทาเปยฺย, วา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๔๙)
  ๒๖. โย ปน ภิกฺขุ สามํ สุตฺตํ วิญฺญาเปตฺวา ตนฺตวาเยหิ จีวรํ วายาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๕๓) 
 ๒๗. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส อญฺญาตโก คหปติ วา คหปตานี วา ตนฺตวาเยหิ จีวรํ วายาเปยฺย. ตตฺร เจ โส ภิกฺขุ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต ตนฺตวาเย อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย, อิทํ โข อาวุโส จีวรํ มํ อุทฺทิสฺส วียติ อายตญฺจ กโรถ วิตฺถตญฺจ อปฺปิตญฺจ สุวีตญฺจ สุปฺปวายิตญฺจ สุวิเลขิตญฺจ สุวิตจฺฉิตญฺจ กโรถ อปฺเปวนาม มยมฺปิ อายสฺมนฺตานํ กิญฺจิมตฺตํ อนุปทชฺเชยฺยามาติ. เอวญฺจ โส ภิกฺขุ วตฺวา กิญฺจิมตฺตํ อนุปทชฺเชยฺย อนฺตมโส ปิณฺฑปาตมตฺตมฺปิ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๕๗)
  ๒๘. ทสาหานาคตํ กตฺติกเตมาสิปุณฺณมํ ภิกฺขุโน ปเนว อจฺเจกจีวรํ อุปฺปชฺเชยฺย อจฺเจกํ มญฺญมาเนน ภิกฺขุนา ปฏิคฺคเหตพฺพํ ปฏิคฺคเหตฺวา ยาวจีวรกาลสมยํ นิกฺขิปิตพฺพํ ตโต เจ อุตฺตรึ นิกฺขิเปยฺย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๖๑)
  ๒๙. อุปวสฺสํ โข ปน กตฺติกปุณฺณมํ. ยานิ โข ปน ตานิ อารญฺญกานิ เสนาสนานิ สาสงฺกสมฺมตานิ สปฺปฏิภยานิ ตถารูเปสุ ภิกฺขุ เสนาสเนสุ วิหรนฺโต อากงฺขมาโน ติณฺณํ จีวรานํ อญฺญตรํ จีวรํ อนฺตรฆเร นิกฺขิเปยฺย. สิยา จ ตสฺส ภิกฺขุโน โกจิเทว ปจฺจโย เตน จีวเรน วิปฺปวาสาย ฉารตฺตปรมนฺเตน ภิกฺขุนา เตน จีวเรน วิปฺปวสิตพฺพํ. ตโต เจ อุตฺตรึ วิปฺปวเสยฺย อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๖๕)
  ๓๐. โย ปน ภิกฺขุ ชานํ สงฺฆิกํ ลาภํ ปริณตํ อตฺตโน ปริณาเมยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๖๙)

ปตฺตวคฺโค ตติโย.

 อุทฺทิฏฺฐา โข อายสฺมนฺโต ตึส นิสฺสคฺคิยา ปาจิตฺติยา ธมฺมา. ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ทุติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ตติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ปริสุทฺเธตฺถายสฺมนฺโต ตสฺมา ตุณฺหี เอวเมตํ ธารยามีติ.

..นิสฺสคฺคิยกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ.(๑๗๒)

 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ 

ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบท เหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส. ๑.
 ๑. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว พึงทรงอติเรก จีวรได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๒. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นเสียแต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
๓. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะ เสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ ถ้าผ้านั้นมีไม่พอเมื่อความหวังว่าจะได้มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้นแม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ก็เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๔. อนึ่ง ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่าเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๕. อนึ่ง ภืกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์. 
 ๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาตินอกจากสมัย เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.สมัยในคำนั้นดังนี้, คือ ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดีนี้สมัยในคำนั้น.
  ๗. พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ปวารณาต่อภิกษุด้วยจีวรเป็นอันมาก เพื่อนำไปตามใจ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตตราสงค์ กับอันตรวาสก เป็นอย่างมาก จากจีวรเหล่านั้น.ถ้ายินดียิ่งกว่านั้นเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๘. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ตระเตรียมทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า "เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร" ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของ เขาว่า "ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรแล้วยังรูปให้ครองเถิด" ถือเอาความเป็นผู้ใคร่จีวรที่ดี,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
  ๙. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดีผู้มิใช่ญาติ ๒ คน ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆไว้เฉพาะภิกษุว่า "เราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ นี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน" ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของ เขาว่า" ดีละ ขอท่านทั้งหลายจ่ายจีวรเช่นนั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ แล้วทั้ง ๒ คนรวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผืนเดียวเถิด". ถือเอาความเป็นผู้ใคร่จีวรที่ดี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๑๐. อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับ จับจ่ายจีวรไปด้วยทูต เฉพาะภิกษุว่า "เจ้าจงจ่ายจีวร ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร" ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า "ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ นำมาเฉพาะท่านขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนั้น" ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า "พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล" ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า "ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ?" ภิกษุต้องการจีวร พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรด้วยคำว่า "คนนั้นแล เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย" ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหาเขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล" ภิกษุผู้ต้องการจีวร เข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวง พึงเตือน ๒ - ๓ ครั้งว่า "รูปต้องการจีวร" ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ ๒ - ๓ ครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้.การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้นั่นเป็นดี ถ้าสำเร็จไม่ได้, พึงเข้าไปยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้งเป็นอย่างมากเธอยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้งเป็น อย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นดี ถ้าให้ สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า" ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้น หาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ท่านจงทวงเอาคืนทรัพย์ของท่าน ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย, นี้เป็นสามีจิกรรม (คือประพฤติชอบ) ในเรื่องนั้น.

 จีวรวรรคที่ ๑ (จบ).

 ๑๑. อนึ่ง ภิกษุใดให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม, เป็นนิสสัคคิย - ปาจิตตีย์. 
 ๑๒. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน, เป็น นิสสัค คิยปาจิตตีย์. 
 ๑๓. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วนขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓,ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔,ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ให้ทำสันถัตใหม่,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๑๔. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ปี ถ้าหย่อนกว่า ๖ ปี เธอสละเสียแล้วก็ดียังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๑๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งพึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า เพื่อทำให้เสียสี, ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่ง สันถัตเก่า ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.   ๑๖. อนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทาง ภิกษุต้องการ พึงรับได้, ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์ เป็นอย่างมาก ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
  ๑๗. อนึ่ง ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
  ๑๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ไม่ดี ทองเงิน หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๑๙. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ มีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๒๐. อนึ่ง ภิกษุใดถึงการซื้อและการขายมีประการต่างๆ เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์

 โกสิยวรรคที่ ๒ (จบ)

 ๒๑. พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่งภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๒๒. อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีรอยร้าวน้อยกว่า ๕ นิ้ว ให้จ่ายบาตรอื่นใหม่เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ภิกษุนั้นพึงสละบาตรนั้น ในภิกษุบริษัท,บาตรใบสุดท้ายแห่งภิกษุในบริษัทนั้น พึงมอบให้แกภิกษุนั้น สั่งว่า "นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้ (คือใช้) กว่าจะแตก." นี้เป็นสามีจิกรรม (คือการชอบ) ในเรื่องนั้น.
  ๒๓. อนึ่ง มีเภสัช อันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย,ภิกษุรับ (ประเคน) ของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
  ๒๔. ภิกษุ (รู้) ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนได้ (รู้) ว่าฤดูร้อยยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้ ถ้าเธอ (รู้) ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า๑ เดือนแสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝน (รู้) ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือนทำนุ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 
 ๒๕. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธน้อยใจชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 
 ๒๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวร เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์
 ๒๗. อนึ่ง พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวร เฉพาะภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้ว ถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่า จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป ขอท่านจงทำให้ยาว ให้เป็นของขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของ ที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี แม้ไฉน รูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
 ๒๘.วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือนแห่งเดือนกัตติกา (คือเดือน๑๑) ยังไม่มาอีก ๑๐ วัน อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้ว่า เป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้ ครั้นรับไว้แล้ว พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๒๙. อนึ่ง (ถึง) วันปุรณมีแห่งเดือนกัตติกาที่สุดแห่งฤดูฝน ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าเป็นที่รังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้าปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้และปัจจัยอะไรๆเพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้นจะพึงมีแก่ภิกษุภิกษุนั้น พึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง, ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
 ๓๐. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

 ปัตตวรรคที่ ๓ ( จบ)

 ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ( สิกขาบท)
ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้นท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อเหล่านั้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์

 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จบ.

อนิยตะ

อนิยตะ

ดาวโหลดเพลง

อนิยต ๒

.. อิเม โข ปนายสฺมนฺโต เทฺว อนิยตา ธมฺมา อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ.
.. ๑. โย ปน ภิกฺขุ มาตุคาเมน สทฺธึ เอโก เอกาย รโห ปฏิจฺฉนฺเน อาสเน อลงฺกมฺมนิเย นิสชฺชํ กปฺเปยฺย ตเมนํ สทฺเธยฺยวจสา อุปาสิกา ทิสฺวา ติณฺณํ ธมฺมานํ อญฺญตเรน วเทยฺย ปาราชิเกน วา สงฺฆาทิเสเสน วา ปาจิตฺติเยน วา นิสชฺชํ ภิกฺขุ ปฏิชานมาโน ติณฺณํ ธมฺมานํ อญฺญตเรน กาเรตพฺโพ ปาราชิเกน วา สงฺฆาทิเสเสน วา ปาจิตฺติเยน วา เยน วา สา สทฺเธยฺยวจสา อุปาสิกา วเทยฺย เตน โส ภิกฺขุ กาเรตพฺโพ. อยํ ธมฺโม อนิยโต.(๖๓๔)
.. ๒. น เหว โข ปน ปฏิจฺฉนฺนํ อาสนํ โหติ นาลงฺกมฺมนิยํ อลญฺจ โข โหติ มาตุคามํ ทุฏฺฐุลฺลาหิ วาจาหิ โอภาสิตุํ. โย ปน ภิกฺขุ ตถารูเป อาสเน มาตุคาเมน สทฺธึ เอโก เอกาย รโห นิสชฺชํ กปฺเปยฺย, ตเมนํ สทฺเธยฺยวจสา อุปาสิกา ทิสฺวา ทฺวินฺนํ ธมฺมานํ อญฺญตเรน วเทยฺย สงฺฆาทิเสเสน วา ปาจิตฺติเยน วา นิสชฺชํ ภิกฺขุ ปฏิชานมาโน ทฺวินฺนํ ธมฺมานํ อญฺญตเรน กาเรตพฺโพ สงฺฆาทิเสเสน วา ปาจิตฺติเยน วา เยน วา สา สทฺเธยฺยวจสา อุปาสิกา วเทยฺย เตน โส ภิกฺขุ กาเรตพฺโพ. อยมฺปิ ธมฺโม อนิยโต.(๖๔๖)
.. อุทฺทิฏฺฐา โข อายสฺมนฺโต เทฺว อนิยตา ธมฺมา. ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ทุติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ตติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ปริสุทฺเธตฺถายสฺมนฺโต ตสฺมา ตุณฺหี. เอวเมตํ ธารยามี.(๖๕๙)
.. อนิยตกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ.

อนิยตุทเทส (อนิยต ๒)
.. ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อ อนิยต๒เหล่านี้แล ย่อมมาสู่อุทเทส.
 ..๑. อนึ่ง ภิกษุใดผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว.อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกับมาตุคาม นั้นนั่นเทียว พูดขึ้นด้วยธรรม๓ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม๓ ประการ คือด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น นี้ธรรมชื่อ อนิยต
.. ๒. อนึ่ง สถานที่ไม่เป็นที่กำบังอะไรเลย ไม่พอที่จะทำกรรม (คือ การเสพเมถุน) ได้ แต่พอเป็นที่จะพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่ และภิกษุใดผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับด้วยมาตุคามผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้นอุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสส ก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ คือด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น แม้ธรรมนี้ก็ชื่อ อนิยต.

..ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชื่ออนิยต ๒ ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ.ข้าพเจ้าถาม แม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ.ข้าพเจ้าถาม แม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนี้เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้

.. อนิยตุทเทส จบ

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สังฆาทิเสส

๔.สังฆาทิเสส

ดาวโหลดเพลง

สังฆาทิเสส ๑๓

.. อิเม โข ปนายสฺมนฺโต เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ.
 ๑. สญฺเจตนิกา สุกฺกวิสฏฺฐิ อญฺญตฺร สุปินนฺตา สงฺฆาทิเสโส.(ข้อ๓๐๒)
 ๒. โย ปน ภิกฺขุ โอติณฺโณ วิปริณเตน จิตฺเตน มาตุคาเมน สทฺธึ กายสํสคฺคํ สมาปชฺเชยฺย, หตฺถคาหํ วา เวณิคาหํ วา อญฺญตรสฺส วา อญฺญตรสฺส วา องฺคสฺส ปรามสนํ สงฺฆาทิเสโส.(๓๗๗)
 ๓. โย ปน ภิกฺขุ โอติณฺโณ วิปริณเตน จิตฺเตน มาตุคามํ ทุฏฺฐุลฺลาหิ วาจาหิ โอภาเสยฺย, ยถาตํ ยุวา ยุวตึ เมถุนูปสญฺหิตาหิ สงฺฆาทิเสโส.(๓๙๙)
 ๔. โย ปน ภิกฺขุ โอติณฺโณ วิปริณเตน จิตฺเตน มาตุคามสฺส สนฺติเก อตฺตกามปาริจริยาย วณฺณํ ภาเสยฺย, เอตทคฺคํ ภคินิ ปาริจริยานํ ยา มาทิสํ สีลวนฺตํ กลฺยาณธมฺมํ พฺรหฺมจารึ เอเตน ธมฺเมน ปริจเรยฺยาติ เมถุนูปสญฺหิเตน สงฺฆาทิเสโส.(๔๑๖)
 ๕. โย ปน ภิกฺขุ สญฺจริตฺตํ สมาปชฺเชยฺย, อิตฺถิยา วา ปุริสมตึ ปุริสสฺส วา อิตฺถีมตึ ชายตฺตเน วา ชารตฺตเน วา อนฺตมโส ตํขณิกายปิ สงฺฆาทิเสโส.(๔๒๘)
 ๖. สญฺญาจิกาย ปน ภิกฺขุนา กุฏึ การยมาเนน อสฺสามิกํ อตฺตุทฺเทสํ ปมาณิกา กาเรตพฺพา, ตตฺริทํ ปมาณํ ทีฆโส ทฺวาทส วิทตฺถิโย สุคตวิทตฺถิยา ติริยํ สตฺตนฺตรา ภิกฺขู อภิเนตพฺพา วตฺถุเทสนาย. เตหิ ภิกฺขูหิ วตฺถุํ เทเสตพฺพํ อนารมฺภํ สปริกฺกมนํ สารมฺเภ เจ ภิกฺขุ วตฺถุสฺมึ อปริกฺกมเน สญฺญาจิกาย กุฏึ กาเรยฺย ภิกฺขู วา อนภิเนยฺย, วตฺถุเทสนาย ปมาณํ วา อติกฺกาเมยฺย สงฺฆาทิเสโส.(๕๐๒)
 ๗. มหลฺลกํ ปน ภิกฺขุนา วิหารํ การยมาเนน สสฺสามิกํ อตฺตุทฺเทสํ ภิกฺขู อภิเนตพฺพา วตฺถุเทสนาย เตหิ ภิกฺขูหิ วตฺถุํ เทเสตพฺพํ อนารมฺภํ สปริกฺกมนํ สารมฺเภ เจ ภิกฺขุ วตฺถุสฺมึ อปริกฺกมเน มหลฺลกํ วิหารํ กาเรยฺย ภิกฺขู วา อนภิเนยฺย วตฺถุเทสนาย สงฺฆาทิเสโส.(๕๒๓)
 ๘. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุํ ทุฏฺโฐ โทโส อปฺปตีโต อมูลเกน ปาราชิเกน ธมฺเมน อนุทฺธํเสยฺย, อปฺเปวนาม นํ อิมมฺหา พฺรหฺมจริยา จาเวยฺยนฺติ ตโต อปเรน สมเยน สมนุคฺคาหิยมาโน วา อสมนุคฺคาหิยมาโน วา อมูลกญฺเจว ตํ อธิกรณํ โหติ ภิกฺขุ จ โทสํ ปติฏฺฐาติ สงฺฆาทิเสโส.(๕๔๗)
 ๙. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุํ ทุฏฺโฐ โทโส อปฺปตีโต อญฺญภาคิยสฺส อธิกรณสฺส กิญฺจิ เทสํ เลสมตฺตํ อุปาทาย ปาราชิเกน ธมฺเมน อนุทฺธํเสยฺย, อปฺเปวนาม นํ อิมมฺหา พฺรหฺมจริยา จาเวยฺยนฺติ, ตโต อปเรน สมเยน สมนุคฺคาหิยมาโน วา อสมนุคฺคาหิยมาโน วา อญฺญภาคิยญฺเจว ตํ อธิกรณํ โหติ, โกจิ เทโส เลสมตฺโต อุปาทินฺโน ภิกฺขุ จ โทสํ ปติฏฺฐาติ สงฺฆาทิเสโส.(๕๖๖)
 ๑๐. โย ปน ภิกฺขุ สมคฺคสฺส สงฺฆสฺส เภทาย ปรกฺกเมยฺย, เภทนสํวตฺตนิกํ วา อธิกรณํ สมาทาย ปคฺคยฺห ติฏฺเฐยฺย, โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ เอวมสฺส วจนีโย มา อายสฺมา สมคฺคสฺส สงฺฆสฺส เภทาย ปรกฺกมิ เภทนสํวตฺตนิกํ วา อธิกรณํ สมาทาย ปคฺคยฺห อฏฺฐาสิ, สเมตายสฺมา สงฺเฆน สมคฺโค หิ สงฺโฆ สมฺโมทมาโน อวิวทมาโน เอกุทฺเทโส ผาสุ วิหรตีติ. เอวญฺจ โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ วุจฺจมาโน ตเถว ปคฺคเณฺหยฺย โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ ยาวตติยํ สมนุภาสิตพฺโพ ตสฺส ปฏินิสฺสคฺคาย. ยาวตติยญฺเจ สมนุภาสิยมาโน ตํ ปฏินิสฺสชฺเชยฺย อิจฺเจตํ กุสลํ โน เจ ปฏินิสฺสชฺเชยฺย สงฺฆาทิเสโส.(๕๙๕)
 ๑๑. ตสฺเสว โข ปน ภิกฺขุสฺส ภิกฺขู โหนฺติ อนุวตฺตกา วคฺควาทกา เอโก วา เทฺว วา ตโย วา เต เอวํ วเทยฺยุํ มา อายสฺมนฺโต เอตํ ภิกฺขุํ กิญฺจิ อวจุตฺถ ธมฺมวาที เจโส ภิกฺขุ วินยวาที เจโส ภิกฺขุ อมฺหากญฺเจโส ภิกฺขุ ฉนฺทญฺจ รุจิญฺจ อาทาย โวหรติ ชานาติ โน ภาสติ อมฺหากมฺเปตํ ขมตีติ. เต ภิกฺขู ภิกฺขูหิ เอวมสฺสุ วจนียา มา อายสฺมนฺโต เอวํ อวจุตฺถ น เจโส ภิกฺขุ ธมฺมวาที น เจโส ภิกฺขุ วินยวาที มา อายสฺมนฺตานมฺปิ สงฺฆเภโท รุจฺจิตฺถ สเมตายสฺมนฺตานํ สงฺเฆน สมคฺโค หิ สงฺโฆ สมฺโมทมาโน อวิวทมาโน เอกุทฺเทโส ผาสุ วิหรตีติ. เอวญฺจ เต ภิกฺขู ภิกฺขูหิ วุจฺจมานา ตเถว ปคฺคเณฺหยฺยุํ เต ภิกฺขู ภิกฺขูหิ ยาว ตติยํ สมนุภาสิตพฺพา ตสฺส ปฏินิสฺสคฺคาย. ยาวตติยญฺเจ สมนุภาสิยมานา ตํ ปฏินิสฺสชฺเชยฺยุํ อิจฺเจตํ กุสลํ โน เจ ปฏินิสฺสชฺเชยฺยุํ สงฺฆาทิเสโส.(๖๐๒)
 ๑๒. ภิกฺขุ ปเนว ทุพฺพจชาติโก โหติ อุทฺเทสปริยาปนฺเนสุ สิกฺขาปเทสุ ภิกฺขูหิ สหธมฺมิกํ วุจฺจมาโน อตฺตานํ อวจนียํ กโรติ, มา มํ อายสฺมนฺโต กิญฺจิ อวจุตฺถ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา อหมฺปายสฺมนฺเต น กิญฺจิ วกฺขามิ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา วิรมถายสฺมนฺโต มม วจนายาติ. โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ เอวมสฺส วจนีโย, มา อายสฺมา อตฺตานํ อวจนียํ อกาสิ วจนียเมว อายสฺมา อตฺตานํ กโรตุ, อายสฺมาปิ ภิกฺขู วเทตุ สหธมฺเมน ภิกฺขูปิ อายสฺมนฺตํ วกฺขนฺติ, สหธมฺเมน เอวํ สํวฑฺฒา หิ ตสฺส ภควโต ปริสา, ยทิทํ อญฺญมญฺญวจเนน อญฺญมญฺญวุฏฺฐาปเนนาติ. เอวญฺจ โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ วุจฺจมาโน ตเถว ปคฺคเณฺหยฺย, โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ ยาวตติยํ สมนุภาสิตพฺโพ ตสฺส ปฏินิสฺสคฺคาย ยาวตติยญฺเจ สมนุภาสิยมาโน ตํ ปฏินิสฺสชฺเชยฺย, อิจฺเจตํ กุสลํ โน เจ ปฏินิสฺสชฺเชยฺย สงฺฆาทิเสโส.(๖๐๙)
 ๑๓. ภิกฺขุ ปเนว อญฺญตรํ คามํ วา นิคมํ วา อุปนิสฺสาย วิหรติ กุลทูสโก ปาปสมาจาโร. ตสฺส โข ปาปกา สมาจารา ทิสฺสนฺติ เจว สุยฺยนฺติ จ กุลานิ จ เตน ทุฏฺฐานิ ทิสฺสนฺติ เจว สุยฺยนฺติ จ. โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ เอวมสฺส วจนีโย, อายสฺมา โข กุลทูสโก ปาปสมาจาโร อายสฺมโต โข ปาปกา สมาจารา ทิสฺสนฺติ เจว สุยฺยนฺติ จ กุลานิ จายสฺมตา ทุฏฺฐานิ ทิสฺสนฺติ เจว สุยฺยนฺติ จ, ปกฺกมตายสฺมา อิมมฺหา อาวาสา, อลนฺเต อิธ วาเสนาติ. เอวญฺจ โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ วุจฺจมาโน เต ภิกฺขู เอวํ วเทยฺย, ฉนฺทคามิโน จ ภิกฺขู โทสคามิโน จ ภิกฺขู โมหคามิโน จ ภิกฺขู ภยคามิโน จ ภิกฺขู, ตาทิสิกาย อาปตฺติยา เอกจฺจํ ปพฺพาเชนฺติ เอกจฺจํ น ปพฺพาเชนฺตีติ. โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ เอวมสฺส วจนีโย, มา อายสฺมา เอวํ อวจ, น จ ภิกฺขู ฉนฺทคามิโน น จ ภิกฺขู โทสคามิโน น จ ภิกฺขู โมหคามิโน น จ ภิกฺขู ภยคามิโน, อายสฺมา โข กุลทูสโก ปาปสมาจาโร, อายสฺมโต โข ปาปกา สมาจารา ทิสฺสนฺติ เจว สุยฺยนฺติ จ กุลานิ จายสฺมตา ทุฏฺฐานิ ทิสฺสนฺติ เจว สุยฺยนฺติ จ, ปกฺกมตายสฺมา อิมมฺหา อาวาสา, อลนฺเต อิธ วาเสนาติ. เอวญฺจ โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ วุจฺจมาโน ตเถว ปคฺคเณฺหยฺย, โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ ยาวตติยํ สมนุภาสิตพฺโพ ตสฺส ปฏินิสฺสคฺคาย. ยาวตติยญฺเจ สมนุภาสิยมาโน ตํ ปฏินิสฺสชฺเชยฺย, อิจฺเจตํ กุสลํ, โน เจ ปฏินิสฺสชฺเชยฺย สงฺฆาทิเสโส.(๖๒๓)
.. อุทฺทิฏฺฐา โข อายสฺมนฺโต เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา นว ปฐมาปตฺติกา จตฺตาโร ยาวตติยกา เยสํ ภิกฺขุ อญฺญตรํ วา อญฺญตรํ วา อาปชฺชิตฺวา ยาวติหํ ชานํ ปฏิจฺฉาเทติ ตาวติหํ เตน ภิกฺขุนา อกามา ปริวตฺถพฺพํ. ปริวุตฺถปริวาเสน ภิกฺขุนา อุตฺตรึ ฉารตฺตํ ภิกฺขุมานตฺตาย ปฏิปชฺชิตพฺพํ. จิณฺณมานตฺโต ภิกฺขุ, ยตฺถ สิยา วีสติคโณ ภิกฺขุสงฺโฆ, ตตฺถ โส ภิกฺขุ อพฺเภตพฺโพ. เอเกนปิ เจ อูโน วีสติคโณ ภิกฺขุสงฺโฆ ตํ ภิกฺขุํ อพฺเภยฺย โส จ ภิกฺขุ อนพฺภิโต เต จ ภิกฺขู คารยฺหา. อยํ ตตฺถ สามีจิ. ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ทุติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ตติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ปริสุทฺเธตฺถายสฺมนฺโต ตสฺมา ตุณฺหี. เอวเมตํ ธารยามิ.(๖๓๒)

.. สังฆาทิเสสุทเทส (สังฆาทิเสส ๑๓) 

.ท่านทั้งหลาย อาบัติชื่อสังฆาทิเสส ๑๓ เหล่านี้แล ย่อมมาสู่ อุทเทส.
. ๑. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน เป็นสังฆาทิเสส.
. ๒. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคามจับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตาม ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.
. ๓. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูดเกี้ยวมาตุ คามด้วยวาจาชั่วหยาบเหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน เป็นสังฆาทิเสส.
. ๔. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า "น้องหญิงหญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีลมีกัลยาณธรรมเช่นเราด้วยธรรมนั่น นั่นเป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส.
. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความเป็นผู้เที่ยวสื่อ(บอก) ความประสงค์ของชายแก่หญิงก็ดี(บอก) ความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดีในความเป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ก็ตามโดยที่สุด(บอก) แม้แก่หญิงแพศยา อันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ เป็นสังฆาทิเสส. 
.๖. อนึ่ง ภิกษุจะให้ทำกุฎี อันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเองพึงทำให้ได้ประมาณ; นี้ประมาณในอันทำกุฎีนั้นโดยยาว ๑๒ คืบ โดยกว้าง ๗ คืบด้วยคืบสุคต ( วัด ) ในร่วมใน. พึงนำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้น พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้อันมีชานรอบ. หากภิกษุให้ทำกุฎีด้วยการขอเอาเอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่หรือทำให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาทิเสส.
. ๗. อนึ่ง ภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่อันมีเจ้าของ เฉพาะตนเอง พึงนำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้น พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้อันมีชานรอบหากภิกษุให้ทำวิหารใหญ่ในที่ มีผู้จองไว้ หาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่เป็นสังฆาทิเสส. 
. ๘. อนึ่ง ภิกษุใดขัดใจ มีโทสะไม่แช่มชื่น ตามกำจัด( คือโจท ) ภิกษุด้วยอาบัติมีโทษถึงปาราชิก อันหามูลมิได้ ด้วยหมายใจว่า"แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ " ครั้นสมัยอื่น แต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม (คือเชื่อไม่เชื่อก็ตาม ) แต่อธิกรณ์นั้น เป็นเรื่องหามูลมิได้และภิกษุย่อมยันอิงโทสะเป็นสังฆาทิเสส.
.  ๙. อนึ่ง ภิกษุใดขัดใจ มีโทสะไม่แช่มชื่น ถือเอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลิศ ตามกำจัดภิกษุด้วย ธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ด้วยหมายใจว่า "แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ "ครั้นสมัยอื่น แต่นั้น อันผู้ใดผู้อื่นถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม (คือเชื่อก็ตามไม่เชื่อก็ตาม) แต่อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องอื่นเอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศและภิกษุย่อมยืนยันอิงโทสะ ๓ เป็นสังฆาทิเสส. 
. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงหรือถือเอาอธิกรณ์(คือเรื่อง) อันเป็นเหตุแตกกันยืนกรานอยู่ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ ว่า "ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ยืนกรานอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง กัน ปรองดองกันไม่วิวาทกัน มีอุทเทสเดียวกัน (คือฟังพระปาฏิโมกข์ร่วมกัน) ย่อมอยู่ผาสุก" และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส (คือประกาศห้าม) กว่าจะครบ ๓ จบเพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครบ ๓ จบอยู่ สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี เป็นสังฆาทิเสส.
. ๑๑. อนึ่ง มีภิกษุผู้ประพฤติตามผู้พูดเข้ากันของภิกษุนั้นแล ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๓ เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า "ขอท่าน ทั้งหลายอย่าได้กล่าวคำอะไรๆ ต่อภิกษุนั้นภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมด้วย ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วยภิกษุนั้นถือเอาความพอใจ และความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย เธอรู้ (ใจ) ของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว คำที่เธอกล่าวนี้ ย่อมควร (คือถูกใจ) แม้แก่พวกข้าพเจ้า". ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว อย่างนี้ว่า "ท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวอย่างนั้นภิกษุนั้น หาใช่ผู้กล่าวถูกธรรมไม่ด้วย ภิกษุนั่น หาใช่ผู้กล่าวถูกวินัยไม่ด้วย ความทำลายสงฆ์อย่าได้ชอบแม้แก่พวกท่านขอ (ใจ) ของพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก"และภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุ ทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบเพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอทั้งหลายถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครบ ๓ จบอยู่ สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดีหากเธอทั้งหลายไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
. ๑๒. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายากอันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรมในสิกขาบททั้งหลายอันเนี่องในอุทเทส (คือพระปาฏิโมกข์) ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆว่ากล่าวไม่ได้ ด้วยกล่าวโต้ว่า "พวกท่านอย่าได้กล่าวอะไรๆ ต่อเราเป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม แม้เราก็จะไม่กล่าวอะไรๆ ต่อพวกท่านเหมือนกัน เป็นคำดีก็ตาม เป็น คำชั่วก็ตามขอพวกท่านจงเว้นจากการว่ากล่าวเราเสีย" ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่าไม่ได้ขอท่านจงทำตนให้เขาว่าได้แล แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรมแม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าวท่านโดยชอบธรรมเพราะว่า บริษัทของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยว่ากล่าวซึ่งกันและกัน ด้วยเตือนกันและกันให้ออกจากอาบัติ" และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสียหากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ๓จบอยู่สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดีหากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส.
.  ๑๓. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดีนิคมก็ดี แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของเธอ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันเธอประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า"ท่านเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็น อยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วยและสกุลทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ (อีก)" และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า "พวกภิกษุถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย ถึงความกลัวด้วย ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูปเพราะอาบัติเช่นเดียวกัน "ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า" ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายหาได้ถึงความพอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ หาได้ถึงความกลัวไม่ ท่านเองแลเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นอยู่ด้วยเขาได้ยินอยู่ด้วยและสกุลทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วยท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ (อีก)" และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสียหากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบอยู่สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดีหากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส.

.. ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อสังฆาทิเสส ๑๓ เป็นปฐมาปัตติกะ (ให้ต้องอาบัติแต่แรกทำ) เป็นยาวตติยกะ (ให้ต้องอาบัติต่อ เมื่อสงฆ์สวดประกาศห้ามครง ๓ ครั้ง) ภิกษุต้องธรรมเหล่าไรเล่า อันใดอันหนึ่งแล้วรู้อยู่ ปกปิดไว้สิ้นวันเพียงเท่าใด ภิกษุนั้น ถึงจะไม่ปรารถนา ก็พึง ต้องอยู่ ปริวาส สิ้นวันเท่าที่ปกปิดนั้นภิกษุอยู่ปริวาสครบตามวันที่ปิดแล้ว พึงปฏิบัติ เพื่อภิกษุมานัตต์เกินขึ้นไป ๖ ราตรีหมู่ภิกษุได้ประพฤติมานัตต์ ๖ ราตรีแล้วหมู่ภิกษูคณะ ๒๐ จะพึงมี ณ สีมาใด ภิกษุนั้น สงฆ์พึงอัพภานเธอ ณ สีมานั้นถ้าภิกษุสงฆ์คณะ ๒๐ หย่อนด้วยภิกษุแม้ แต่องค์หนึ่งไม่ครบ๒๐ หากอัพภานภิกษุนั้นไซร้ภิกษุนั้นก็เป็นอันมิได้อัพภาน ภิกษุทั้งหลายที่เป็นการกสงฆ์ ก็เป็นอัน พระพุทธเจ้าจะพึงติเตียนนี้ เป็นสามีจิกรรม (คือประพฤติชอบ) ในเรื่องนั้น ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้ว ในเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

.. สังฆาทิเสสุทเทส จบ.

ปาราชิก

๓.ปาราชิก

ดาวโหลดเพลง

ปาราชิก ๔

.. ตตฺริเม จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ.
 ๑. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขูนํ สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน สิกฺขํ อปฺปจฺจกฺขาย ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสเวยฺย, อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ ปาราชิโก โหติ อสํวาโส.(ข้อ๒๔)
 ๒. โย ปน ภิกฺขุ คามา วา อรญฺญา วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อาทิเยยฺย, ยถารูเป อทินฺนาทาเน ราชาโน โจรํ คเหตฺวา หเนยฺยุํ วา พนฺเธยฺยุํ วา ปพฺพาเชยฺยุํ วา, โจโรสิ พาโลสิ มูโฬฺหสิ เถโนสีติ ตถารูปํ ภิกฺขุ อทินฺนํ อาทิยมาโน, อยมฺปิ ปาราชิโก โหติ อสํวาโส.(๘๔)
 ๓. โย ปน ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปยฺย, สตฺถหารกํ วาสฺส ปริเยเสยฺย มรณวณฺณํ วา สํวณฺเณยฺย มรณาย วาสมาทเปยฺย, อมฺโภ ปุริส กึ ตุยฺหิมินา ปาปเกน ทุชฺชีวิเตน มตนฺเต ชีวิตา เสยฺโยติ, อิติจิตฺตมโน จิตฺตสงฺกปฺโป อเนกปริยาเยนมรณวณฺณํ วา สํวณฺเณยฺย มรณาย วา สมาทเปยฺย, อยมฺปิ ปาราชิโก โหติ อสํวาโส.(๑๘๐)
 ๔. โย ปน ภิกฺขุ อนภิชานํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อตฺตูปนายิกํ อลมริยญาณทสฺสนํ สมุทาจเรยฺย, อิติ ชานามิ อิติ ปสฺสามีติ, ตโต อปเรน สมเยน สมนุคฺคาหิยมาโน วา อสมนุคฺคาหิยมาโน วา อาปนฺโน วิสุทฺธาเปกฺโข เอวํ วเทยฺย, อชานเมวํ อาวุโส อวจํ ชานามิ อปสฺสํ ปสฺสามิ ตุจฺฉํ มุสา วิลปินฺติ อญฺญตฺร อธิมานา, อยมฺปิ ปาราชิโก โหติ อสํวาโส.(๒๓๒) 

...อุทฺทิฏฺฐา โข อายสฺมนฺโต จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา, เยสํ ภิกฺขุ อญฺญตรํ วา อญฺญตรํ วา อาปชฺชิตฺวา น ลภติ ภิกฺขูหิ สทฺธึ สํวาสํ ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา ปาราชิโก โหติ อสํวาโส. ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ทุติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา, ตติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ปริสุทฺเธตฺถายสฺมนฺโต ตสฺมา ตุณฺหี. เอวเมตํ ธารยามิ.(๓๐๐)

. ปาราชิกุทฺเทโส นิฏฺฐิโต.

นิททานุทเทส

๒.นิททานุทเทส

ดาวโหลดเพลง
.. ภิกษุปาติโมกข์ ..
(พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑, ๒)

 นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
       (๓ จบ)

... สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ สงฺโฆ อุโปสถํ กเรยฺย ปาติโมกฺขํ อุทฺทิเสยฺย. กึ สงฺฆสฺส ปุพฺพกิจฺจํ. ปาริสุทฺธึ อายสฺมนฺโต อาโรเจถ. ปาติโมกฺขํ อุทฺทิสิสฺสามิ. ตํ สพฺเพว สนฺตา สาธุกํ สุโณม มนสิกโรม. ยสฺส สิยา อาปตฺติ, โส อาวิกเรยฺย, อสนฺติยา อาปตฺติยา ตุณฺหีภวิตพฺพํ. ตุณฺหีภาเวน โข ปนายสฺมนฺเต ปริสุทฺธาติ เวทิสฺสามิ. ยถา โข ปน ปจฺเจกปุฏฺฐสฺส เวยฺยากรณํ โหติ, เอวเมวํ เอวรูปาย ปริสาย ยาวตติยํ อนุสฺสาวิตํ โหติ. โย ปน ภิกฺขุ ยาวตติยํ อนุสฺสาวิยมาเน สรมาโน สนฺตึ อาปตฺตึ นาวิกเรยฺย สมฺปชานมุสาวาทสฺส โหติ. สมฺปชานมุสาวาโท โข ปนายสฺมนฺโต อนฺตรายิโก ธมฺโม วุตฺโต ภควตา, ตสฺมา สรมาเนน ภิกฺขุนา อาปนฺเนน วิสุทฺธาเปกฺเขน สนฺตี อาปตฺติ อาวิกาตพฺพา. อาวิกตา หิสฺส ผาสุ โหติ.
... นิททานํ นิฏฺฐิตํ. (วินย.มหา. ๔/๑๔๙) 

...แปล...

.   นิททานุทเทส
.. ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น (ว่า๓ จบ) 

..ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าอุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงทำอุโบสถพึง แสดงซึ่งปาฏิโมกข์ บุรพกิจอะไรๆของสงฆ์ก็ทำสำเร็จแล้ว ท่านทั้งหลายพึงบอกความบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าจักแสดงซึ่งปาฏิโมกข์พวกเราบรรดาที่มีอยู่ทั้งหมด จงฟัง จงใส่ใจซึ่งปาฏิโมกข์นั้น ให้สำเร็จประโยชน์.ผู้ใดหากมีอาบัติ ผู้นั้นก็พึง เปิดเผยเสียเมื่ออาบัติไม่มี ก็พึงนิ่งอยู่ ก็เพราะความเป็นผู้นิ่งแล ข้าพเจ้าจักทราบท่านทั้งหลายว่า เป็นผู้บริสุทธ์ ก็การสวดประกาศให้ได้ยินมี กำหนด ๓ ในบริษัทเห็นปานนี้อย่างนี้ เป็นเหมือนถูกถามตอบเฉพาะองค์ ก็ภิกษุใดเมื่อสวดประกาศจบครั้งที่ ๓ ระลึก(อาบัติ) ได้อยู่ ไม่ เปิดเผยอาบัติซึ่งมีอยู่ สัมปชานมุสาวาททุกกฎ ย่อมมีแก่เธอนั้น ท่าน ทั้งหลาย ก็สัมปชานมุสาวาทแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุต้องอาบัติแล้วระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ พึงเปิดเผยอาบัติซึ่งมีอยู่ เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความสบายย่อมมีแก่เธอ

 ข้อความเบื้องต้น จบ.

บุพพกรณ์ บุพพกิจ

.สวดญัตติฯ บุพพกรณ์ บุพพกิจ

ดาวโหลดเพลง
.. ปุพพกิจ ..
  อุโปสถกรณโต
 -๑ ปุพฺเพ นววิธํ ปุพฺพกิจฺจํ กาตพฺพํ โหติ, ตนฺฐานสมฺมชฺชนญฺจ ตตฺถ ปทีปปุชฺชลนญฺจ อาสนปญญปนญฺจ ปานียปริโภชนียุปฏฺฐปนญฺจ ฉนฺทารหานํ ภิกฺขูนํ ฉนฺทาหรณญฺจ เตสญฺเญว อกตุโปสถานํ
 -๒ ปาริสุทฺธิยาปิ อาหรณญฺจ อุตุขานญฺจ ภิกฺขุคณนา จ ภิกฺขุนีนโมวาโท จาติ. ตตฺถ ปุริเมสุ จตฺตูสุ กิจฺเจสุ ปทีปกิจฺจํ อิทานิ สุริยาโลกสฺส อตฺถิตาย นตฺถิ, อปรานิ ตีณิ
 -๓ ภิกฺขูนํ วตฺตํ ชานนฺเตหิ ภิกฺขูหิ (อารามิเกหิปิ ภิกฺขูหิปิ) กตานิ ปรินิฏฺฐิตานิ โหนฺติ, ฉนฺทาหรณปาริสุทฺธิ อาหรณานิ ปน อิมิสฺสํ สีมายํ หตฺถปาสํ วิชหิตฺวา นิสินฺนานํ ภิกฺขูนํ อภาวโต นตฺถิ, อุตุกฺขานํ นาม เอตฺตกํ อติกฺกนฺตํ เอตฺตกํ อวสิฏฺฐนฺติ เอวํ อุตุอาจิกฺขนํ, อุตูนีธ ปน สาสเน เหมนฺตคิมฺหวสฺสานานํ วเสน ตีณิ โหนฺติ, อยํ คิมฺโหตุ
 -๔, อิมสฺมิญฺจ อุตุมฺหิ อฏฺฐ อุโปสถา, อิมินา ปกฺเขน เอโก อุโปสโถ สมฺปตฺโต, เทฺว อุโปสถา อติกฺกนฺตา, ปญฺจ อุโปสถา อวสิฏฺฐา
 -๕, อิติ เอวํ สพฺเพหิ อายสฺมนฺเตหิ อุตุกฺขานํ ธาเรตพฺพํ. (รับว่า "เอวํ ภนฺเต" พร้อมกัน) ภิกฺขุคณนา นาม อิมสฺมึ อุโปสถคฺเค อุโปสถตฺถาย
 -๖ สนฺนิปติตา ภิกฺขู เอตฺตกาติ ภิกฺขูนํ คณนา, อิมสฺมึ ปน อุโปสถคฺเค
 -๗ ปญฺจ ภิกฺขู สนฺนิปติตา โหนฺติ
 -๘, อิติ เอวํ สพฺเพหิ อายสฺมนฺเตหิ ภิกฺขุคณนาปิ ธาเรตพฺพา.
...(รับว่า "เอวํ ภนฺเต" พร้อมกัน)
 ภิกฺขุนีนโมวาโท นาม ปน อิทานิ ตาสํ นตฺถิ ตาย นตฺถิ. อิติ สกรโณกาสานํ ปุพฺพกิจฺจานํ กตตฺตา, นิกฺกรโณกาสานํ ปุพฺพกิจฺจานํ ปกติยา ปรินิฏฺฐิตตฺตา, เอวนฺตํ นววิธํ ปุพฺพกิจฺจํ ปรินิฏฺฐิตํ โหติ, ปรินิฏฺฐิเต จ ปุพฺพกิจฺเจ, สเจ โส ทิวโส จาตุทฺทสีปณฺณรสีสามคฺคีนมญฺญตโร ยถาชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส
 -๙, ยาวติกา จ ภิกฺขู กมฺมปฺปตฺตา สงฺฆุโปสถารหา จตฺตาโร วา
 -๑๐ ตโต วา อติเรกา, ปกตตฺตา ปาราชิกํ อนาปนฺนา, สงฺเฆน วา อนุกฺขิตฺตา เต จ โข หตฺถปาสํ อวิชหิตฺวา เอกสีมายํ ฐิตา, เตสญฺจ วิกาลโภชนาทิวเสน วตฺถุสภาคาปตฺติโย จ น วชฺชนฺติ, เตสญฺจ หตฺถปาเส หตฺถปาสโต พหิกรณวเสน วชฺเชตพฺโพ, โกจิ วชฺชนียปุคฺคโล เจ นตฺถิ, เอวนฺตํ อุโปสถกมฺมํ
 -๑๑ อิเมหิ จตูหิ ลกฺขเณหิ สงฺคหิตํ ปตฺตกลฺลํ นาม โหติ กาตุํ ยุตฺตรูปํ. อุโปสถกมฺมสฺส
 -๑๒ ปตฺตกลฺลตฺตํ วิทิตฺวา อิทานิ กริยมาโน อุโปสโถ สงฺเฆน อนุมาเนตพฺโพ
 -๑๓. (รับว่า "เอวํ ภนฺเต" พร้อมกัน)

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ฟังเสียงสวดพระปาฏิโมกข์ วัดอโศการาม

๑.สวดญัตติฯ บุพพกรณ์ บุพพกิจ

ดาวโหลดเพลง

๒.นิทาน

ดาวโหลดเพลง

๓.ปาราชิก

ดาวโหลดเพลง

๔.สังฆาทิเสส

ดาวโหลดเพลง

๕.อนิยตะ

ดาวโหลดเพลง

๖.นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์

ดาวโหลดเพลง

๗.ปาจิตตีย์

ดาวโหลดเพลง

๘.ปาฏิเทสนียา

ดาวโหลดเพลง

๙.เสขิยา

ดาวโหลดเพลง

๑๐.อธิกรณะ

ดาวโหลดเพลง