หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กุสนาฬิชาดก

อรรถกถา กุสนาฬิชาดก
ว่าด้วย ประโยชน์ของการผูกมิตร
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมิตรผู้ชี้ขาดการงานของท่านอนาถบิณฑิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กเร สริกฺโข ดังนี้.
ความโดยย่อมีว่า พวกมิตรผู้คุ้นเคย ญาติพวกพ้องของท่านอนาถบิณฑิกะ ร่วมกันห้ามปรามบ่อยๆ ว่า ท่านมหาเศรษฐี คนผู้นี้ไม่ทัดเทียมกับท่าน โดยชาติ โคตร ทรัพย์ และธัญญชาติเป็นต้น ทั้งไม่เหมือนท่านไปได้เลย เหตุไร ท่านจึงทำความสนิทสนมกับคนผู้นี้ อย่ากระทำเลย. ฝ่ายท่านอนาถบิณฑิกะกลับพูดว่า ธรรมดา ความสนิทสนมกันฉันท์มิตร กับคนที่ต่ำกว่าก็ดี คนที่เสมอกันก็ดี คนที่สูงกว่าก็ดี ควรกระทำทั้งนั้น แล้วไม่เชื่อถือถ้อยคำของคนพวกนั้น เมื่อจะไปบ้านส่วย ก็ตั้งบุรุษผู้นั้นให้เป็นผู้ดูแลสมบัติ แล้วจึงไป.
เรื่องราวทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องกาฬกรรณี นั่นแล.
แปลกแต่ว่า ในเรื่องนี้ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกะกราบทูล เรื่องราวในเรือนของตนแล้ว.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมดา มิตรที่จะเป็นคนเล็กน้อยไม่มี ก็ความเป็นผู้สามารถรักษามิตรธรรมไว้ได้ เป็นประมาณในเรื่องมิตรนี้. ธรรมดา มิตรเสมอด้วยตนก็ดี ต่ำกว่าตนก็ดี ยิ่งกว่าตนก็ดี ควรคบไว้ เหตุว่า มิตรเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมช่วยแบ่งเบาภาระที่มาถึงตนได้ทั้งนั้น. บัดนี้ ท่านอาศัยมิตรผู้ชี้ขาดการงานของตน จึงเป็นเจ้าของขุมทรัพย์ได้สืบไป.
ส่วนโบราณกบัณฑิต อาศัยมิตรผู้ชี้ขาด จึงเป็นเจ้าของวิมานได้ ดังนี้ อันท่านอนาถบิณฑิกะกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเทวดาที่กอหญ้าคา ในอุทยานของพระราชา ก็ในอุทยานนั้นแล มีต้นรุจมงคล อาศัยมงคลศิลา มีลำต้นตั้งตรง ถึงพร้อมด้วยปริมณฑล กิ่งก้านและค่าคบ ได้รับการยกย่องจากราชสำนัก เรียกกันว่า ต้นสมุขกะต้นไม้พูดได้? เพราะมีเทวดาสิงอยู่ บ้าง.
เทวราชผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง บังเกิดที่ต้นไม้นั้น พระโพธิสัตว์ได้มีความสนิทสนมกับเทวราชนั้น. ครั้งนั้น พระราชาเสด็จประทับอยู่ในปราสาทเสาเดียว เสาของปราสาทนั้นหวั่นไหว. ครั้งนั้น พวกราชบุรุษพากันกราบทูลความหวั่นไหวของเสานั้นแด่พระราชา.
พระราชารับสั่งให้หาพวกนายช่างมาเฝ้า ตรัสว่า พ่อคุณ เสาแห่งมงคลปราสาทเสาเดียวหวั่นไหวเสียแล้ว พวกเจ้าจงเอาเสาไม้แก่นมาต้นหนึ่ง ทำเสานั้นไม่ให้หวั่นไหวเถิด.
พวกช่างเหล่านั้น กราบทูลรับพระดำรัสของพระราชาว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า. แล้วพากันแสวงหาต้นไม้ที่เหมาะแก่เสานั้น ไม่พบในที่อื่น จึงเข้าไปสู่อุทยาน เห็นต้นสมุขกะนั้นแล้ว พากันไปสำนักพระราชา.
เมื่อมีพระดำรัสถามว่า อย่างไรเล่า พ่อทั้งหลาย ต้นไม้ที่เหมาะสมแก่เรานั้น พวกเจ้าเห็นแล้วหรือ? จึงกราบทูลว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า ก็แต่ว่า ไม่อาจตัดต้นไม้นั้นได้.
รับสั่งถามว่า เพราะเหตุไรเล่า?
พากันกราบทูลว่า พวกข้าพระองค์ ไม่เห็นต้นไม้ในที่อื่น พากันเข้าสู่พระอุทยาน ในพระอุทยานนั้นเล่า เว้นต้นมงคลพฤกษ์แล้ว ก็ไม่เห็นต้นไม้อื่นๆ ดังนั้น โดยที่เป็นมงคลพฤกษ์ พวกข้าพระองค์จึงไม่กล้าตัดต้นไม้นั้น พระเจ้าข้า.
รับสั่งว่า จงพากันไปตัดเถิด ทำปราสาทให้มั่นคงเถิด เราจักตั้งต้นอื่น เป็นมงคลพฤกษ์แทน.
พวกช่างไม้เหล่านั้นรับพระดำรัส แล้วพากันถือเครื่องพลีกรรมไปสู่อุทยาน ตกลงกันว่า จักตัดในวันพรุ่งนี้ แล้วกระทำพลีกรรมแก่ต้นไม้ เสร็จพากันออกไป.
รุกขเทวดารู้เหตุนั้นแล้ว คิดว่า พรุ่งนี้ วิมานของเราจักฉิบหาย เราจักพาพวกเด็กๆ ไปที่ไหนกันเล่า เมื่อไม่เห็นที่ควรไปได้ ก็กอดคอลูกน้อยๆ ร่ำไห้.
หมู่รุกขเทวดาที่รู้จักมักคุ้นของเทวดานั้น ก็พากันไต่ถามว่า เรื่องอะไรเล่า? ครั้นฟังเรื่องนั้น แม้พวกตนก็มองไม่เห็นอุบายที่จะห้ามช่างไม่ได้ พากันทอดทิ้งเทวดานั้น เริ่มร้องไห้ไปตามกัน
ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราจักไปเยี่ยมรุกขเทวดา จึงไปที่นั้น ฟังเหตุนั้นแล้ว ก็ปลอบเทวดาเหล่านั้นว่า ช่างเถิด อย่ามัวเสียใจเลย. เราจักไม่ให้ตัดต้นไม้นั้น พรุ่งนี้ เวลาพวกช่างมา พวกท่านคอยดูเหตุการณ์ของเราเถิด.
ครั้นรุ่งขึ้น เวลาที่พวกช่างไม้พากันมา ก็แปลงตัวเป็นกิ้งก่า วิ่งนำหน้าพวกช่างไม้ไป เข้าไปสู่โคนของมงคลพฤกษ์ กระทำประหนึ่งว่า ต้นไม้นั้นเป็นโพรง ไต่ขึ้นตามไส้ของต้นไม้ โผล่ออกทางยอด นอนผงกหัวอยู่.
นายช่างใหญ่เห็นกิ้งก่านั้นแล้ว ก็เอามือตบต้นไม้นั้น แล้วตำหนิต้นไม้ใหญ่มีแก่นทึบตลอดว่า ต้นไม้นี้มีโพรงไร้แก่น เมื่อวาน ไม่ทันได้ตรวจถ้วนถี่ หลงทำพลีกรรมกันเสียแล้ว พากันหลีกไป.
รุกขเทวดาอาศัยพระโพธิสัตว์ คงเป็นเจ้าของวิมานอยู่ได้ เพื่อเป็นการต้อนรับ รุกขเทวดานั้น เทวดาที่รู้จักมักคุ้นจำนวนมากประชุมกัน. รุกขเทวดาดีใจว่า เราได้วิมานแล้ว.
เมื่อจะกล่าวคุณของพระโพธิสัตว์ ในท่ามกลางที่ประชุมเทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนเทพยเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย ชาวเราถึงจะเป็นเทวดามเหศักดิ์ ก็มิได้รู้อุบายนี้ เพราะปัญญาทึบ.
ส่วนเทวดากุสนาฬิได้กระทำให้เราเป็นเจ้าของวิมานได้ เพราะญาณสมบัติของตน.
ธรรมดามิตร ไม่เลือกว่าเท่าเทียมกัน ยิ่งกว่า หรือต่ำกว่า ควรคบไว้ทั้งนั้น มิตรแม้ทุกๆ คน อาจบำบัดทุกข์ที่บังเกิดแก่เพื่อนฝูง ให้คงคืนตั้งอยู่ในความสุขได้ ตามกำลังของตนทีเดียว
ครั้นพรรณนามิตรธรรมแล้ว กล่าวคาถานี้ ความว่า :-
บุคคลผู้เสมอกัน ประเสริฐกว่ากัน หรือเลวกว่ากัน ก็ควรคบกันไว้ เพราะมิตรเหล่านั้น เมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น ก็พึงทำประโยชน์อันอุดมให้ได้.
ดูเราผู้เป็นรุกขเทวดา และเทวดาผู้เกิดที่กอหญ้าคาคบกัน ฉะนั้น
 ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า กเร สริกฺขโก ความว่า แม้คนเสมอกัน ด้วยฐานะมีชาติเป็นต้น ก็ควรคบกันไว้. บทว่า อถวาปิ เสฏฺโฐ ความว่า แม้เป็นผู้สูงกว่า คือยิ่งกว่าด้วยชาติเป็นต้น ก็ควรคบไว้.
บทว่า นิหีนโก จาปิ กเรยฺย เอโก ความว่า ถึงจะเป็นคนต่ำต้อย ด้วยชาติเป็นต้น คนหนึ่ง ก็พึงกระทำมิตรธรรมไว้ ท่านแสดงความหมายว่า เหตุนั้น คนเหล่านี้แม้ทั้งหมด ควรทำให้เป็นมิตรไว้ทั้งนั้น.
ถามว่า เพราะอะไร?
ตอบว่า เพราะมิตรเหล่านั้น เมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น ก็พึงทำประโยชน์อันอุดมให้ได้. ขยายความว่า ก็เพราะคนเหล่านี้ทั้งหมด เมื่อความพิบัติเกิดขึ้นแก่สหายแล้ว ก็ช่วยแบ่งเบาภาระที่มาถึงตน กระทำประโยชน์อย่างสูงให้ได้ คือช่วยปลดเปลื้องสหายนั้นจากทุกข์กาย ทุกข์ใจได้ เพราะเหตุนั้น มิตรแม้จะต่ำต้อยกว่า ก็ควรคบไว้ทีเดียว จะป่วยกล่าวไปใย ถึงมิตรนอกนี้.
ในข้อนั้น มีเรื่องนี้เป็นข้ออุปมาเหมือนข้าพเจ้าเป็นเทวดาเกิดที่ไม้รุจา และเทวดาเกิดที่กอหญ้าคา มีศักดาน้อย ต่างกระทำความสนิทสนมฉันมิตรกันไว้ ถึงในเราสองคนนั้น ข้าพเจ้าแม้จะมีศักดามาก ก็ไม่อาจบำบัดทุกข์ที่เกิดแก่ตนได้ เพราะเป็นคนเขลา ไม่ฉลาดในอุบาย แต่ได้อาศัยเทวดาผู้นี้ แม้จะมีศักดาน้อย ก็เป็นบัณฑิต จึงพ้นจากทุกข์ได้ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น แม้คนอื่นๆ ประสงค์จะพ้นทุกข์ ก็ไม่จำต้องคำนึงถึงความเสมอกัน และความวิเศษกว่ากัน พึงคบมิตรทั้งต่ำ ทั้งประณีต.
รุจาเทวดาแสดงธรรมแก่หมู่เทวดาด้วยคาถานี้ ดำรงอยู่ชั่วอายุขัยแล้ว ไปตามยถากรรมพร้อมกับกุสนาฬิเทวดา.
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก ว่า
รุจาเทวดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น อานนท์
ส่วนกุสนาฬิเทวดาได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
.. อรรถกถา กุสนาฬิชาดก จบ.อ่านชาดก 270000อ่านชาดก 270120อรรถกถาชาดก 270121
เล่มที่ 27 ข้อ 121อ่านชาดก 270122อ่านชาดก 272519

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

น้ำชาล้นถ้วย


นิทานเซ็นนถ้วย 
รายละเอียดเรื่องที่หนึ่ง ซึ่งไม่อยากจะเว้นเสีย ทั้งที่ เคยเอ่ยถึงแล้ว วันก่อน คือ
 เรื่อง น้ำชาล้นถ้วย คือว่า อาจารย์ แห่งนิกายเซ็น ชื่อ น่ำอิน เป็น ผู้มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ และ โปรเฟสเซอร์ คนหนึ่ง เป็น โปรเฟสเซอร์ ที่มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ ไปหา อาจารย์น่ำอิน เพื่อขอศึกษา พระพุทธศาสนา อย่างเซ็น ในการต้อนรับ ท่านอาจารย์ น่ำอิน ได้รินน้ำชา ลงในถ้วย รินจนล้นแล้วล้นอีก โปรเฟสเซอร์ มองดูด้วยความฉงน ทนดูไม่ได้ ก็พูดโพล่งออกไปว่า "ท่านจะใส่มัน ลงไปได้อย่างไร" ประโยคนี้ มันก็แสดงว่า โมโห ท่านอาจารย์ น่ำอิน จึงตอบว่า" ถึงท่านก็เหมือนกัน อาตมาจะใส่อะไร ลงไปได้อย่างไร เพราะท่านเต็มอยู่ด้วย opinions และ speculations ของท่านเอง" คือว่า เต็มไปด้วยความคิด ความเห็น ตามความ ยึดมั่นถือมั่น ของท่านเอง และมีวิธีคิดนึก คำนวณ ตามแบบ ของท่านเอง สองอย่างนี้แหละ มันทำให้เข้าใจ พุทธศาสนาอย่างเซ็น ไม่ได้ เรียกว่า ถ้วยชามันล้น

 ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลาย จะเตือนสติเด็กของเราให้รู้สึกนึกคิด เรื่องอะไรล้น อะไรไม่ล้น ได้อย่างไร ขอให้ช่วยกันหาหนทาง ในครั้งโบราณ ในอรรถกถา ได้เคย กระแหนะกระแหน ถึง พวกพราหมณ์ ที่เป็น ทิศาปาโมกข์ ต้องเอาเหล็กมาตี เป็นเข็มขัด คาดท้องไว้ เนื่องด้วย กลัวท้องจะแตก เพราะวิชาล้น นี้จะเป็นเรื่อง ที่มีความหมายอย่างไร ก็ลองคิดดู พวกเรา อาจล้น หรือ อัดอยู่ด้วยวิชาทำนองนั้น จนอะไรใส่ ลงไปอีกไม่ได้ หรือ ความล้นนั้น มันออกมา อาละวาด เอาบุคคลอื่น อยู่บ่อยๆ บ้างกระมัง แต่เราคิดดูก็จะเห็นได้ว่า ส่วนที่ล้น นั้น คงจะเป็นส่วน ที่ใช้ไม่ได้ จะจริงหรือไม่ ก็ลองคิด ส่วนใดที่เป็นส่วนที่ล้น ก็คงเป็น ส่วนที่ใช้ไม่ได้ ส่วนที่ร่างกาย รับเอาไว้ได้ ก็คงเป็น ส่วนที่มีประโยชน์ ฉะนั้น จริยธรรมแท้ๆ ไม่มีวันจะล้น โปรดนึกดูว่า จริยธรรม หรือ ธรรมะแท้ๆ นั้น มีอาการล้นได้ไหม ถ้าล้นไม่ได้ ก็หมายความว่า สิ่งที่ล้นนั้น มันก็ไม่ใช่จริยธรรม ไม่ใช่ธรรมะ ล้นออกไป เสียให้หมด ก็ดีเหมือนกัน หรือ ถ้าจะพูดอย่างลึก เป็นธรรมะลึก ก็ว่า จิตแท้ๆ ไม่มีวันล้น อ้ายที่ล้นนั้น มันเป็นของปรุงแต่งจิต ไม่ใช่ตัวจิตแท้ มันล้นได้มากมาย แต่ถึงกระนั้น เราก็ยังไม่รู้ว่า จิตแท้คืออะไร อะไรควรเป็น จิตแท้ และอะไรเป็นสิ่ง ที่ไม่ใช่จิตแท้ คือ เป็นเพียง ความคิดปรุงแต่ง ซึ่งจะล้นไหลไปเรื่อย นี่แหละ รีบค้นหาให้พบ สิ่งที่เรียกว่า จิตจริงๆ กันเสียสักที ก็ดูเหมือนจะดี ในที่สุด ท่านจะพบตัวธรรมะอย่างสูง ที่ควรแก่นามที่จะเรียกว่า จิตแท้ หรือ จิตเดิมแท้ ซึ่งข้อนั้น ได้แก่ ภาวะแห่งความว่าง จิตที่ประกอบด้วย สภาวะแห่งความว่างจาก "ตัวกู-ของกู" นั้นแหละ คือ จิตแท้ ถ้าว่างแล้ว มันจะเอาอะไรล้น นี่เพราะเนื่องจากไม่รู้จักว่า อะไรเป็นอะไร จึงบ่นกันแต่เรื่องล้น การศึกษาก็ถูกบ่นว่า ล้น และที่ร้ายกาจที่สุด ก็คือ ที่พูดว่า ศาสนานี้ เป็นส่วนที่ล้น จริยธรรมเป็นส่วนล้น คือส่วนที่เกิน คือ เกินต้องการ ไม่ต้องเอามาใส่ใจ ไม่ต้องเอามาสนใจ เขาคิดว่า เขาไม่ต้อง เกี่ยวกับศาสนา หรือธรรมะเลย เขาก็เกิดมาได้ พ่อแม่ก็มีเงินให้ เขาใช้ให้เขาเล่าเรียน เรียนเสร็จแล้ว ก็ทำราชการ เป็นใหญ่เป็นโต ได้โดยไม่ต้อง มีความเกี่ยวข้อง กับศาสนาเลย ฉะนั้น เขาเขี่ยศาสนา หรือ ธรรมะ ออกไปในฐานะ เป็นส่วนล้น คือ ไม่จำเป็น นี่แหละ เขาจัดส่วนล้น ให้แก่ศาสนาอย่างนี้ คนชนิดนี้ จะต้องอยู่ ในลักษณะที่ ล้นเหมือน โปรเฟสเซอร์คนนั้น ที่อาจารย์น่ำอิน จะต้อง รินน้ำชาใส่หน้า หรือ ว่ารินน้ำชาให้ดู โดยทำนองนี้ทั้งนั้น เขามีความเข้าใจผิดล้น ความเข้าใจถูกนั้นยังไม่เต็ม มันล้นออกมา ให้เห็น เป็นรูปของ มิจฉาทิฎฐิ เพราะเขาเห็นว่า เขามีอะไรๆ ของเขาเต็มเปี่ยมแล้ว ส่วนที่เป็นธรรมะ เป็นจริยธรรมนี่ เข้าไม่จุ อีกต่อไป ขอจงคิดดูให้ดีเถอะว่า นี้แหละ คือ มูลเหตุที่ทำให้จริยธรรม รวนเร และ พังทลาย ถ้าเรามีหน้าที่ ที่จะต้องผดุงส่วนนี้แล้ว จะต้องสนใจเรื่องนี้

การย้อมจีวรด้วยมะเกลือ

การย้อมผ้าด้วยมะเกลือ

มะเกลือ
มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ebenaceae พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ผลดิบของมะเกลือมีสรรพคุณเป็นยา จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง สมัยก่อนนิยมใช้ยางผลมะเกลือไปย้อมผ้ามะเกลือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดสุพรรณบุรี  ในภาคเหนือเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า มะเกีย มะเกือ หรือ ผีผา   ทางใต้เรียกว่า เกลือ  แถบเขมร-ตราดเรียก มักเกลือ                                                                                                                                                     ลักษณะทั่วไป                                                                                                                                         มะเกลือไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร ใบกว้าง 3.5-4.0 ซม. ยาว 9-10 ซม. เปลือกต้นมีสีดำแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ใบเป็นใบเดียวรูปรี ปลายใบแหลม ผลกลมผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ ผลแก่ราวเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เมล็ด แบน สีเหลือง 4-5 เมล็ด ขนาดกว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-2 ซม. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
การปลูก                                                                                                                                                      มะเกลือเป็นไม้ที่ปลูกโดยการใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีกับดินแทบทุกชนิดเหมาะที่จะปลูกในฤดูฝน ต้นมะเกลือนี้หากถ้าโดยแดดจัดจะทำให้ผลดกมากแต่ใบไม่ค่อยงาม วิธีการปลูกให้เพาะกล้าเสียก่อนเช่นเดียวกันกับต้นไม้อื่นๆ แล้วนำเอาไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้
 สรรพคุณของผลมะเกลือและดอกมะเกลือ
ผลมะเกลือ                                                                                                           ดอกมะเกลือ
สรรพคุณจากส่วนต่าง ๆ มีดังนี้                                                                                                                                    ผล มะเกลือดิบมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิที่คนไทยรู้จักและใช้กันมานาน ผลมะเกลือมีรสเมาเบื่อ ขับพยาธิในลำไส้ ถ่ายตานซาง ถ่ายกระษัยโดยมากใช้กับเด็ก วิธีการคือ เอาลูกสดใหม่ไม่ช้ำ ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำกะทิมะพร้าวดื่มทันที ห้ามเก็บไว้ จะเกิดพิษ ขับพยาธิไส้ เดือน พยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด พยาธิเส้นด้าย จำนวนลูกเอาเท่าอายุ แต่ไม่เกิน 25 ลูก เอาดีเกลือ ฝรั่ง 10 กรัม ละลายน้ำสุก 1 แก้ว ดื่มตามหลัง 30 นาที[5]อย่าปล่อยให้เป็นสีดำ เพราะอาจเป็นพิษ ปัจจุบัน มีการสกัดสารที่มีฤทธิ์ขับพยาธิจากผลมะเกลือแล้วผลิตเป็นยาเม็ดสำเร็จรูปใช้รับประทาน
  • เมล็ด รสเมามัน ขับพยาธิในท้อง
  • เปลือกต้น รสฝาดเมา เป็นยากันบูด แก้กระษัย ขับพยาธิ แก้พิษ ตานซาง
  • ทั้งต้น รสฝาดเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้กระษัย
  • แก่น รสฝาดเค็มขมเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง
  • ราก รสเมาเบื่อ ฝนกับน้ำข้าวกิน แก้อาเจียน แกเป็นลม หน้ามืด แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษตานซาง ขับพยาธิ                                                                                                                         ข้อควรระวัง                                                                                                                                                          ผู้ที่ห้ามใช้มะเกลือได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี หญิงมีครรภ์ หรือหลังคลอดไม่เกิน 6 สัปดาห์ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือมีอาการปวดท้อง ถ่ายอุจจาระผิดปกติบ่อยๆ และผู้ที่กำลังเป็นไข้ ในการเตรียมยาต้องใช้ผลดิบสด เตรียมแล้วกินทันที ไม่ควรเตรียมยาครั้งละมากๆ ใช้เครื่องบดไฟฟ้า จะทำให้ละเอียดมาก มีตัวยาออกมามากเกินไป ข้อควรระวัง เคยมีรายงานว่าถ้ากินยามะเกลือขนาดสูงกว่าที่ระบุไว้ หรือเตรียมไว้นาน สารสำคัญจะเปลี่ยนเป็นสารพิษชื่อ diospyrol ทำให้จอรับภาพ และประสาทตาอักเสบ อาจตาบอดได
ประวัติความเป็นมาของการย้อมผ้าด้วยมะเกลือ                                                                                      การย้อมผ้าด้วยมะเกลือ คงมีมาไม่ต่ำกว่า 70 ปีมาแล้ว      โดยเป็นกิจการซึ่งมีเจ้าของเป็นชาวจีน และจ้างแรงงานในแถบนั้น ซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวจีน กิจการย้อมผ้าด้วยมะเกลือ ชาวบ้านเรียกกันว่า ลานมะเกลือ

วัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมผ้าด้วยมะเกลือ                                                                              1.  มะเกลือ ขนส่งทางเรือจากยะลา และอาจมีที่อื่นด้วย ใช้มะเกลือแก่ ( สีเขียวเข้ม ) ลูกมะเกลือมีขนาดเท่าลูกมะขามป้อม                                                                                                                                       2.  ผ้า เป็นผ้าแพรปังลิ้นขาวมีลายดอก อาจนำเข้าจากจีน ย้อมทั้งพับ ความกว้างประมาณ 1 หลา ความยาวประมาณ 20 – 30 วา

 ขั้นตอนการย้อม                                                                                                                                1.  ตำมะเกลือด้วยครกกระเดื่อง ( ครกไม้ขุด ) แบบใช้คนเหยียบ                              2. ย้อม โดยหมักน้ำที่ได้จากกการตำมะเกลือในถังหมักซึ่งเป็นถังขนาดใหญ่ รวมกับเปลือกไม้ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ย้อมอวนผสมเกลือและน้ำ ใช้เวลา 1 วัน จะได้สีดำ ใช้บุ้งกี๋หวายตักกากใหญ่ๆ ขึ้น แช่ผ้าทั้งพับลงในถังหมัก 1 คืน                                                                                                                 3.  ซัก ด้วยวิธีใช้ไม้ทุบ โดยกองผ้าไว้บนขั้นบันไดไม้ที่ทำลงในแม่น้ำ เพื่อเอาสิ่งสกปรกออก ( กาก ) และสีส่วนที่เกินออก จากนั้นยกขึ้นตาก โดยไม่ต้องบิด                                                                                                                     4.  วิธีตาก ใช้ 2 คนลากปลาย 2 ข้างคลี่ออก มีคนที่ 3 อยู่ตรงกลาง ช่วยคลี่ตรงกลาง ตากกับพื้นที่ที่มีกากมะเกลือโรยไว้กันเปื้อน ต้องกลับผ้าทุกชั่วโมง

  หมายเหตุ ต้องย้อม 4 – 5 ครั้ง ( ทำซ้ำทุกขบวนการตั้งแต่ ย้อม ซัก ตาก )                                             การใช้พื้นที่                                                                                                                                                                1.  ลานตาก ( พื้นที่เป็นลานดิน มีหญ้าต้นเล็กๆ ขึ้น )                                                                                    2.  บริเวณโรงเก็บผ้าและที่ย้อมผ้า มีลักษณะเป็นโรงเรือนหลังคาจาก กั้นเป็นห้องเฉพาะส่วนที่เป็นโรงเก็บผ้า (โรงเก็บผ้า เป็นที่เก็บผ้าทั้งที่ย้อมแล้ว และยังไม่ได้ย้อม อยู่ในบริเวณที่เป็นส่วนหนึ่งของ ลานใน                                                                                                                                                                         3.  เพิงที่ขอบลานระหว่าง ลานนอก และลานใน ลักษณะเป็นโรงเรือนหลังคาจาก ไม่มีฝาสำหรับพักผ้าเวลาฝนตก ท่าน้ำสำหรับซักผ้าผู้ทำหน้าที่ซักผ้า จะใช้ผู้ชายเท่านั้น ทั้งหางกระเดื่องและคนซักผ้าจะเป็นทีมเดียวกัน    แต่แบ่งคนสับเปลี่ยนกัน
 การแต่งตัวเวลาทำงาน                                                                                                                                    ผู้หญิงนิยมใส่เสื้อแขนยาวและเย็บผ้าต่อปลายแขนอีกให้ยาวคลุมฝ่ามือ เพื่อกันแดด และกันยางมะเกลือกัด นิยมนุ่งผ้าถุง มักไม่ใส่รองเท้าเพราะทำงานไม่ถนัด ผู้ชายนิยมนุ่งกางเกงขาก๊วยสีขาวทำด้วยผ้าดิบ ซึ่งกลายเป็นสีดำเมื่อโดนสีย้อมในเวลาต่อมา   มีทั้งใส่เสื้อและไม่ใส่
คำศัพท์เฉพาะ
หลงจู๊ ดูแลทุกอย่าง รวมทั้งการจ่ายค่าแรง
หางกระเดื่อง พวกตำมะเกลือ ( จุดที่ทำงานเรียกหัวกระเดื่อง )
ปากถัง พวกช้อนกาก เอาผ้าลงหมัก เอาผ้าขึ้น
เนื้อสุก คือ ผ้าที่ย้อมได้ที่แล้ว
เนื้อดิบ คือ ผ้าที่ยังย้อมไม่ได้ที่
3.1 อุปกรณ์
-ลูกมะเกลือ                     -ครกและสาก
-หม้อ                               – ผ้าไหม                                                                                                                                   วิธีการย้อมผ้า
คือ นำผลมะเกลือดิบมาตำให้ละเอียด กรองเอาแต่น้ำสีเหลืองมาใช้ย้อมผ้า ผ้านั้นจะมีสีเหลือง แต่เมื่อตากให้แห้งจะมีสีเขียวจะต้องย้อมและตากแห้งอย่างนี้ซ้ำ ๆ กัน 5 – 6 ครั้ง ผ้าจะเปลี่ยนสีจนกระทั่งกลายเป็นสีดำตามต้องการ อีกวิธีหนึ่ง คือ นำผลสุกสีดำมาบดละเอียด กรองแต่น้ำสีดำมาย้อมผ้า โดยย้อมแล้วตาก แล้วนำกลับมาย้อมซ้ำอีกประมาณ 3 ครั้ง ถ้าจะให้ผ้ามีสีดำสนิทและเป็นมันเงาด้วย ให้นำผ้าไปหมักในดินโคลน 1 – 2 คืน หรืออย่างน้อย 5 ชั่วโมงแล้วจากนั้นจึงนำมาซักให้สะอาด การย้อมผ้าด้วยมะเกลือ ค่อนข้างที่จะใช้เวลามาก
        การถนอมผ้าโดยวิธีการอบ                                                                                                                                     สูตรชาวกูยนำพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ ลูกตะครอง หัวขมิ้นชัน หัวหว่านเปราะหอม ใบเล็บครุฑ ใบอ้มใบขาไก่แดงใบสาปแร้งสาปกานำสมุนไพรทั้งหมดมาผสมกันสกัดความหอมด้วยน้ำเป็นน้ำปรุงหอม
อัตราสมุนไพรที่ใช้
-หัวขมิ้นชัน100กรัม
-ใบเล็บครุฑ100กรัม
-ลูกตะครอง300กรัม
-หัวหว่านเปราะหอม200กรัม
-ใบอ้ม300กรัม
-ใบขาไก่แดง200กรัม
-ใบสาปแร้งสาปกา300กรัม
ขั้นตอนการอบ
-นำพืชแต่ละชนิดมาสับเสร็จแล้วโคลกให้ละเอียด
-นำผ้าไหมที่ต้องการอบมาแช่ในน้ำปรุงหอม
-นำผ้าไหมที่แช่น้ำปรุงหอมมาใส่หวดด้วยกากสมุนไพรที่เหลือหรือใบตอง
-นำหวดไปนิ่งที่100องศาประมาณ30นาที
-นำผ้าไหมออกมาจากหวดไปผึ่งลมให้แห้งก็จะได้ผ้าไหมที่มีกลิ่นหอมติดอยู่ในใยผ้า
 มะเกลือ
 ขั้นตอนการทำ
ตำมะเกลือ
 
มะเกลือที่ตำละเอียด
  ผ้าจุ่มน้ำมะเกลือ
ตากผ้าที่แช่น้ำมะเกลือ
 นำผ้าไหมมาต้มน้ำมะเกลืออีกครั้ง
  ผ้าไหมที่ต้มน้ำมะเกลือแล้ว
 
 นำผ้ามาตากอีกครั้ง


แหล่งที่มา ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม